Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64700
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | มรกต เปี่ยมใจ | - |
dc.contributor.author | นพวรรณ อดุลยพิเชฏฐ์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2020-04-05T05:33:47Z | - |
dc.date.available | 2020-04-05T05:33:47Z | - |
dc.date.issued | 2559 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64700 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559 | - |
dc.description.abstract | ซีเมนต์กรด-เบส มักทำให้เกิดการรั่วซึมระดับจุลภาคระหว่างผิวฟันและวัสดุบูรณะ ในขณะที่ซีเมนต์เรซินชนิดโฟร์เมตาเอ็มเอ็มเอทีบีบีสามารถป้องกันการรั่วซึมระดับจุลภาคบริเวณรอยต่อระหว่างผิวฟันและวัสดุบูรณะ การรั่วซึมระดับจุลภาคส่งผลต่อความแนบสนิทและการยึดอยู่ของวัสดุบูรณะ ซึ่งอาจส่งผลต่ออัตราการอยู่รอดและภาวะแทรกซ้อนของงานทันตกรรมประดิษฐ์ชนิดติดแน่นได้ งานวิจัยนี้ จึงเป็นการศึกษาย้อนหลังเพื่อดูผลของชนิดซีเมนต์ต่ออัตราการอยู่รอดและภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ ฟันผุ ฟันตาย และการหลุด ภายหลังการยึดครอบฟันและสะพานฟัน 5 ถึง 15 ปี ในการศึกษานี้แบ่งประเภทซีเมนต์เป็นสองกลุ่มคือ ซีเมนต์กรด-เบส (ซิงก์ฟอสเฟต ซิงก์โพลีคาร์บอกซีเลต หรือ กลาสไอโอโนเมอร์) และซีเมนต์เรซิน (โฟร์เมตาเอ็มเอ็มเอทีบีบี) เรียกผู้ป่วย 259 คนที่ใส่ครอบฟันหรือสะพานฟันอย่างน้อยหนึ่งซี่ในช่องปาก รวมฟันหลักทั้งหมด 1,161 ซี่ ซึ่งได้รับการรักษาจากนิสิตบัณฑิตศึกษา ภาควิชาทันต-กรรมประดิษฐ์ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระหว่างปี พ.ศ. 2541 ถึง 2553 นำมาตรวจประเมินการอยู่รอด ซึ่งหมายถึงครอบฟันหรือสะพานฟันยังใช้งานได้ในช่องปาก ไม่ถูกถอนหรือทำครอบฟันหรือสะพานฟันใหม่ ตรวจและบันทึกภาวะแทรกซ้อน กรณีพบฟันผุ ฟันตาย หรือการหลุด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติแคปลาน-ไมเยอร์ ตามด้วยสถิติล็อก-แรงค์ เพื่อเปรียบเทียบอัตราการอยู่รอดและภาวะแทรกซ้อนระหว่างซีเมนต์ แล้วทำการวิเคราะห์พหุปัจจัยโดยใช้สมการถดถอยค็อกซ์ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการศึกษา พบอัตราการอยู่รอดของฟันหลักภายหลัง 5 ปี 10 ปีและที่เวลา 15 ปีเมื่อใช้ซีเมนต์กรด-เบสเท่ากับร้อยละ 93.2, 80.6 และ 67.4 ส่วนซีเมนต์เรซินชนิดโฟร์เมตาเอ็มเอ็มเอทีบีบีเท่ากับร้อยละ 95.2, 90.5 และ 90.5 ตามลำดับ ส่วนอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนฟันผุ ฟันตาย และการหลุด เมื่อใช้ซีเมนต์กรด-เบสเท่ากับร้อยละ 15.2, 7.1 และ 4.3 ส่วนซีเมนต์เรซินชนิดโฟร์เมตาเอ็มเอ็มเอทีบีบีเท่ากับร้อยละ 1.9, 4.3 และ 0.5 ตามลำดับ มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของอัตราการอยุ่รอด (p=.007) ฟันผุ (p=.000) และครอบฟันหลุด (p=.025) เมื่อใช้ซีเมนต์ต่างชนิดกัน จากการวิเคราะห์หาค่าอัตราส่วนความเสี่ยงอันตราย (hazard ratio: HR) พบปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความล้มเหลวของฟันหลัก ได้แก่ ฟันหลักของสะพานฟัน (HR=1.813, 95%CI=1.313-2.503) การใช้ซีเมนต์กรด-เบส (HR=1.664, 95%CI=1.104-2.513) และฟันที่ผ่านการรักษารากฟัน (HR=1.511, 95%CI=1.097-2.081) ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการทำชิ้นงานทันตกรรมประดิษฐ์ใหม่ ได้แก่ ฟันกรามน้อย (HR=1.815, 95%CI=1.006-3.275) ฟันหลักของสะพานฟัน (HR=2.747, 95%CI=1.678-4.497) วัสดุเซรามิกล้วน (HR=11.024, 95%CI=2.457-49.464) และการใช้ซีเมนต์กรด-เบส (HR=2.950, 95%CI=1.410-6.173) ปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อการถอนฟัน ได้แก่ เพศชาย (HR=1.931, 95%CI=1.215-3.067) ฟันที่ผ่านการรักษารากฟัน (HR=2.213, 95%CI=1.371-3.571) และฟันที่เป็นหลักยึดของฟันเทียมถอดได้ (HR=2.232, 95%CI=1.332-3.739) ส่วนปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์กับภาวะแทรกซ้อนฟันผุ ได้แก่ คนไข้ช่วงอายุ 50 ปีขึ้นไปในวันที่ยึดวัสดุบูรณะ (HR=1.883, 95%CI=1.220-2.906) ฟันหลักของสะพานฟัน (HR=1.701, 95%CI=1.104-2.621) ฟันคู่สบเป็นฟันเทียมถอดได้ (HR=1.875, 95%CI=1.212-2.902) และการใช้ซีเมนต์กรด-เบส (HR=3.333, 95%CI=1.610-6.900) ส่วนปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์ต่อภาวะแทรกซ้อนการหลุดของครอบฟันหรือสะพานฟัน ได้แก่ การใช้ซีเมนต์กรด-เบส (HR=4.444, 95%CI=1.056-18.868) และปัจจัยเสี่ยงที่มีความสัมพันธ์ต่อภาวะแทรกซ้อน ฟันตายต้องรักษารากฟัน ได้แก่ เพศหญิง (HR=2.521, 95%CI=1.158-5.490) สรุปผลการทดลอง ครอบฟันและสะพานฟันที่ยึดด้วยซีเมนต์เรซินชนิดโฟร์เมตาเอ็มเอ็มเอทีบีบี ให้การใช้งานที่ยาวนานกว่า และพบภาวะแทรกซ้อนน้อยกว่า โดยพบความล้มเหลว การทำชิ้นงานทันตกรรมประดิษฐ์ใหม่ ภาวะแทรกซ้อนฟันผุ และการหลุดของชิ้นงานทันตกรรมประดิษฐ์น้อยกว่าซีเมนต์กรด-เบส ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากซีเมนต์เรซินชนิดนี้สามารถสร้างรอยต่อที่ปราศจากการรั่วซึมระหว่างตัวฟันกับสิ่งประดิษฐ์ได้ | - |
dc.description.abstractalternative | Acid-base cements mostly create microleakage at tooth-restoration interface, while 4-META/MMA-TBB resin cement can provide microleakage-free interface. Microleakage has influence on marginal seal and retention of fixed dental prostheses which might affect their survival and complication rates. This retrospective study was conducted to explore the effect of luting cements on 5 to 15 years survival rates of single crowns and bridges and their complications such as caries associated with restorations, pulp necrosis and detachment. Two types of applied cement, acid-base cement (zinc phosphate, zinc polycarboxylate or glass-ionomer) and resin cement (4-META/MMA-TBB) were evaluated in this study. There were 259 patients treated with at least 1 single crown or bridges were recruited for examination, given a total of 1,161 abutment teeth were included in this study. All crowns and bridges were performed by post-graduate students of Prosthodontic Department, Faculty of Dentistry, Chulalongkorn University during the year 1998 and 2010. Survival condition was determined by the absence of extracted teeth or renewal prostheses, while evaluated complications were caries associated with crown, pulp necrosis or prosthesis detachment. Data was analyzed using Kaplan-Meier method followed by log-rank test to evaluate the difference of survival and complication rate between types of cement. Multivariable analysis were conduct by Cox's propotional hazard regression model at significant level of 0.05. It was found that 5-, 10- and 15-year survival rates of acid-base cement were 