Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6483
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศิริพันธุ์ สาสัตย์-
dc.contributor.authorเตือนใจ ภักดีพรหม-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์-
dc.date.accessioned2008-04-02T09:24:23Z-
dc.date.available2008-04-02T09:24:23Z-
dc.date.issued2548-
dc.identifier.isbn9741424345-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6483-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง เพื่อศึกษาปัจจัย คัดสรรของผู้ดูแล ได้แก่ ระยะเวลาในการดูแล ความรู้เกี่ยวกับการดูแล สัมพันธภาพระหว่างผู้ดูแลและ ผู้สูงอายุ การสนับสนุนทางสังคม และปัจจัยของผู้สูงอายุ ได้แก่ สมรรถภาพสมอง ระดับความสามารถใน การปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ปัญหาด้านพฤติกรรมและจิตใจ กับความสามารถของผู้ดูแลในการดูแลผู้สูงอายุ ที่มีภาวะสมองเสื่อม กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ดูแลในครอบครัวของผู้สูงอายุ และผู้สูงอายุที่ได้รับการวินิจฉัยจาก แพทย์ว่ามีภาวะสมองเสื่อม จำนวน 130 คู่ ที่มารับบริการที่คลินิกความทรงจำหรือคลินิกประสาทจิตเวช โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี และโรงพยาบาลสวนสราญรมย์ ซึ่งได้มาจากการสุ่ม อย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบประเมิน ประกอบด้วย แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบประเมินความรู้เกี่ยวกับการดูแล แบบประเมินสัมพันธภาพระหว่างผู้ดูแลและผู้สูงอายุ แบบประเมิน การสนับสนุนทางสังคมของผู้ดูแล แบบประเมินระดับความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของ ผู้สูงอายุ แบบทดสอบสมรรถภาพสมองเบื้องต้น แบบประเมินปัญหาพฤติกรรมและจิตใจของผู้สูงอายุที่มี สภาวะสมองเสื่อม และแบบประเมินความสามารถของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม ที่ผ่านการ ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และมีความเที่ยงจากการคำนวณค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา ของครอนบาคเท่ากับ .81, .81, .84, .84 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ยร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson's Product moment correlation coefficient) ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1. ความสามารถของผู้ดูแลในการดูแลผู้สงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม อยู่ในระดับสูง (X = 4.30) 2. ระยะเวลาในการดูแล ความรู้เกี่ยวการดูแล สัมพันธภาพระหว่างผู้ดูแลกับ ผู้สูงอายุ และการสนับสนุนทางสังคมของผู้ดูแล มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความสามารถของผู้ดูแล ในการดูแลผู้สูงอายุทีมีภาวะสมองเสื่อมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (r = .236, .184., 528, .176 ตามลำดับ) 3. ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุ ที่มีภาวะความเสื่อมมีความสัมพันธ์ ทาง ลบกับความสามารถของผู้ดูแลในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05 (r = -.316) 4. สมรรถภาพสมองและปัญหาด้านพฤติกรรมและจิตใจของผู้สูงอายุที่มีภาวะสมอง เสื่อมไม่มีความสัมพันธ์กับความสามรถของผู้ดูแลในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมen
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this descriptive research were to study caregivers' capabilities in caring for older persons with dementia and relationships between caregiver's factors were duration of care, knowledge in caring, acegiver and elderly relationships, social support, and elderly's factors were cognitive status, abilities to perform activity of daily living, behavioral and psychological symptoms of dementia, and caregivers' capabilities in caring for older persons with dementia. Participants were 130 family caregivers and 130 older persons with dementia at memory and neuropsychiatric clinics at Ramathibodi Hospital, Suansaranrom Hospital and Suratthani Hospital, and were selected by multi-stage random sampling technique. Research instruments were demographic questions, knowledge in caring, caregiver and elderly relationships, social support, Mini-Mental State Examination-Thai version, Barthel ADL Index, Behavioral parthology in Alzheimer's disease rating scale, and caregivers' capabilities in caring for older persons with dementia questionnaires which were tested for content validities and reliabilities. The reliabilities were .81, .81, .84, .84, respectively. Data were analyzed by using SPSS FOR Windows, including frequency, mean, standard deviation, and Pearson's correlation. Major findings were as follows: 1. Caregivers' capabilities in caring for older persons with dementia was at high level (Mean = 4.30). 2. Duration of care, knowledge in caring, caregiver and elderly relationships, and social support were significantly correlated with caregivers' capabilities in caring for older persons with dementia at level of .05 (r = .236, .184,. 528, .176 respectively). 3. Older person's ability to perform activity of daily living was significantly negative correlated with caregiver's capability in caring for older persons with dementia at level of .05 (r = -.316). 4. Cognitive status and Behavioral and Psychological Symptoms of Dementia were not correlated with caregiver's capability in caring for older persons with dementia.en
dc.format.extent1694533 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectผู้สูงอายุ -- การดูแลen
dc.subjectโรคสมองเสื่อมen
dc.titleปัจจัยคัดสรรที่มีความสัมพันธ์กับความสามารถของผู้ดูแลในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมen
dc.title.alternativeSelected factors related to caregivers'capbilities in caring for older persons with dementiaen
dc.typeThesises
dc.degree.nameพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineพยาบาลศาสตร์es
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisors_sasat@hotmail.com-
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tuanjai.pdf1.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.