Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64609
Title: | การวิเคราะห์เปรียบเทียบต้นทุน - ประสิทธิผลของการเฝ้าระวังโรคไข้มาลาเรียเชิงรุก ด้วยวิธีการใช้ชุดน้ำยาสำเร็จรูปและฟิล์มโลหิตชนิดหนา ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ 18 แม่สอด ปี 2545 |
Other Titles: | Comparison of cost-effectiveness between dipstick and thick blood film for malarial active surveillance of vector borne disease control center no.18 Mae Sot 2002 |
Authors: | ยุทธพงศ์ หมื่นราษฎร์, 2513- |
Advisors: | ทศพร วิมลเก็จ บดี ธนะมั่น |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | Thosporn.v@chula.ac.th Bodi.D@Chula.ac.th |
Subjects: | มาลาเรีย -- การป้องกันและควบคุม การเฝ้าระวังโรค -- ต้นทุนและประสิทธิผล ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ 18 -- แม่สอด Malaria -- Prevention and control Public health surveillance -- Cost effectiveness |
Issue Date: | 2545 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อคำนวณต้นทุน ประเมินประสิทธิผลและวิเคราะห์ต้นทุน - ประสิทธิผลของการเฝ้าระวังโรคไข้มาลาเรียเชิงรุก ด้วยวิธีการใช้ชุดน้ำยาสำเร็จรูปและฟิล์มโลหิตชนิดหนา ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที1 18 แม่สอด ปี 2545 ในมุมมองของผู้ให้บริการ โดยเป็นการศึกษาเชิงพรรณนา และเก็บข้อมูลย้อนหลัง จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยแบ่งออกเป็น หน่วยงานต้นทุนชั่วคราวและหน่วยงานรับต้นทุน ใช้วิธีการกระจายต้นทุนแบบการกระจายโดยตรงและการกระจายต้นทุนแบบการกระจายตามลำดับขั้น ผลการศึกษาพบว่าต้นทุนรวมทั้งหมดของการดำเนินงานเฝ้าระวังโรคไข้มาลาเรียเชิงรุกด้วยวิธีการใช้ชุดน้ำยาสำเร็จรูปเท่ากับ 2,771,784.77 บาท โดยเป็นต้นทุนทางตรงร้อยละ 87.75 และต้นทุนรวมทั้งหมดของการดำเนินงานเฝ้าระวังโรคไข้มาลาเรียเชิงรุกด้วยฟิล์มโลหิตชนิดหนา เท่ากับ 2,226,032.57 บาท โดยเป็นต้นทุนทางตรงร้อยละ 84.26 ต้นทุนเฉลี่ยต่อตัวอย่างที่ตรวจด้วยชุดน้ำยาสำเร็จรูป เท่ากับ 304.12 บาท ต่อราย และต้นทุนเฉลี่ยต่อตัวอย่างที่ตรวจพบเชื้อ เท่ากับ 1,475.92 บาทต่อราย ส่วนต้นทุนเฉลี่ยต่อตัวอย่างที่ตรวจด้วยฟิล์มโลหิตชนิดหนา เท่ากับ 244.24 บาทต่อราย และต้นทุนเฉลี่ยต่อตัวอย่างที่ตรวจพบเชื้อเท่ากับ 816.89 บาทต่อราย สำหรับ ต้นทุน – ประสิทธิผลพบว่าการดำเนินงานเฝ้าระวังโรคไข้มาลาเรียเชิงรุกด้วยฟิล์มโลหิตชนิดหนามีประสิทธิภาพสูงสุด (ต้นทุน - ประสิทธิผล ตํ่าสุด) โดยมีต้นทุน - ประสิทธิผลเท่ากับ 816.89 บาท ส่วนการเฝ้าระวังโรคไข้มาลาเรียเชิงรุกด้วยวิธีการใช้ชุดน้ำยาสำเร็จรูปมีต้นทุน-ประสิทธิผลเท่ากับ 1,475.92 บาท เมื่อวิเคราะห์ความไวของ ต้นทุน - ประสิทธิผล พบว่า ถึงแม้จะมีการเปลี่ยนแปลงของอัตราการตรวจพบเชื้อมาลาเรียจากสถานการณ์ปัจจุบันทั้งเพิ่มขึ้นและลดลง ของวิธีการตรวจวินิจฉัยทั้ง 2 วิธี ก็ตาม วิธีการตรวจวินิจฉัยด้วยฟิล์มโลหิตชนิดหนาก็ยังคงมีประสิทธิภาพสูงสุดแต่มีแนวโน้มว่าหาก อัตราความชุกของเชื้อมาลาเรีย ยิ่งเพิ่มสูงขึ้นก็จะทำให้ประสิทธิภาพของวิธีการตรวจวินิจฉัยทั้ง 2 วิธี ใกล้เคียงกันมากยิ่งขึ้น ผลการวิจัยจากการศึกษานี้ สามารถเป็นข้อมูลพื้นฐานให้ผู้บริหารนำไปประกอบการวางแผนการดำเนินงานเฝ้าระวังโรคไข้มาลาเรียเชิงรุกและบริหารการใช้ทรัพยากร ในการดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด |
Other Abstract: | The purposes of this study was to calculate cost, effectiveness and analyze cost effectiveness of dipstick and thick blood film method in utilization for malarial active surveillance at Vector Borne Disease Control Center No. 18 Mae Sot fiscal year 2002. Data were collected from local agency by retrospective surveys. The cost center was classified into two categories : Transient Cost Center and Absorbing Cost Center 1 which allocated by Direct Distribution Method and step - Down Method. The study revealed that full cost of malarial active surveillance by dipstick and thick blood film was 2,771,784.77 and 2,226,032.57 Bahts, of which 87.75 % and 84.26 % were the direct cost respectively. The unit cost of all (negative and positive) sample for dipstick and thick blood film was 304.12 and 244.24 Bahts, and those unit cost of positive - only sample were 1,475.92 and 816.89 Bahts for dipstick and thick blood film methods respectively. In the other words, the cost - effectiveness analysis for dipstick and thick blood film were 1,475.92 and 816.89 Bahts of malarial active surveillance respectively. For the sensitivity analysis of cost - effectiveness showed that thick blood film method had higher efficiency than dipstick method despite any prevalence of malarial infection. However, when the prevalence increaes, the efficiencies going to equal. These findings have potential utilization by public health administrators in the planning and resources allocation for the most effective malarial active surveillance program. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เวชศาสตร์ชุมชน |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64609 |
ISSN: | 9741718683 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Yuthapong_mu_front_p.pdf | หน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ | 859.35 kB | Adobe PDF | View/Open |
Yuthapong_mu_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 816.96 kB | Adobe PDF | View/Open |
Yuthapong_mu_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 2.02 MB | Adobe PDF | View/Open |
Yuthapong_mu_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 793.74 kB | Adobe PDF | View/Open |
Yuthapong_mu_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 1.31 MB | Adobe PDF | View/Open |
Yuthapong_mu_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 1.13 MB | Adobe PDF | View/Open |
Yuthapong_mu_back_p.pdf | รายการอ้างอิง และภาคผนวก | 2.98 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.