Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64637
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวันชัย บุญรอด-
dc.contributor.authorนวรัตน์ สิริรัตน์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา-
dc.date.accessioned2020-04-05T04:36:27Z-
dc.date.available2020-04-05T04:36:27Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64637-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562-
dc.description.abstractการวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการจดจำตราสินค้าของผู้ให้การสนับสนุนกีฬาฟุตบอลไทยลีกผ่านสื่ออินเทอร์เน็ต โดยทำการศึกษาปัจจัย 4 ด้าน ดังนี้ 1) ปัจจัยด้านเวลาที่ตราสินค้าออกอากาศ 2) ปัจจัยด้านคู่แข่งตราสินค้า 3) ปัจจัยด้านความคุ้นเคยกับตราสินค้า 4) ปัจจัยด้านการเคยใช้สินค้าหรือบริการของผู้ให้การสนับสนุน โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็น นิสิตคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา นิสิตคณะครุศาสตร์ สาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา และนิสิตที่ลงทะเบียนเรียนวิชากิจกรรมกีฬา (SPORT ACTIVITY) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพศชาย  อายุ 21 – 25 ปี จำนวน 120 คน ผู้วิจัยเลือกใช้แบบแผนการทดลองขั้นต้น (Pre-experimental Design) แบบ One-Shot Case Study ผู้วิจัยดำเนินการทดลองโดยให้กลุ่มตัวอย่างดูคลิปไฮไลท์การแข่งขันฟุตบอลไทยลีกและตอบแบบสอบถาม จากนั้น ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติค (Logistic regression analysis) ผลการวิจัย พบว่า เวลาที่ตราสินค้าออกอากาศเพิ่มขึ้น 1 วินาที ส่งผลให้เกิดการจดจำตราสินค้าได้มากขึ้น 1.005 เท่า หรือคิดเป็นร้อยละ 0.5 จำนวนคู่แข่งตราสินค้าของผู้ให้การสนับสนุนที่ออกอากาศเพิ่มมากขึ้น 1 ตราสินค้า ส่งผลให้เกิดการจดจำตราสินค้าได้น้อยลง .960 เท่า หรือคิดเป็นร้อยละ 4 ความคุ้นเคยกับตราสินค้าของผู้ให้การสนับสนุนเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 ส่งผลให้เกิดการจดจำตราสินค้าเพิ่มมากขึ้น 2.579 เท่า การเคยใช้สินค้าหรือบริการของผู้ให้การสนับสนุนที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 1 ส่งผลต่อการจดจำตราสินค้าของผู้ให้การสนับสนุนเพิ่มขึ้น 2.111 เท่า สรุปผลการวิจัยได้ว่า ปัจจัยด้านเวลาที่ตราสินค้าออกอากาศ ปัจจัยด้านความคุ้นเคยกับตราสินค้า ปัจจัยด้านการเคยใช้สินค้าหรือบริการของผู้ให้การสนับสนุน มีผลต่อการจดจำตราสินค้าในทิศทางบวก ปัจจัยด้านคู่แข่งตราสินค้า มีผลต่อการจดจำตราสินค้าในทิศทางลบ-
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research was to study the factors influencing on customer’s memory for sponsor brands while watching football highlight that post on internet media. The variables consist of “on-screen-time”, “on-screen-competitors”, “brand familiarity” and “brand customer”. The sample of this research was 120 male students, aged range 21 - 25 years, from Faculty of Sports Science, Faculty of Education Major in Health Education and Physical Education and these who enrolled in Sport Activity class, Chulalongkorn University. The participants were exposed to a football highlight and then answer the questionnaire. Data were analyzed using Logistic regression analysis to reach the objective of this research. It was found that all variables, but not, on-screen-competitors, had a positive the memorization of Thai football league sponsorship impact on. For every second increase, the odds of memorization (vs non-memorization) increased. Every percent increase in “brand familiarity” and “brand customer” led to increased odds of memorization. However, the more brand competitors, the less customer’s memory for sponsor brands.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.1102-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectการสร้างชื่อตราผลิตภัณฑ์-
dc.subjectฟุตบอล-
dc.subjectBranding (Marketing)-
dc.subjectSoccer-
dc.subject.classificationBusiness-
dc.titleปัจจัยที่มีผลต่อการจดจำตราสินค้าของผู้ให้การสนับสนุนกีฬาฟุตบอลไทยลีกผ่านสื่ออินเทอร์เน็ต-
dc.title.alternativeFactors influencing the memorization of Thai football league sponsorship on internet media-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์การกีฬา-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorWanchai.B@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2019.1102-
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6078309639.pdf3.54 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.