Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64690
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | Anyarporn Tansirikongkol | - |
dc.contributor.advisor | Vipaporn Panapisal | - |
dc.contributor.author | Rapeekan Sakdawattanakul | - |
dc.contributor.other | Chulalongkorn University. Faculty of Phamaceutical Science | - |
dc.date.accessioned | 2020-04-05T05:23:32Z | - |
dc.date.available | 2020-04-05T05:23:32Z | - |
dc.date.issued | 2016 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64690 | - |
dc.description | Thesis (M.Sc.)--Chulalongkorn University, 2016 | - |
dc.description.abstract | The changes in skin conditions involve several pathways. Natural extract has been included to improve the skin condition. However, single extract with several properties is barely available. The purpose of this study is to investigate the effect of individual amla and sapota fruit extracts and their combinations at the ratio of 5:1, 1:1 and 1:5 on in vitro antioxidant, anti-inflammatory, anti-collagenase, anti-elastase and anti-tyrosinase activities. The antioxidant and anti-inflammatory activities were determined by DPPH radical scavenging assay and by nitric oxide radical scavenging assay, respectively. Anti-collagenase, anti-elastase and anti-tyrosinase were analyzed by EnzChek® gelatinase/collagenase assay kit, EnzChek® elastase assay kit and DOPA chrome method, respectively. Ethanolic amla extract exhibited the strongest antioxidant and anti-inflammatory activities with IC50 of 1.84 ± 0.1 and 17.31 ± 0.37 µg/ml, respectively, while ethanolic sapota eaxtract revealed the highest anti-collagenase and anti-elastase activities with IC50 of 65.68 ± 3.63 and 36.82 ± 0.72 µg/ml, respectively. For anti-tyrosinase activity, sapota extract showed low activity with IC50 of 5862.52 ± 169.5 µg/ml whereas it was undetectable in amla extract. Combination amla and sapota extract at the ratio of 5:1, 1:1 and 1:5 provided antioxidant activity with IC50 of 2.21 ± 0.15, 3.13 ± 0.06 and 7.3 ± 0.73 µg/ml, respectively, and showed anti-inflammatory activity with IC50 of 19.72 ± 0.35, 31.14 ± 0.49 and 68.8 ± 1.35 µg/ml, respectively. Combination containing amla as a main constituent showed the highest activities. For anti-proteinase activity, their combination at the ratio of 5:1, 1:1 and 1:5 exhibited anti-collagenase activity with IC50 of 78.9 ± 3.42, 74.48 ± 1.61 and 68.68 ± 2.69 µg/ml, respectively, and revealed anti-elastase activity with IC50 of 150.72 ± 7.9, 71.9 ± 5.06 and 36.22 ± 0.99 µg/ml, respectively. Sapota showed a predominant in both activities and the combination which contained sapota as a main constituent exhibited the highest in both activities. The combination index (CI) at median condition of most combination ratios were exhibited additive effect, except combination 1:1 in antioxidant, combination 5:1 and 1:5 in anti-inflammatory, combination 5:1 in anti-collagenase and combination 1:5 in anti-elastase activities which showed synergistic effect. Interestingly, combination 1:5 provided potent antioxidant and good anti-inflammatory activities from the effect of amla extract, moreover, it obtained effective anti-elastase and good anti-collagenase from the effect of sapota extract. This combination, therefore, may enhance overall cosmetic properties and may be further included as an active ingredient in cosmetic product. | - |
dc.description.abstractalternative | การเปลี่ยนแปลงสภาพผิวประกอบด้วยหลายกลไก สารสกัดจากธรรมชาติได้ถูกนำมาใช้เพื่อฟื้นฟูสภาพผิว อย่างไรก็ตามสารสกัดเดี่ยวที่ให้คุณสมบัติหลากหลายนั้นมีจำกัด การผสมสารสกัดหลายชนิดจึงอาจเพิ่มคุณสมบัติทางเครื่องสำอางมากขึ้น การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพแบบนอกกาย ของสารสกัดมะขามป้อม สารสกัดละมุด และสารสกัดผสมมะขามป้อมและละมุดที่สัดส่วน 5:1 1:1 และ 1:5 ต่อฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ต้านการอักเสบ ฤทธิ์ต้านเอนไซม์คอนลาจิเนส ฤทธิ์ต้านเอนไซม์อิลาสเทส และฤทธิ์ต้านเอนไซม์ไทโรซิเนส ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ต้านการอักเสบทดสอบโดยวิธีการยับยั้งอนุมูลอิสระดีพีพีเอช