Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64872
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุพีชา วิทยเลิศปัญญา-
dc.contributor.advisorปาจรีย์ จริยวิลาศกุล-
dc.contributor.advisorขจร ตีรณธนากุล-
dc.contributor.authorมณีรัตน์ ลิ้มจริยากุล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2020-04-05T07:41:05Z-
dc.date.available2020-04-05T07:41:05Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64872-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2559-
dc.description.abstractโคลิสตินเป็นยาปฏิชีวนะที่ถูกนำกลับมาใช้ใหม่เนื่องจากการติดเชื้อในโรงพยาบาลและเชื้อดื้อยาปฏิชีวนะเพิ่มสูงขึ้น การศึกษาที่ผ่านมามักประเมินการเกิดพิษต่อไตจากยานี้ด้วยการเปลี่ยนแปลงของระดับซีรัมครีอาตินีนและการเกิดภาวะไตวายเฉียบพลันซึ่งอาจช้าเกินไป  มีรายงานว่าการเกิดพิษต่อไตตั้งแต่สัปดาห์แรกของการได้รับโคลิสตินมีเทนซัลโฟเนตมีความสัมพันธ์กับอัตราการเสียชีวิต และถ้าสามารถตรวจภาวะไตผิดปกติได้เร็วจะลดอัตราการเสียชีวิตจากยาได้ มีการศึกษาที่แสดงถึงความสามารถของระดับความเข้มข้นต่ำสุดของโคลิสตินในพลาสมาที่สภาวะคงที่ในการเป็นตัวทำนายการเกิดพิษต่อไตของโคลิสติน การศึกษานี้ได้ดัดแปลงวิธีตรวจวัดโคลิสตินในพลาสมาเพื่อให้สามารถนำมาใช้ในการตรวจติดตามระดับยาในผู้ป่วยที่ได้รับโคลิสตินมีเทนซัลโฟเนต  และศึกษาค่าระดับความเข้มข้นต่ำสุดของโคลิสตินในพลาสมาที่สภาวะคงที่ในผู้ป่วยที่ได้รับโคลิสตินมีเทนซัลโฟเนตทางหลอดเลือดดำในการทำนายภาวะท่อไตบาดเจ็บเฉียบพลันที่ประเมินด้วยตัวบ่งชี้การบาดเจ็บของไตระยะเริ่มต้นคือพลาสมาเอ็นกาล และภาวะไตวายเฉียบพลันด้วยตัวบ่งชี้ที่ใช้อยู่ในปัจจุบันคือซีรัมครีอาตินีน  และรวบรวมข้อมูลทางคลินิกของผู้ป่วยเพื่อพิจารณาปัจจัยร่วมของการเกิดพิษต่อไตของโคลิสติน ผลการศึกษาพบว่า การตรวจวิเคราะห์โคลิสตินในพลาสมาด้วยเทคนิคเอชพีแอลซีในการศึกษาครั้งนี้ มีขั้นตอนในการเตรียมตัวอย่างก่อนการวิเคราะห์ที่ไม่ยุ่งยาก มีความไวในการตรวจวัดเท่ากับ 0.414 มก./ล. ซึ่งเพียงพอต่อการตรวจค่าระดับความเข้มข้นต่ำสุดของโคลิสตินในพลาสมาที่สภาวะคงที่ในผู้ป่วย จำนวนผู้ป่วยที่เข้าร่วมในการศึกษาครั้งนี้ทั้งสิ้น 31 ราย ในวันที่ 4 หลังได้รับยา ถ้าประเมินภาวะไตวายเฉียบพลันด้วยซีรัมครีอาตินีน พบผู้ป่วยจำนวน 8 ราย (ร้อยละ 25.8) เกิดภาวะนี้ และมีระดับความเข้มข้นต่ำสุดของโคลิสตินในพลาสมาที่สภาวะคงที่สูงกว่ากลุ่มผู้ป่วยที่ไม่เกิดภาวะไตวายเฉียบพลันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ [4.49 (2.76 – 6.55)  และ 1.77 (0.96 – 4.63 มก./ล., P=.006] พิจารณา ROC curve ของการทำนายการเกิดภาวะไตวายเฉียบพลัน พื้นที่ใต้โค้งเท่ากับ 0.766 ระดับความเข้มข้นต่ำสุดของโคลิสตินในพลาสมาที่สภาวะคงที่เท่ากับ 2.57 มก./ล. สามารถทำนายการเกิดภาวะไตวายเฉียบพลันได้ที่ความไวและความจำเพาะเท่ากับ ร้อยละ 87.5 และ 61.0 ตามลำดับ  และถ้าประเมินการเกิดภาวะท่อไตบาดเจ็บเฉียบพลันด้วยพลาสมาเอ็นกาล พบผู้ป่วยจำนวน 9 ราย (ร้อยละ 29) เกิดภาวะนี้ และมีระดับความเข้มข้นต่ำสุดของโคลิสตินในพลาสมาที่สภาวะคงที่สูงกว่ากลุ่มผู้ป่วยที่ไม่เกิดภาวะท่อไตบาดเจ็บเฉียบพลันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ [5.67 (2.57 – 7.02) และ 1.85 (0.96 – 4.05) มก./ล., P=.008] พิจารณา ROC curve ของการทำนายการเกิดภาวะท่อไตบาดเจ็บ พื้นที่ใต้โค้งเท่ากับ 0.813 ระดับความเข้มข้นต่ำสุดของโคลิสตินในพลาสมาที่สภาวะคงที่เท่ากับ 2.51 มก./ล. สามารถทำนายการเกิดภาวะท่อไตบาดเจ็บเฉียบพลันได้ที่ความไวและความจำเพาะเท่ากับ ร้อยละ 89.0 และ 59.1 ตามลำดับ วิธีวิเคราะห์โคลิสตินในพลาสมาของการศึกษาครั้งนี้มีความไว, ความจำเพาะ, ความถูกต้องและแม่นยำ เหมาะสมต่อการตรวจติดตามระดับยาโคลิสตินในพลาสมา จุดตัดของระดับความเข้มข้นต่ำสุดของโคลิสตินในพลาสมาที่สภาวะคงที่ในการทำนายการเกิดภาวะท่อไตบาดเจ็บมีประสิทธิภาพและความไวสูงกว่าจุดตัดของระดับความเข้มข้นต่ำสุดของโคลิสตินในพลาสมาที่สภาวะคงที่ที่ประเมินจากภาวะไตวายเฉียบพลัน ซึ่งเป็นการบอกภาวะไตวายระยะเริ่มต้น โดยอาจพิจารณาใช้ระดับความเข้มข้นต่ำสุดของโคลิสตินในพลาสมาที่สภาวะคงที่ 2.51 มก./ล. เพื่อเป็นตัวบ่งชี้ในการติดตามการทำงานของไตอย่างใกล้ชิดและตัดสินใจเริ่มต้นให้การรักษาภาวะไตวายเฉียบพลันตั้งแต่ระยะเริ่มต้นได้-
