Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64586
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเฉลิม ชัยวัชราภรณ์-
dc.contributor.advisorชูศักดิ์ เวชแพศย์-
dc.contributor.authorโรม วงศ์ประเสริฐ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-04-01T14:37:24Z-
dc.date.available2020-04-01T14:37:24Z-
dc.date.issued2545-
dc.identifier.issn9741719647-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64586-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 254en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาโปรแกรมการฝึก (B) เพื่อพัฒนาระดับจุดเริ่มล้า (Anaerobic Threshold) ในนักวิ่ง 1500 เมตร และเพื่อศึกษาเปรียบเทียบการฝึก (A) เพื่อพัฒนาจุดเริ่มล้า ด้วยโปรแกรมการฝึก 3 ระดับคือ ระดับต่ำกว่าจุดเริ่มล้า (-10%) ระดับจุดเริ่มล้า และระดับสูงกว่าจุดเริ่มล้า (+10%) วิธีการทดสอบจุดเริ่มล้าใช้วิธีการทดสอบของคอนโคนี (จุดหักเหของอัตราการเต้นหัวใจ) โปรแกรมการฝึก (A) คือ โปรแกรมการฝึกเพื่อพัฒนาจุดเริ่มล้าในกระบวนการทดลองระยะที่ 1 โปรแกรการฝึก (B) คือ โปรแกรมการฝึกเพื่อพัฒนาจุดเริ่มล้าในกระบวนการทดลองระยะที่ 2 และกระบวนการศึกษาเฉพาะกรณี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองประกอบด้วย 3 กระบวนการ ดังนี้ กระบวนการศึกษาเปรียบเทียบข้อมูลในกระบวนการทดลองระยะที่ 1 ด้วยโปรแกรมการฝึก (A) 3 ระดับ กับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 60 คน กระบวนการทดลองระยะที่ 2 เพื่อพัฒนาจุดเริ่มล้าด้วยโปรแกรมการฝึก (B) ในระดับสูงกว่าจุดเริ่มล้า (อัตราการเต้นหัวใจสูงกว่าจุดเริ่มล้า 1-10 ครั้ง/นาที) กับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 16 คน แลกระบวนการศึกษาเฉพาะกรณีกับนักกรีฑาทีมชาติไทย 1 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเปอร์เซ็นต์ (%) ค่าเฉลี่ย (X_) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมแบบตัวแปรอิสระ 2 ตัว ประมวลผลโดยใช้โปรแกรม เอส พี เอส เอส ฟอร์ วินโดว์ ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1. การทดสอบจุดเริ่มล้าในภาวะหลังการทดลองระยะที่ 1 3 ระดับ พบว่าโปรแกรมการฝึกในระดับจุดเริ่มล้า (อัตราการเต้นหัวใจเฉลี่ยที่ระดับจุดเริ่มล้า 160.82 ± 7.92 ครั้ง/นาที มีเปลี่ยนแปลง +1.90%) และสูงกว่าระดับจุดเริ่มล้า (อัตราการเต้นหัวใจเฉลี่ยระดับจุดเริ่มล้า 160.15 ± 10.50 ครั้ง/นาที มีเปลี่ยนแปลง +3.17%) ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่มีความแตกต่างจากโปรแกรมการฝึกในระดับต่ำกว่าจุดเริ่มล้า (อัตราการเต้นหัวใจเฉลี่ยที่ระดับจุดเริ่มล้า 156.25 ± 0.24 ครั้ง/นาที มีเปลี่ยนแปลง +1.59%) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ภาวะหลังการทดลองระยะที่ 2 ในระดับสูงกว่าจุดเริ่มล้าเพื่อพัฒนาจุดเริ่มล้า พบว่า อัตราการเต้นหัวใจเฉลี่ยที่ระดับจุดเริ่มล้า 163.50 ± 4.71 ครั้ง/นาที เวลาในการวิ่ง 1500 เมตร เฉลี่ย 5.25 ± 0.86 นาที และกรดแลคติกในเลือดหลังการวิ่ง 1500 เมตร เฉลี่ย 7.91 ± 2.03 มิลลิโมล/ลิตร มีความแตกต่างจากในภาวะก่อนการทดลองโปรแกรมการฝึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และเปอร์เซ็นต์การเปลี่ยนแปลงจากโปรแกรมการฝึก พบว่า อัตราการเต้นหัวใจที่ระดับจุดเริ่มล้าเปลี่ยนแปลง +6.65% เวลาในการวิ่ง 1500 เมตรเปลี่ยนแปลง +10.10% และกรดแลคติกในเลือดหลังการวิ่ง 1500 เมตรเปลี่ยนแปลง -33.70% 3. ภาวะหลังการทดลองระยะที่ 2 ในระดับสูงกว่าจุดเริ่มล้า เพื่อพัฒนาจุดเริ่มล้าในการศึกษาเฉพาะกรณีของนักกรีฑาทีมชาติไทย พบว่า อัตราการเต้นของหัวใจที่ระดับจุดเริ่มล้า (168 ครั้ง/นาที) เปลี่ยนแปลง +4.94% เวลาในการวิ่ง 1500 เมตร (4.80 ครั้ง/นาที) เปลี่ยนแปลง + 1.43 % และกรดแลคติกในเลือดหลังการวิ่ง 1500 เมตร (9.20 มิลลิโมล/ลิตร) เปลี่ยนแปลง – 23.97% สรุปได้ว่า โปรแกรมการฝึกที่ความหนักของอัตราการเต้นหัวใจสูงกว่าจุดเริ่มล้า 1-10 ครั้ง/นาที สามารถพัฒนาจุดเริ่มล้าได้ดี-
