Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64744
Title: โมเดลบทเรียนมัลติมีเดียที่ใช้กลยุทธ์การเสริมต่อการเรียนรู้ทางทัศนภาพเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงมิติสัมพันธ์
Other Titles: Multimedia model using visual scaffolding strategy to promote spatial thinking skills
Authors: นุจรีย์ โลหะการ
Advisors: พรสุข ตันตระรุ่งโรจน์
ปราวีณยา สุวรรณณัฐโชติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Pornsook.T@Chula.ac.th
Praweenya.S@Chula.ac.th
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโมเดลบทเรียนมัลติมีเดียที่ใช้กลยุทธ์การเสริมต่อการเรียนรู้ทางทัศนภาพเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงมิติสัมพันธ์ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ อาจารย์ผู้สอน ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ ในสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาของไทย จำนวน 10 คน และนักศึกษา สาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ แบบประเมินรับรองร่างโมเดล แบบประเมินความเหมาะสมของเนื้อหาที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม แบบประเมินความเหมาะสมของสื่อบทเรียนมัลติมีเดีย และแบบประเมินรับรองโมเดล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบทดสอบวัดความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ก่อนและหลังเรียนบทเรียนมัลติมีเดีย และแบบประเมินความพึงพอใจในการใช้บทเรียนมัลติมีเดีย วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วยค่า t-test dependent ผลการวิจัยพบว่า 1. องค์ประกอบของโมเดลบทเรียนมัลติมีเดียที่ใช้กลยุทธ์การเสริมต่อการเรียนรู้ทางทัศนภาพเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงมิติสัมพันธ์ ได้แก่ 1) ผู้เรียน 2) เนื้อหา 3) ขั้นตอน 3P 4) กลยุทธ์การเสริมต่อการเรียนรู้ทางทัศนภาพ ได้แก่ เส้นกริด สี เส้นโปรเจคชั่น และภาพเคลื่อนไหวโต้ตอบสามมิติ และ 5) คอร์สแวร์ 2. ขั้นตอนของโมเดลบทเรียนมัลติมีเดียที่ใช้กลยุทธ์การเสริมต่อการเรียนรู้ทางทัศนภาพ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงมิติสัมพันธ์ ประกอบด้วย 3 ขั้นตอน คือ 1) ดู 2) ฝึก และ 3) สรุปพยากรณ์ 3. ผลการทดลองใช้โมเดลบทเรียนมัลติมีเดียที่ใช้กลยุทธ์การเสริมต่อการเรียนรู้ทางทัศนภาพเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงมิติสัมพันธ์ พบว่า 1) ความสามารถด้านมิติสัมพันธ์ของผู้เรียนในระดับอุดมศึกษา สาขาวิชาออกแบบ ที่ได้เรียนรู้จากบทเรียนมัลติมีเดียที่ใช้กลยุทธ์เสริมต่อการเรียนรู้ทางทัศนภาพเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดเชิงมิติสัมพันธ์ สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผู้เรียนมีความพึงพอใจในระดับมาก และ 3) การเสริมต่อการเรียนรู้ทางทัศนภาพที่ใช้มากที่สุดและมีประสิทธิภาพคือ สี
Other Abstract: The purpose of this research was to develop a multimedia model using visual scaffolding strategy to promote spatial thinking skills. The sample consisted of 10 instructors in the field of design in Thai higher educational institutions and 25 students from the department of architecture. The research instruments consisted of an expert interview form, assessment form for certifying drafts of model, assessment form for media, multimedia and assessment form for certifying model. The data gathering instruments consisted of spatial ability test before and after study with multimedia and satisfaction assessment form for using the multimedia. Analyze the data by using mean, standard deviation and tested the hypothesis with t-test dependent. 1.The multimedia model using visual scaffolding strategy to promote spatial thinking skills consisted of five components: 1) Learners, 2) Content, 3) 3P Procedure, 4) Visual scaffolding strategies, e.g. grid lines, projection lines, colors, and dynamic interactive 3D object,  and 5) Courseware. 2. The process of the multimedia model using visual scaffolding strategy to promote spatial thinking skills consisted of three steps: 1) Preview, 2) Practice, and 3) Predicate. 3. The result from using the multimedia model using visual scaffolding strategy to promote spatial thinking skills indicated that 1) the mean post-test score of spatial thinking skills was higher than pre-test mean score at 0.5 level of significance, 2) the learners were satisfied at a high level, and 3) color was the most frequency used feature, which enhancing visual scaffoding.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64744
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.602
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2019.602
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5684488427.pdf15.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.