Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64603
Title: | การใช้สื่อเพื่อรณรงค์การไม่สูบบุหรี่ ของมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ |
Other Titles: | Media using for no smoking campaign of action on Smoking and Health Foundation |
Authors: | บุรณี อนันทวงศ์ |
Advisors: | วิภา อุตมฉันท์, |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Advisor's Email: | Vipha.U@chula.ac.th |
Subjects: | มูลนิธิรณณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ การรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่--ไทย สื่อมวลชนกับการเผยแพร่ข่าวสาร--ไทย Antismoking movement--Thailand Mass media and publicity--Thailand |
Issue Date: | 2544 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ สามารถทำได้หลายวิธีการ เช่น การให้คำปรึกษา ให้ความรู้ ความเข้าใจ โดยใช้สื่อบุคคลถ่ายทอดข่าวสารสู่กลุ่ม เป้าหมาย เราต้องหาเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ เพื่อที่จะสามารถทำงาน กับคนหมู่มากได้ และเครื่องมือที่มีอิทธิพลและมีบทบาทสำคัญต่อคนจำนวนมากในยุคแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) ก็คือ “สื่อมวลชน” เท่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน สื่อมวลชนทำหน้าที่ถ่ายทอดการสูบบุหรี่อยู่ในงานของตน เราจึงต้องใช้มาตรการ “หนามยอกเอาหนามบ่ง’’ คือ จะต้องเอาสื่อมวลชนมาเป็นกลไกสำคัญในการรณรงค์ โดยสร้างสรรค์ค่านิยมการสูบบุหรี่ คาดหวังว่าสื่อมวลชนมีศักยภาพมากพอที่จะสามารถทำได้อย่างจริงจัง การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อค้นคว้าเกี่ยวกับโครงการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กับกระบวนการในการเลือกใช้สื่อ ทั้งที่เป็นสื่อกระจายเสียง และสื่อสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ การส่งสารผ่านสื่อต่าง ๆ นั้น จะทำให้เกิดผลกระทบ ต่อผู้รับสารในสังคม นอกจากนี้ยังศึกษาสื่อมวลชนในการแอบแฝงการใช้สื่อในการโฆษณาบุหรี่ด้วย ผลการวิจัยพบว่า การใช้สื่อในการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่เป็นไปในลักษณะของการประชาสัมพันธ์เชิงรุก เพื่อให้ประชาชนเกิดความตระหนัก มีการให้ข้อมูลเพื่อเป็นแนวทางในการมีส่วนร่วมกับการรณรงค์ สื่อที่ใช้มีทั้งสื่อรุกและรับ เพราะสื่อแต่ละชนิดมีข้อดีข้อด้อยต่างกัน การเข้าไปใช้ช่องทางสื่อมวลชนเป็นเพียงสื่อเสริมเท่านั้น ในส่วนของการควบคุมการแอบแฝงโฆษณาบุหรี่ผ่านทางสื่อมวลชนนั้น รัฐบาลกำหนดให้มีกฎหมายห้ามเผยแพร่ภาพการโฆษณาบุหรี่ทุกรูปแบบผ่านสื่อ แต่ปรากฏว่าสถานีโทรทัศน์ต่าง ๆ ยังมีการแพร่ภาพข่าวละคร หรือถ่ายทอดการแข่งขันกีฬาที่มีการแอบแฝงโฆษณาบุหรี่ประกอบอยู่ด้วยจนถึงปัจจุบัน สื่อมวลชนได้ทำหน้าที่ถ่ายทอดสัญลักษณ์บุหรี่ ท่าทางการสูบบุหรี่ในผลงานของตนเอง ทั้งโดยรู้ตัวและไม่รู้ตัว ผู้วิจัยจึงเห็นความจำเป็นที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้สื่อมวลชนจะพึงระวังในการนำเสนอข่าวสารเรื่องราวเรื่องบุหรี่ เช่นเดียวกันการรณรงค์นั้น ก็ต้องรู้จักการใช้สื่อมวลชน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการให้บริการ ผู้ใช้สื่อต้องมีการพัฒนาจิตสำนึกความรับผิดชอบในการสร้างสรรค์งานในรูปข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ เนื่องจากสื่อมวลชนเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้รวดเร็วและกว้างขวาง |
Other Abstract: | No smoking campaign can be implemented เท various ways such as consulting, giving knowledge via person - to - person communication to target groups. We have to find effective tools เท order to work with massive group. The influential and important tool towards a mass group in this information technology era is “mass media" What we have seen nowadays is that mass media has presented smoking in its work. We have to use the “retaliated measurement" which means using mass media as a crucial mechanism for campaigning smoking attitude. This is expected that mass media has a strong potential to achieve seriously. This study is aimed at researching about no smoking campaign projects and process of selection of media using. The result of this research came out to be that the mass media usage for no smoking campaign fall into the offensive ways of communication. The offensive and defensive media was used to provide useful information and to persuade people to join the campaign Regarding the control of indirect cigarette advertisement through mass media, there’s a law that prohibit broadcasting all kind of cigarette ads. However, television keeps indirectly advertising these through News, soap opera or sports programme. Mass media publicize cigarettes and smoking habits in its productions both with or without awareness. The researcher sees that it’s necessary for media people to be more careful when presenting information on smoking for the ultimate benefit of the public. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การสื่อสารมวลชน |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64603 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2001.289 |
ISBN: | 9741708068 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2001.289 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Buranee_an_front_p.pdf | หน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ | 761.96 kB | Adobe PDF | View/Open |
Buranee_an_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 919.33 kB | Adobe PDF | View/Open |
Buranee_an_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 1.57 MB | Adobe PDF | View/Open |
Buranee_an_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 838.47 kB | Adobe PDF | View/Open |
Buranee_an_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 977.38 kB | Adobe PDF | View/Open |
Buranee_an_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 1.96 MB | Adobe PDF | View/Open |
Buranee_an_ch6_p.pdf | บทที่ 6 | 2.54 MB | Adobe PDF | View/Open |
Buranee_an_back_p.pdf | รายการอ้างอิงและภาคผนวก | 831.62 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.