Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64754
Title: การพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันแบบช่วยเสริมศักยภาพการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดการเรียนรู้ตามสถานการณ์เป็นฐานเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะการจัดการทางการเงินสำหรับเยาวชน
Other Titles: Development of a mobile scaffolding application in scenario-based learning to promote youth financial management competency
Authors: อลิษา เมืองผุด
Advisors: จินตวีร์ คล้ายสังข์
ประกอบ กรณีกิจ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Jintavee.M@Chula.ac.th
Prakob.K@Chula.ac.th
Issue Date: 2562
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาความต้องการจำเป็นและองค์ประกอบเชิงยืนยันของการพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันฯ 2) เพื่อพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันฯ 3) เพื่อศึกษาผลของการใช้โมบายแอปพลิเคชันฯ และ 4) เพื่อนำเสนอโมบายแอปพลิเคชันฯ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการพัฒนาโมบายฯ คือผู้ทรงคุณวุฒิ 18 ท่าน ครู 10 คน และนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 980 คน ในสังกัดโรงเรียนรัฐบาลและโรงเรียนเอกชนทั่วพื้นที่ 5 ภูมิภาคของประเทศไทย เครื่องมือที่ใช้ในวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และแบบประเมินคุณภาพระบบ กลุ่มทดลองใช้โมบายแอปพลิเคชันฯ ได้แก่ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบประเมินรับรองระบบฯ โมบายแอปพลิเคชันฯ แบบวัดสมรรถนะการจัดการทางการเงิน แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ และแบบประเมินความพึงพอใจที่มีต่อระบบฯ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความต้องการจำเป็น การจัดลำดับความต้องการจำเป็น และวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันด้วยโปรแกรมลิสเรล และการทดสอบค่าที (T-Test) ผลการวิจัยพบว่า ระบบโมบายแอปพลิเคชันฯ ที่พัฒนาขึ้นมี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) เนื้อหาการเรียนรู้ด้วยสถานการณ์ 2) กลยุทธ์เสริมการเรียนรู้ผ่านโมบาย 3) การติดต่อสื่อสารสังคมเครือข่ายการเรียนรู้ 4) กิจกรรมและสื่อการเรียนการสอน และ 5) แหล่งข้อมูลการเรียนรู้ โดยมี 6 ขั้นตอนได้แก่ 1) เกริ่นนำและให้ความรู้ 2) ศึกษาสถานการณ์เรียนรู้ตามสภาพจริง 3) ศึกษาปัญหาและแก้ไขปัญหา 4) เสริมความรู้โดยผู้เชี่ยวชาญผ่านโมบายโดยการเสริมศักยภาพแบบยืดหยุ่น (Soft Scaffolding) และแบบคงที่ (Hard Scaffolding)  5) แบ่งปันในสังคมเครือข่ายการเรียนรู้ 6) อภิปรายและสรุปผลบนสื่อสังคม และ 7) การวัดและประเมินผล ผลการทดลองใช้โมบายแอปพลิเคชันฯ พบว่า คะแนนเฉลี่ยสมรรถนะการจัดการทางการเงินหลังเรียนของกลุ่มตัวอย่างสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยสมรรถนะการจัดการทางการเงินก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 และหลังจากการวิเคราะห์ระดับความถี่ในการช่วยเสริมศักยภาพโดยผู้เชี่ยวชาญเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการทางการเงิน พบว่า ผู้ที่มีจำนวนความถี่ในการช่วยเสริมศักยภาพการเรียนรู้น้อยก็จะส่งผลให้มีคะแนนสมรรถนะการจัดการทางการเงินน้อยไปด้วย แต่ในทางกลับกันผู้เรียนที่มีจำนวนความถี่ในการช่วยเสริมศักยภาพการเรียนรู้มากส่งผลให้มีคะแนนสมรรถนะการจัดการทางการเงินมากไปด้วย
Other Abstract: The purposes of this research are 1) to study the need assessment and confirmatory factors of the mobile application development. 2) to develop the  mobile application 3) to study the use of mobile application and 4) to present the mobile application. The sample for developing the application were from 18 experts, 10 teachers and 980 junior high school students from public and private schools in Thailand. The research instruments were interviews, questionnaires and an application quality assessment. The experimental sample group were 30 junior high school students. The instruments for the experiment were mobile application system assessment form, financial management competency scale, learning behavior observation form, satisfaction assessment form with the system. The data were analyzed using content analysis, percentage, mean, standard deviation, need assessments, confirmatory factor analysis by using LISR program and T-test. The research found that the mobile application system developnent is comprised of 5 components 1) scenario-based learning content 2) promoting mobile learning strategies 3) social communication and learning communities, 4) activities and instructional media, and 5) learning resources. There are 6 processes; 1) introduction and providing knowledge 2) learning activities using scenario-based learning 3) studying the problems and solving the problems. 4) Scaffolding by experts via mobile by soft scaffolding and hard scaffolding 5) sharing in social learning networks 6) discussion and conclusion on social media and 7) assessment and evaluation. The experimental results of the mobile application system found that the average score of the financial management competency after the study of the sample was higher than the average of the financial management competency before studying with the statistical significance at a level of .05. Moreover, after analyzing the level of empowerment by experts to enhance financial management capabilities and learners who have a high number of frequency enhancing learning potential, resulting in a high financial management competency score. On the other hand, those with a low number of frequencies to enhance their learning potential will result in lower financial management performance scores.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64754
URI: http://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.614
metadata.dc.identifier.DOI: 10.58837/CHULA.THE.2019.614
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5884479027.pdf8.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.