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research w ere 1) to develop training program (B) for improving anaerobic threshold (AT) of 1500 meter runners, 2) to study and com pare the effects of 3 training programs(A); below anaerobic threshold state (-10% ), at the anaerobic threshold state and at the above anaerobic threshold state (+10% ) on the improvement of anaerobic threshold. Conconi test was used for AT testing (heart rate deflection point). Training program (A) was a training program for improving AT in the 1st experimental stage. Training program (B) was a training program for improving AT in the 2nd experimental stage and the case study process. The experimental design was divided into 3 processes. The 1st stage experimental was 3 training programs (A) (60 subjects). A training program (B) process was created to improve anaerobic threshold (16 subjects). A case study process was conducted with one Thai m ale athlete. The data were analyzed in term of percentage, means, standard deviation and t-test. Analysis of Covariance – Fixed Effects: two - way ANCOVA - Fixed Effect and Least Significant Difference Methods were used to determine the statistically significant differences at the .05 level. The major results revealed that: 1. Anaerobic threshold testing in the lst experimental stage showed that at the anaerobic threshold state training program (average heart rate 160.82 ± 7.92 beat/min., the percentage of chaining in heart rate deflection point +1.90%) and at the above anaerobic threshold state training program ( average heart rate 160.15 ± 10.50 beat/min., the percentage of chaining in heart rate deflection point +3.71% ) which w ere not significantly different from each other after training program (A) at the .05 level, but both programs w ere significantly different from the below anaerobic threshold state training program(av. 156.25 ± 9.24 beat/min., heart rate deflection changing +1.59%) at the .05 level. 2. There was a significant difference on the anaerobic threshold (average heart rate 163.50 ± 4.71 beat/min.), 1500 meter time (average time 5.25 ± 0.86 min.) and blood lactate (average lactate 7.91 ± 2.0 3 mMol/1) at the .05 level between before and after training program (B). The percentage of changing for improving anaerobic threshold by training program (above AT) affected on anaerobic threshold at +6.65 % , 1500 meter time at + 10.10 % and blood lactate test at + 33.70 % 3. The percentage of changing for improving anaerobic threshold by training program (above AT) of the case study showed the effect on anaerobic threshold (heart rate 168 beat/m in.) at + 4.94 % , 1500 metre time (4.80 min.) at +1.43% and blood lactate (9.20 mMol/1) at +23.97%. In conclusion, training program at heart rate 1-10 beat/min. above AT level can improve AT significantly.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2002.735-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectความล้าen_US
dc.subjectการวิ่งen_US
dc.subjectกรดแล็กติกในเลือดen_US
dc.subjectการออกกำลังกาย -- แง่สรีรวิทยาen_US
dc.subjectFatigueen_US
dc.subjectRunningen_US
dc.subjectBlood lactateen_US
dc.subjectExercise -- Physiological aspectsen_US
dc.titleการพัฒนาโปรแกรมการฝึกเพื่อพัฒนาจุดเริ่มล้าในนักวิ่งระยะ 1500 เมตรen_US
dc.title.alternativeThe development of a training program for improving the anaerobic threshold of 1500 meter runnersen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineพลศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorChalerm.C@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2002.735-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Rome_wo_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ864.7 kBAdobe PDFView/Open
Rome_wo_ch1_p.pdfบทที่ 11.1 MBAdobe PDFView/Open
Rome_wo_ch2_p.pdfบทที่ 21.81 MBAdobe PDFView/Open
Rome_wo_ch3_p.pdfบทที่ 3842.26 kBAdobe PDFView/Open
Rome_wo_ch4_p.pdfบทที่ 4872.89 kBAdobe PDFView/Open
Rome_wo_ch5_p.pdfบทที่ 51.22 MBAdobe PDFView/Open
Rome_wo_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก2.41 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.