Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64685
Title: Development of elastic liposomes of caffeine for the treatment of cellulite
Other Titles: การพัฒนาอิลาสติกลิโพโซมของคาเฟอีนสำหรับการรักษาเซลลูไลต์
Authors: Chungrida Kao-ian
Advisors: Nontima Vardhanabhuti
Waraporn Suwakul
Other author: Chulalongkorn University. Faculty of Phamaceutical Science
Advisor's Email: Nontima.V@Chula.ac.th
Swarapor@Chula.ac.th
Subjects: Cellulite
Adipose tissues
Caffeine
เซลลูไลต์
เนื้อเยื่อไขมัน
คาเฟอีน
Issue Date: 2016
Publisher: Chulalongkorn University
Abstract: In this study, caffeine elastic liposomes were developed for cellulite treatment by using the combination of surfactant and ethanol. The elastic liposomes studied consisted of phosphatidylcholine as the structural lipid, Span® 80 or Tween® 80 of the same molar ratio (5-10% w/w and 15-25% w/w of total lipid, respectively) as the edge activator and various concentrations of ethanol (5-25% v/v). The effects of type and amount of surfactants and concentration of ethanol on physical properties i.e., vesicle formation, size and size distribution and elasticity of blank liposomes were investigated. The blank liposome formulations with highest elasticity of each surfactant were selected to prepare the caffeine-containing elastic liposomes. These elastic liposomes were characterized for physical properties including entrapment efficiency and physical stability. The skin delivery of caffeine from the chosen elastic liposome formulations were carried out in vitro with modified Franz diffusion cells under the non-occlusive condition using newborn pig skin as the model membrane. The results showed that the complete vesicle formation was observed at low ethanol concentrations (5-15% v/v). The vesicle size of liposomes composed of Span® 80 and Tween® 80 was in the range of 5.84-8.08 µm and 3.73-5.27 µm, respectively. The combination of surfactant and ethanol showed significant effects on physical properties of elastic liposomes. The elasticity of liposomes containing Span® 80 and Tween® 80 was in the range of 27.07-79.86% and 8.44-15.74%, respectively. The formulations with highest elasticity, S7.5_5 with Span® 80 7.5% w/w and ethanol 5% v/v and T20_5 with Tween® 80 20% w/w and ethanol 5% v/v, were chosen to load caffeine. In general, physical properties of caffeine elastic liposomes were similar to the corresponding blank liposomes. However, caffeine loading decreased the elasticity of caffeine-entrapped elastic liposome formulations by approximately 20-30% compared to that of the blank elastic liposomes. The elasticity values of the caffeine-loaded elastic liposome formulations S7.5_5 and T20_5 were 53.46±8.63% and 11.93±0.46%, respectively. The entrapment efficiency values of S7.5_5 was lower than that of T20_5 (35.05±0.60 and 41.31±3.32% w/w, respectively). Skin permeation from S7.5_5 and T20_5 were significantly higher than that from the hydro-alcoholic solution used as the aqueous phase of these elastic liposomes. However, despite the profound difference in elasticity between the 2 formulations, no significantly differences were seen in most permeation parameters studied. The only significant difference detected was the enhancement factor of caffeine amount in the skin, the mean of which was almost doubled for the S7.5_5 formulation when compared to the T20_5 formulation. 
