Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64645
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | คนางค์ ศรีหิรัญ | - |
dc.contributor.author | ศศิพงษ์ แสนนาใต้ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา | - |
dc.date.accessioned | 2020-04-05T04:36:30Z | - |
dc.date.available | 2020-04-05T04:36:30Z | - |
dc.date.issued | 2562 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64645 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562 | - |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลของการฝึกเชิงซ้อนด้วยการฝึกวิ่งระยะสั้นแบบซ้ำที่มีต่อพลังกล้ามเนื้อและความสามารถในการวิ่งระยะสั้นแบบซ้ำในนักกีฬาฟุตบอลระดับเยาวชน วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างนักกีฬาฟุตบอลระดับเยาวชน มีอายุตั้งแต่ 17-18 ปี จำนวน 30 คน แบ่งกลุ่มเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 10 คน คือ กลุ่มที่ 1 ฝึกด้วยโปรแกรมฝึกพลังกล้ามเนื้อด้วยน้ำหนัก กลุ่มที่ 2 ฝึกด้วยโปรแกรมการวิ่งระยะสั้นแบบซ้ำ และกลุ่มที่ 3 ฝึกโปรแกรมการฝึกเชิงซ้อนด้วยการวิ่งระยะสั้นแบบซ้ำ ทั้ง 3 กลุ่ม ฝึก 2 ครั้ง/สัปดาห์ เป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ ก่อนการฝึกและภายหลังการฝึกทำการทดสอบตัวแปรด้านสรีรวิทยา พลังกล้ามเนื้อ ความสามารถในการวิ่งระยะสั้นแบบซ้ำ ความเร็วในการวิ่งสปริ๊นท์ และความแข็งแรงสูงสุด ภายหลังการฝึก 6 สัปดาห์ นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างก่อนและภายหลังการฝึกด้วยการทดสอบค่าทีแบบรายคู่และวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว กำหนดระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 ผลการวิจัย ภายหลังการฝึก 6 สัปดาห์ กลุ่มที่ 1 กลุ่มที่ 2 และกลุ่มที่ 3 มีค่าเฉลี่ยพลังกล้ามเนื้อและความแข็งแรงสูงสุดของกล้ามเนื้อ เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความเร็วในการวิ่งสปริ๊นท์ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้ การทดสอบค่าความสามารถในการวิ่งระยะสั้นแบบซ้ำภายหลังการฝึก 6 สัปดาห์ พบว่า กลุ่มที่ 2 และ กลุ่มที่ 3 มีค่าความเร็วสูงสุดลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และค่าความเร็วเฉลี่ยในกลุ่มที่ 3 ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สรุปผลการวิจัย รูปแบบการฝึกโปรแกรมการฝึกเชิงซ้อนด้วยการวิ่งระยะสั้นแบบซ้ำช่วยพัฒนาพลังกล้ามเนื้อ ความสามารถในการวิ่งระยะสั้นแบบซ้ำ ความเร็วในการวิ่งสปริ๊นท์ และความแข็งแรงสูงสุดในนักกีฬาฟุตบอลระดับเยาวชนได้เป็นอย่างดี | - |
dc.description.abstractalternative | Purpose To study the effects of complex training with repeated sprint on muscular power and repeated sprint ability in young soccer players. Methods Thirty male soccer players (age 17-19 years) volunteered for this study. Soccer players were separated into 3 groups. The first group performed only weight training program (n = 10), the second group performed only repeated sprint ability program (n = 10) and the third group performed complex training program with repeated sprint ability program (n = 10). All of subjects trained twice a week for 6 weeks. Before (per-test) and after (post-test) general physical characteristics, strength, muscular power, sprint test and repeated sprint ability (RSA) were measured. Data were analyzed using pair t-test and one-way analysis of variance (ANOVA). A significance level of 0.05 was considered the statistical significance. Results After 6 weeks of training, All of groups had the average value of strength and muscular power significantly higher (p<0.05) and sprint test significantly lower (p<0.05) than the pre-test. In addition, the repeated sprint ability test found that group 2 and group 3 had better (p<0.05) than the pre-test. Moreover, the average time of repeated sprint ability in group 3 was significantly lower (p<0.05) than the pre-test. Conclusion The complex training with repeated sprint training program is more effective in impoving strength, muscular power, sprint test and repeated sprint ability in youth football athletes. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.1109 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject | การวิ่ง -- การฝึก | - |
dc.subject | นักฟุตบอล | - |
dc.subject | Running -- Training | - |
dc.subject | Soccer players | - |
dc.subject.classification | Health Professions | - |
dc.title | ผลการฝึกเชิงซ้อนด้วยการฝึกวิ่งระยะสั้นแบบซ้ำที่มีต่อพลังกล้ามเนื้อและความสามารถในการวิ่งระยะสั้นแบบซ้ำในนักกีฬาฟุตบอลระดับเยาวชน | - |
dc.title.alternative | Effects of complex training with repeated sprint on muscular power and repeated sprint ability in young soccer players | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | วิทยาศาสตร์การกีฬา | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.email.advisor | Kanang.S@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2019.1109 | - |
Appears in Collections: | Spt - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
6078406839.pdf | 2.79 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.