Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64581
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | เอกวัล ลือพร้อมชัย | - |
dc.contributor.author | ปฐมาวดี ตรีสอน | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2020-04-01T05:30:26Z | - |
dc.date.available | 2020-04-01T05:30:26Z | - |
dc.date.issued | 2561 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64581 | - |
dc.description | โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาจุลชีววิทยา. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2561 | en_US |
dc.description.abstract | พื้นที่เพาะปลูกอ้อยส่วนใหญ่ในประเทศไทยจะอยู่นอกเขตชลประทาน ทำให้เมื่อเกิดปัญหาภัยแล้งจะเกิดความเสียหายต่อไร่อ้อยและส่งผลกระทบต่อเกษตรกรที่ปลูกอ้อย งานวิจัยนี้จึงสนใจใช้แบคทีเรียส่งเสริมการเจริญของพืช ได้แก่ Bacillus thuringiensis B2, Bacillus stratophericus L19 และ Bacillus altitudinis T17 และแบคทีเรียที่ผลิตสารลดแรงตึงผิว ได้แก่ Weissella cibaria PN3 มาช่วยให้อ้อยสามารถทนอยู่ในสภาวะแล้งได้ดีขึ้น โดยเตรียมแบคทีเรียในรูปหัวเชื้อผสมแบบตรึงกับวัสดุ เพื่อช่วยให้แบคทีเรียสามารถอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้นานขึ้น โดยวัสดุตรึงที่ใช้ในงานวิจัยนี้ ได้แก่ ถ่านชีวภาพ, เถ้าลอย และกากเนื้อในปาล์ม จากการศึกษาเปรียบเทียบสมบัติทางกายภาพและลักษณะพื้นผิวของวัสดุตรึงด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด พบว่าถ่านชีวภาพมีค่าความชื้นสัมพัทธ์สูง และมีรูพรุนจำนวนมาก จึงง่ายต่อการที่แบคทีเรียจะเข้าไปอาศัยและเจริญอยู่ภายใน ส่วนลักษณะพื้นผิวของเถ้าลอยจะมีรูพรุนที่แบคทีเรียสามารถเข้าไปอาศัยอยู่ได้ และกากเนื้อในเมล็ดปาล์มมีธาตุไนโตรเจนสูง ซึ่งไนโตรเจนเป็นแร่ธาตุที่สำคัญต่อการเจริญของอ้อย จากการทดลองตรึงเซลล์แบคทีเรียในวัสดุตรึง พบว่าอัตราการมีชีวิตรอดของแบคทีเรียในวัสดุตรึงแต่ละชนิดค่อนข้างใกล้เคียงกัน โดยแบคทีเรียในวัสดุตรึงที่บ่มครบ 2 สัปดาห์ มีปริมาณแบคทีเรีย 109-1011 CFU ต่อกรัมวัสดุตรึง ในงานวิจัยนี้จึงเลือกใช้วัสดุตรึงทั้ง 3 ชนิดผสมกัน เพื่อนำข้อดีของวัสดุแต่ละชนิดมารวมกัน เมื่อเติมวัสดุตรึงที่มีเชื้อแบคทีเรียแบบผสมลงในดินที่ปลูกอ้อย พบว่าช่วงที่ให้น้ำเป็นเวลา 2 สัปดาห์ อ้อยมีการเจริญเพิ่มขึ้นในทุกชุดการทดลอง และเมื่อจำลองสภาวะแล้งโดยงดให้น้ำเป็นเวลา 2 สัปดาห์ พบว่าอ้อยที่ใส่แบคทีเรียตรึงทนสภาวะแล้งได้ดี โดยชุดการทดลองที่ใช้วัสดุตรึงที่มีเชื้อผสม 3 ชนิด มีความยาวรากมากที่สุด และชุดการทดลองที่ใช้วัสดุตรึงที่มีเชื้อผสม 4 ชนิด มีเปอร์เซ็นต์ความยาวต้นและใบที่เพิ่มขึ้นมากที่สุด ดังนั้นควรจะเพิ่มระยะเวลาของช่วงการจำลองสภาวะแล้งให้นานขึ้น เพื่อให้เห็นผลที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนมากกว่านี้ จากผลการทดลองทั้งหมดสามารถสรุปได้ว่าการเติมหัวเชื้อแบคทีเรียผสมแบบตรึงสามารถช่วยส่งเสริมการเจริญของอ้อยในสภาวะแล้งได้ดียิ่งขึ้น | en_US |
dc.description.abstractalternative | Most of sugarcane plantations in Thailand are located outside the irrigation area. Therefore, drought stress can affect sugarcane production and their farmers. In this study, we are interested in using plant growth promoting rhizobacteria (Bacillus thuringiensis B2, Bacillus stratophericus L19 and Bacillus altitudinis T17) and biosurfactant producing bacteria (Weissella cibaria PN3) to enhance drought tolerance of sugarcane. The mixed bacteria inoculum was immobilized in solid materials to prolong its survival in the environment. When compared the physical properties and surface characteristics of carriers under the scanning electron microscope, the results showed that biochar had high relative humidity and high porosity, which could allow the bacteria to grow inside the material. Fly ash also had high porosity, while palm kernel cake had high nitrogen content. Nitrogen is an important nutrient for sugarcane growth. The survival of immobilized bacteria in each carrier was similar. After 2-week incubation, the number of immobilized bacteria were 109-1011 CFU/g carrier. Consequently, we mixed 3 types of carriers to combine the advantages of each type. The immobilized carriers were added to the sugarcane planted soil. Sugarcane stems and leaves were increased in every treatment after 2-week under non-stress condition. When drought stress condition was applied for another 2 weeks, all the plants with bacterial inoculum were able to tolerate drought stress. The treatment with 3-mixed bacteria had the longest roots, while the treatment with 4-mixed bacteria had the longest stems and leaves. To confirm the efficiency of 3- and 4-mixed bacteria, further study should have longer drought stress condition. However, these results showed that the immobilized mixed bacterial inoculum could enhance growth of sugarcane under drought condition. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.title | การผลิตและประยุกต์ใช้หัวเชื้อแบคทีเรียผสมแบบตรึงสำหรับส่งเสริมการเจริญของอ้อยในสภาวะแล้ง | en_US |
dc.title.alternative | Production and application of immobilized mixed bacterial inoculum for promoting growth of sugarcane under drought condition | en_US |
dc.type | Senior Project | en_US |
dc.email.advisor | Ekawan.L@Chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Sci - Senior Projects |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Patamavadee Tr_Se_2561.pdf | 1.68 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.