Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64634
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorรุจน์ เลาหภักดี-
dc.contributor.authorบริรักษ์ ปะกาสี-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา-
dc.date.accessioned2020-04-05T04:36:26Z-
dc.date.available2020-04-05T04:36:26Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64634-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562-
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของการฝึกเสริมที่ความเข้มข้นสูงแบบหนักสลับเบาที่มีต่อความสามารถด้านแอโรบิกและแอนแอโรบิกของนักกีฬามวยสากลสมัครเล่น และเปรียบเทียบผลของการฝึกเสริมที่ความเข้มข้นสูงแบบหนักสลับเบาร่วมกับการฝึกปกติและผลของการฝึกปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักกีฬามวยสากลสมัครเล่นเพศชายของโรงเรียนกีฬาจังหวัดสุพรรณบุรีที่มีอายุระหว่าง 12-18 ปี โดยทำการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (purposive sampling) จำนวน 24 คน จากนั้นแบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 12 คนเท่าๆกันด้วยใช้วิธีการจับคู่ (Matched pair) โดยใช้ค่า Vo2max และอายุเป็นเกณฑ์ ดังนี้ กลุ่มทดลองเป็นกลุ่มที่ได้รับการฝึกปกติร่วมกับการฝึกเสริมที่ความเข้มข้นสูงแบบหนักสลับเบา โดยกลุ่มทดลองจะทำการฝึกเสริมด้วยการชกกระสอบทรายที่ความหนัก 90-95% ของชีพจรสูงสุด 20 วินาที และพักแบบมีการเคลื่อนไหว (Active Recovery) โดยการเต้นฟุตเวิคร์ (Boxing Footwork) อยู่กับที่ที่ความหนัก 65-70% ของชีพจรสูงสุด 10 วินาที ทำทั้งหมด 6 รอบ รวมเป็น 1 เซ็ต ฝึก 3 เซ็ต โดยมีการพักระหว่างเซ็ต 2 นาที โดยทำการฝึก 2 ครั้ง ต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 6 สัปดาห์ และกลุ่มควบคุมที่ได้รับการฝึกปกติเพียงอย่างเดียว ก่อนและหลังการฝึก สัปดาห์ที่ 6 ทำการวัดค่าตัวแปร ได้แก่ ความสามารถด้านแอโรบิก คือความสามารถในการใช้ออกซิเจนสูงสุด  ความสามารถด้านแอนแอโรบิก คือ ความสามารถสูงสุดแบบแอนแอโรบิกและพลังแบบแอนแอโรบิก นำข้อมูลที่ได้มาหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ โดยใช้การทดสอบค่าที (t-test) กำหนดระดับความมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ผลการวิจัย ก่อนการฝึกทั้งสองก่อนมีค่าตัวแปรพื้นฐานทางสรีรวิทยาต่างๆ ได้แก่ อายุ น้ำหนัก เปอร์เซ็นไขมันในร่างกาย อัตราการเต้นหัวใจขณะพัก อัตราการเต้นหัวใจสูงสุด ความสามารถด้านเเอโรบิกและแอนแอโรบิกของกลุ่มฝึกเสริมที่ความเข้มข้นสูงแบบหนักสลับเบาและกลุ่มที่ฝึกแบบปกติ ไม่เเตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 6 พบว่า กลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยความสามารถด้านแอโรบิกและแอนแอโรบิกสูงกว่ากลุ่มควบคุมแต่ไม่เเตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปผลการวิจัยโปรแกรมการฝึกที่ความเข้มข้นสูงแบบหนักสลับเบาในนักกีฬามวยสากลสมัครเล่น ในการวิจัยครั้งนี้มีแนวโน้ม สามารถพัฒนาความสามารถด้านแอโรบิกและแอนแอโรบิกได้ดีกว่ากลุ่มที่ฝึกแบบปกติ  ซึ่งแสดงให้เห็นว่าโปรแกรมการฝึกเสริมฯ มีแนวโน้มที่จะพัฒนาความสามารถด้านแอโรบิกและแอนแอโรบิกในนักกีฬามวยสากลสมัครเล่นได้-
dc.description.abstractalternativePurpose: This research aimed to study the effects of supplemented high intensity interval training on aerobic and anaerobic capacity in amateur boxers. Methods: Twenty four male amateur boxers aged between 12-18 years old, from Suphanburi Sport School participated were recriuted and voluntarily paticipated  in this study. They were divided into two group ; an experimental group (n = 12) and a control group (n = 12). The experimental group  trained using  HIIT program in addition to their normal training, twince a week for 6 weeks. The control group, however, underwent a regular training program only. Maximal oxygen uptake (VO2max) was measured by using a modified Bruce protocol and anaerobic power, anaerobic capacity were tested by a Wingate Anaerobic Test. Data were expressed as mean and standard deviation, and were analyzed  using a pair sample t-test and independent sample-t test. A level of significant was set at p-value < 0.05 Result: There were no differences in mean age, body weight, Percent fat, Resting hart rate, maximal heart rate, aerobic and anaerobic capacity between two groups before training. After 6 weeks of training, the experimental group had a slightly higher aerobic and anaerobic capacity  than that of control group, even though was not significant difference. Conclusion: This result indicates that adding 6 weeks of HIIT training program can increase aerobic and anaerobic capacity, when compared to a regular training in male boxer.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.1101-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectการออกกำลังกายแบบหนักสลับเบา-
dc.subjectแอโรบิก (กายบริหาร)-
dc.subjectนักมวย-
dc.subjectInterval training-
dc.subjectAerobic exercises-
dc.subjectBoxers (Sports)-
dc.subject.classificationHealth Professions-
dc.titleผลของการฝึกเสริมที่ความเข้มข้นสูงแบบหนักสลับเบาที่มีต่อความสามารถด้านแอโรบิกและแอนแอโรบิกของนักกีฬามวยสากลสมัครเล่น-
dc.title.alternativeThe effects of supplemented high intensity interval training on aerobic and anaerobic capacity in amateur boxers-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์การกีฬา-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorRuht.L@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2019.1101-
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5978337739.pdf3.43 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.