Other Abstract: การศึกษานี้เป็นการพัฒนาอิลาสติกลิโพโซมของคาเฟอีนเพื่อรักษาเซลลูไลต์โดยการใช้สารลดแรงตึงผิวร่วมกับเอทานอล อิลาสติกลิโพโซมประกอบด้วยฟอสฟาทิดิลคอลีนเป็นโครงสร้างไขมัน สแปน 80 หรือทวีน 80 ที่มีอัตราส่วนโดยโมลเท่ากัน (5-10% และ 15-25% โดยน้ำหนักของไขมันทั้งหมด ตามลำดับ) เป็นเอจแอติเวเตอร์ และเอทานอลความเข้มข้นต่างๆ (5-25% โดยปริมาตร)  ผู้วิจัยศึกษาผลของชนิดและความเข้มข้นของสารลดแรงตึงผิว และเอทานอลต่อสมบัติทางกายภาพของลิโพโซม (เช่น การเกิดเวซิเคิล ขนาดและการกระจายขนาด และความยืดหยุ่น) และเลือกสูตรตำรับอิลาสติกลิโพโซมของสารลดแรงตึงผิวแต่ละชนิดที่มีความยืดหยุ่นสูงสุดมาเตรียม อิลาสติกลิโพโซมที่บรรจุคาเฟอีน รวมทั้งได้ศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพต่าง ๆ ประสิทธิภาพในการเก็บกัก และความคงตัวทางกายภาพของอิลาสติกลิโพโซมที่บรรจุคาเฟอีน และศึกษาการนำส่งคาเฟอีนผ่านผิวหนังแบบนอกกายโดยใช้เซลล์สำหรับศึกษาการแพร่แบบฟรานซ์ดัดแปลงและหนังสุกรแรกเกิดภายใต้สภาวะเปิด ผลการศึกษาพบว่าเกิดเวซิเคิลสมบูรณ์ที่ความเข้มข้นเอทานอลต่ำ (5-15% โดยปริมาตร) ขนาดของลิโพโซมที่มีสแปน 80 และทวีน 80 เป็นส่วนประกอบอยู่ในช่วง 5.84-8.08 ไมโครเมตร และ 3.73-5.27 ไมโครเมตร ตามลำดับ การใช้สารลดแรงตึงผิวร่วมกับเอทานอลมีผลอย่างมีนัยสำคัญต่อคุณสมบัติทางกายภาพของอิลาสติกลิโพโซม ความยืดหยุ่นของลิโพโซมที่มีสแปน 80 และทวีน 80 เท่ากับ 27.07-79.86% และ 8.44-15.74% ตามลำดับ ผู้วิจัยเลือกตำรับ S7.5_5 ที่มี สแปน 80 7.5% โดยน้ำหนักของไขมันทั้งหมดและเอทานอล 5% โดยปริมาตร และ T20_5 ที่มีทวีน 80 20% โดยน้ำหนักของไขมันทั้งหมดและเอทานอล 5% โดยปริมาตร เพื่อนำมาบรรจุคาเฟอีนเนื่องจากมีค่าความยืดหยุ่นสูงสุด คุณสมบัติทางกายภาพของอิลาสติกลิโพโซมที่มีคาเฟอีนคล้ายกับลิโพโซมเปล่า อย่างไรก็ตาม การเติมคาเฟอีนทำให้ความยืดหยุ่นของอิลาสติกลิโพโซมลดลงจากอิลาสติกลิโพโซมเปล่าถึงประมาณ 20-30% ค่าความยืดหยุ่นของตำรับ S7.5_5 และ T20_5 คือ 53.46±8.63% และ 11.93±0.46% ตามลำดับ ประสิทธิภาพในการเก็บกักคาเฟอีนของสูตร S7.5_5 มีค่าน้อยกว่าสูตร T20_5 ซึ่งมีค่าเท่ากับ 35.05±0.60 และ 41.31±3.32% โดยน้ำหนัก ตามลำดับ การซึมผ่านผิวจากสูตร S7.5_5 และ T20_5 สูงกว่าสารละลายแอลกอฮอล์ที่ใช้เป็นเฟสน้ำในการเตรียม ลิโพโซมอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตาม ไม่พบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของพารามิเตอร์ในการซึมผ่านผิวของคาเฟอีนระหว่างอิลาสติกลิโพโซมทั้งสองสูตรแม้ว่าค่าความยืดหยุ่นจะแตกต่างกันอย่างชัดเจน  ยกเว้นปริมาณคาเฟอีนในผิวหนังของตำรับ S7.5_5 ซึ่งมีค่าเปรียบเทียบกับสารละลายสูงกว่าตำรับ T20_5 เกือบ 2 เท่า 
Description: Thesis (M.Sc. in Pharm.)--Chulalongkorn University, 2016
Degree Name: Master of Science in Pharmacy
Degree Level: Master's Degree
Degree Discipline: Pharmaceutics
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64685
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1784
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2016.1784
Type: Thesis
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5576240733.pdf3.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.