dc.description.abstractalternativeColistin is re-introduced in clinical practice due to the higher prevalence of nosocomial infections and multidrug resistance. Previous studies on nephrotoxicity in patients receiving colistin methanesulfonate (CMS) were typically evaluated by serum creatinine changes and acute kidney injury which can be delayed. Since the higher mortality rate in patients with early development of acute kidney injury was previously reported, early detection of renal insufficiency might improve patient survival. Recently, the ability of plasma colistin minimum concentration at steady state to predict acute kidney injury in patients receiving intravenous CMS were provided. In this study, a simple HPLC method, modified from previous studies, was validated for the purpose of therapeutic drug monitoring of colistin. The prospective observational study was conducted to determine the ability of plasma colistin minimum concentration at steady state on predicting acute tubular injury and acute kidney injury defined by the changes of plasma NGAL and serum creatinine in patient receiving intravenous CMS. Patient clinical data were recorded for assessing risk of colistin-related nephrotoxicity. The sensitivity of this simple HPLC method was 0.414 mg/L which is enough for covering the expected range of plasma colistin minimum concentration at steady state. Thirty-one patients were included in this study. Acute kidney injury defined by serum creatinine was observed in eight (25.8%) patients with the significant higher plasma colistin minimum concentration at steady state than those without acute kidney injury [4.49 (2.76 – 6.55) and 1.77 (0.96 – 4.63 mg/L, P=.006]. The area under the ROC curve for the prediction of acute kidney injury was 0.766.  At the cut-off point of 2.57 mg/L, the plasma colistin minimum concentration at steady state provided sensitivity and specificity of 87.5 and 61.0, respectively. Acute tubular injury defined by plasma NGAL was observed in nine (29%) patients with the significant higher plasma colistin minimum concentration at steady state than those without acute tubular injury [5.67 (2.57 – 7.02) and 1.85 (0.96 – 4.05) mg/L, P=.008]. The area under the ROC curve for the prediction of acute tubular injury was 0.813.  At the cut-off point of 2.51 mg/L, the plasma colistin minimum concentration at steady state provided sensitivity and specificity of 89.0 and 59.1, respectively. The proposed method showed good sensitivity, selectivity, precision and accuracy for therapeutic drug monitoring study. The predictive cut-off point for acute tubular injury, indicating early acute kidney injury, provided higher efficacy and sensitivity than the other one for acute kidney injury. The plasma colistin minimum concentration at steady state at the cut-off point of 2.51 mg/L can be used for early initiation of the treatment for early acute kidney injury in patient receiving intravenous CMS.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2016.97-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.classificationPharmacology-
dc.titleระดับความเข้มข้นที่จุดต่ำสุดของโคลิสตินในพลาสมาเป็นตัวทำนายการเกิดพิษต่อไตระยะเริ่มต้นในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาโคลิสตินมีเธนซัลโฟเนททางหลอดเลือดดำ-
dc.title.alternativePlasma colistin trough level as a predictorfor early colistin nephrotoxicity in patients receiving intravenous colistin methanesulfonate-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineเภสัชวิทยา-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorSupeecha.W@Chula.ac.th-
dc.email.advisorPajaree.L@Chula.ac.th-
dc.email.advisorKhajohn.T@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2016.97-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5787285020.pdf5 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.