และวิธีการยับยั้งอนุมูลอิสระไนตริกออกไซด์ตามลำดับ ฤทธิ์ต้านเอนไซม์คอนลาจิเนส ฤทธิ์ต้านเอนไซม์อิลาสเทส และฤทธิ์ต้านเอนไซม์ไทโรซิเนส ทำการวิเคราะห์ด้วยชุดทดสอบ EnzChek® คอนลาจิเนส ชุดทดสอบ EnzChek® อิลาสเทส และวิธีการวัดสีของสารโดปาโครมตามลำดับ สารสกัดมะขามป้อมด้วยเอทานอลแสดงฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ต้านการอักเสบสูงที่สุด ด้วยค่า IC50 เท่ากับ 1.84 ± 0.1 และ 17.31 ± 0.37 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตรตามลำดับ ขณะที่สารสกัดละมุดด้วยเอทานอลแสดงฤทธิ์ต้านเอนไซม์คอนลาจิเนสและฤทธิ์ต้านเอนไซม์อิลาสเทสสูงที่สุดด้วยค่า IC50 เท่ากับ 65.68 ± 3.63 และ 36.82 ± 0.72 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตรตามลำดับ สำหรับฤทธิ์ต้านเอนไซม์ไทโรซิเนสนั้นสารสกัดละมุดแสดงฤทธิ์การต้านเอนไซม์ไทโรซิเนสต่ำด้วยค่า IC50 เท่ากับ 5862.52 ± 169.5 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร ในขณะที่สารสกัดมะขามป้อมไม่สามารถระบุฤทธิ์ได้ สารสกัดผสมมะขามป้อมและละมุดที่อัตราส่วน 5:1, 1:1 และ 1:5 แสดงฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยค่า IC50 เท่ากับ 2.21 ± 0.15, 3.13 ± 0.06 และ 7.3 ± 0.73 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตรตามลำดับ และแสดงฤทธิ์ต้านการอักเสบด้วยค่า IC50 เท่ากับ 19.72 ± 0.35, 31.14 ± 0.49 และ 68.8 ± 1.35 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตรตามลำดับ สารสกัดผสมที่มีปริมาณของมะขามป้อมเป็นหลักแสดงฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ต้านการอักเสบสูงสุด สำหรับการต้านเอนไซม์โปรตีน สารสกัดผสมมะขามป้อมและละมุดที่อัตราส่วน 5:1, 1:1 และ 1:5 แสดงฤทธิ์ต้านเอนไซม์คอนลาจิเนส ด้วยค่า IC50 เท่ากับ 78.9 ± 3.42, 74.48 ± 1.61 และ 68.68 ± 2.69 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตรตามลำดับ และแสดงฤทธิ์ต้านเอนไซม์อิลาสเทส ด้วยค่า IC50 เท่ากับ 150.72 ± 7.9, 71.9 ± 5.06 และ 36.22 ± 0.99 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตรตามลำดับ สารสกัดละมุดแสดงฤทธิ์ที่โดดเด่นในสองการทดสอบนี้และสารสกัดผสมที่มีปริมาณของละมุดเป็นหลักแสดงฤทธิ์ต้านเอนไซม์คอนลาจิเนส และฤทธิ์ต้านเอนไซม์อิลาสเทสสูงสุด ค่าดัชนีการผสมสาร (CI) ที่จุดกึ่งกลางของระบบ ส่วนใหญ่แสดงผลกระทบจากการผสมสารเป็นการรวมฤทธิ์ ยกเว้นสารสกัดผสมที่อัตราส่วน 1:1 ในฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ อัตราส่วน 5:1 และ 1:5 ในฤทธิ์ต้านการอักเสบ อัตราส่วน 5:1 ในฤทธิ์ต้านเอนไซม์คอนลาจิเนส และอัตราส่วน 1:5 ในฤทธิ์ต้านเอนไซม์อิลาสเทส ซึ่งแสดงผลกระทบจากการผสมสารเป็นการเสริมฤทธิ์ เป็นที่น่าสนใจว่าสารสกัดผสมที่อัตราส่วน 1:5 แสดงฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระสูงและฤทธิ์ต้านการอักเสบที่ดีจากผลของสารสกัดมะขามป้อม ยิ่งไปกว่านั้นยังแสดงฤทธิ์ต้านเอนไซม์อิลาสเทสสูงและฤทธิ์การต้านเอนไซม์คอนลาจิเนสที่ดีจากผลของสารสกัดละมุด สารสกัดผสมที่อัตราส่วนนี้จึงอาจสามารถครอบคลุมคุณสมบัติทางเครื่องสำอาง และอาจถูกนำไปใช้เป็นสารออกฤทธิ์ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางในภายภาคหน้า | - |
dc.language.iso | en | - |
dc.publisher | Chulalongkorn University | - |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.1486 | - |
dc.rights | Chulalongkorn University | - |
dc.subject | Phyllanthus Emblica | - |
dc.subject | Manilkara zapota | - |
dc.subject | Plant extracts | - |
dc.subject | มะขามป้อม | - |
dc.subject | ละมุด | - |
dc.subject | สารสกัดจากพืช | - |
dc.subject.classification | Pharmacology | - |
dc.title | In vitro biological properties of phyllanthus emblica, manilkara zapota extracts and their combinations for cosmetic applications | - |
dc.title.alternative | สมบัติทางชีวภาพแบบนอกกายของสารสกัดมะขามป้อม ละมุด และมะขามป้อมผสมละมุด สำหรับการประยุกต์ใช้ทางเครื่องสำอาง | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | Master of Science | - |
dc.degree.level | Master's Degree | - |
dc.degree.discipline | Cosmetic Science | - |
dc.degree.grantor | Chulalongkorn University | - |
dc.email.advisor | Anyarporn.T@Chula.ac.th | - |
dc.email.advisor | Vipaporn.P@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2016.1486 | - |
Appears in Collections: | Pharm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5776253033.pdf | 2.91 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.