93.2%, 80.6% and 67.4%, while those of 4-META/MMA-TBB cement were 95.2%, 90.5% and 90.5% respectively. The complication rate of caries, pulp necrosis and detachment of acid-base cement were 15.2%, 7.1% and 4.3%, whereas those of 4-META/MMA-TBB cement were 1.9%, 4.3% and 0.5% respectively. There were significant differences in survival rate (p=.007), caries (p=.000) and detachment complications (p=.025) between cement types. Factors associated with failures were abutment of bridges (HR=1.813, 95%CI=1.313-2.503), acid-base cements (HR=1.664, 95%CI=1.104-2.513) and endodontically treated teeth (HR=1.511, 95%CI=1.097-2.081). Factors associated with restorative failure following by renewal prostheses were premolars (HR=1.815, 95%CI=1.006-3.275), abutment of bridges (HR=2.747, 95%CI=1.678-4.497), all-ceramic (HR=11.024, 95%CI=2.457-49.464) and acid-base cements (HR=2.950, 95%CI=1.410-6.173). Factors associated with extraction failure were males (HR=1.931, 95%CI=1.215-3.067), endodontically treated teeth (HR=2.213, 95%CI=1.371-3.571) and abutment of removable partial dentures (HR=2.232, 95%CI=1.332-3.739). Factors associated with careis complication were age upper than 50 years (HR=1.883, 95%CI=1.220-2.906), abutment of bridge (HR=1.701, 95%CI=1.104-2.621), denture as occluding pairs (HR=1.875, 95%CI=1.212-2.902) and acid-base cement (HR=3.333, 95%CI=1.610-6.900). Factors associated with detachment complication were acid-base cement (HR=4.444, 95%CI=1.056-18.868). Factors associated with pulp necrosis complication were females (HR=2.521, 95%CI=1.158-5.490). In conclusion, crowns and bridges fixed with 4-META/MMA-TBB cement have longer-term function and less caries and prosthesis detachment complications than those fixed with acid-base cements. This might be from the ability to create microleakage-free tooth-prosthesis interface of this resin cement. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.370 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject | ทันตกรรมประดิษฐ์ | - |
dc.subject | ซีเมนต์ทางทันตกรรม | - |
dc.subject | การยึดติดทางทันตกรรม | - |
dc.subject | Prosthodontics | - |
dc.subject | Dental cements | - |
dc.subject | Dental bonding | - |
dc.subject.classification | Dentistry | - |
dc.title | อัตราการอยู่รอดและภาวะแทรกซ้อนของงานทันตกรรมประดิษฐ์ชนิดติดแน่น ที่ยึดด้วยซีเมนต์กรด-เบส และ/หรือซีเมนต์เรซิน: การศึกษาย้อนหลัง 5 ถึง 15 ปี | - |
dc.title.alternative | Survival rates and complications of fixed dental prostheses cemented with acid-base and/or resin cements: a retrospective 5 to 15-year study. | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | ทันตกรรมประดิษฐ์ | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.email.advisor | Morakot.T@Chula.ac.th | - |
dc.identifier.DOI | 10.58837/CHULA.THE.2016.370 | - |
Appears in Collections: | Dent - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5675809832.pdf | 5.26 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.