Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64899
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอรุณี หงษ์ศิริวัฒน์-
dc.contributor.advisorพักตร์ผจง วัฒนสินธุ์-
dc.contributor.advisorสุกรี สินธุภิญโญ-
dc.contributor.authorเมธินี เทียบรัตน์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2020-04-05T07:41:21Z-
dc.date.available2020-04-05T07:41:21Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64899-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562-
dc.description.abstractการศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาองค์ประกอบของสมรรถนะทางนวัตกรรมของวิศวกรในบริบทธุรกิจภาคอุตสาหกรรมไทยที่มีการดำเนินงานด้านนวัตกรรม เพื่อพัฒนาเครื่องมือวัดสมรรถนะทางนวัตกรรม เพื่อใช้ในการคัดเลือก การพัฒนา และการให้คำปรึกษาบุคลากรในบทาทด้านนวัตกรรมในเชิงพาณิชย์ การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธีโดยการศึกษาเชิงคุณภาพจากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ทรงคุณวุฒิในองค์กรที่ทำงานเกี่ยวข้องด้านนวัตกรรม และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ส่วนการศึกษาเชิงปริมาณรวบรวมข้อมูลจากบัณฑิตวิศวกรรมที่ทำงานในธุรกิจอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดใหญ่ จำนวนทั้งสิ้น 305 ตัวอย่าง โดยใช้แบบสอบถามทางอิเลคทรอนิคส์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติที่แสดงความสัมพันธ์ของตัวแปรคุณลักษณะที่สำคัญของวิศวกรในประเทศไทยตามที่คณะอนุกรรมการรับรองมาตรฐานคุณภาพศึกษาวิศวกรรมศาสตร์หรือที่เรียกว่า ทาบี กับรูปแบบการทำงานด้านนวัตกรรมจากแหล่งข้อมูลทุติยภูมิของกรมแรงงาน การจ้างงานและการฝึกอบรมของสหรัฐอเมริกา โดยวิเคราะห์ประกอบกับข้อมูลปฐมภูมิจากการสัมภาษณ์และการให้ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาและการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ในส่วนของการพัฒนานวัตกรรมเครื่องมือวัดสมรรถนะทางนวัตกรรมของบัณฑิตวิศวกรรม ใช้การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจและการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ได้แบบประเมินจำนวน 24 ข้อหลัก นำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาได้นำไปพัฒนาแบบจำลองนวัตกรรมการวัดสมรรถนะทางนวัตกรรมของบัณฑิตวิศวกรรม โดยการวิเคราะห์หลายตัวแปรโดยใช้แบบจำลองสมการโครงสร้าง การวิเคราะห์สมการโครงสร้างหลายระดับ และการวิเคราะห์หลายกลุ่ม ผลการศึกษาพบว่าตัวบ่งชี้สมรรถนะด้านนวัตกรรมแบบจำลองนี้สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์  การจัดกลุ่มตัวแปรมีตัวบ่งชี้ 17 ปัจจัย ของผู้สำเร็จการศึกษาด้านวิศวกรรมทำงานเกี่ยวข้องด้านนวัตกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่สมรรถนะทั่วไปตามบทบาทวิศวกรรม ประกอบด้วย 11 ตัวบ่งชี้ ตามคุณลักษณะที่สำคัญของวิศวกรในประเทศไทยตามที่คณะอนุกรรมการรับรองมาตรฐานคุณภาพศึกษาวิศวกรรมศาสตร์ และสมรรถนะเฉพาะด้านบทบาทนวัตกรรมตามโมเดล เอ ถึง เอฟ สมรรถนะทางนวัตกรรมของบัณฑิตวิศวกรรมแตกต่างกันตามปัจจัยทางสมรรถนะที่ใช้วัดองค์ประกอบของสมรรถนะทางนวัตกรรมของวิศวกรในบริบทธุรกิจภาคอุตสาหกรรมไทยที่มีการดำเนินงานด้านนวัตกรรม จากผลการศึกษาผู้วิจัยได้พัฒนาเครื่องมือในการวัดสมรรถนะของวิศวกรประกอบด้วยสมรรถนะทั่วไปวัดบทบาททำงานเกี่ยวข้องด้านวิศวกรรม สมรรถนะเฉพาะใช้วัดรูปแบบการทำงานเกี่ยวข้องด้านนวัตกรรม ทำให้ทราบปัจจัยตัวชี้วัดซึ่งนำไปสู่การพัฒนาเครื่องมือวัดผลเชิงนวัตกรรมในการคัดเลือกองค์ประกอบคุณลักษณะทางนวัตกรรมและจับคู่สมรรถนะทางนวัตกรรมของบุคคลกับความต้องการของตลาดแรงงานด้านนวัตกรรม และสร้างข้อมูลภาพรวมที่เป็นโมเดลทางธุรกิจช่องทางการติดต่อและรายงานแสดงรายการที่เป็นรูปแบบธุรกิจด้านการฝึกอบรมพัฒนาและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับสมรรถนะทางนวัตกรรมของบัณฑิตวิศวกรรมที่เหมาะในแต่ละบทบาทของกระบวนการนวัตกรรมในธุรกิจภาคอุตสาหกรรม ความเป็นไปได้ในเชิงพาณิชย์ ใช้เงินลงทุน 100,000 บาท รายได้ที่คาดว่าจะได้รับในปีแรก 1,200,000 บาท ประมาณการลูกค้า 10 บริษัท โดยอัตราการเติบโตปกติร้อยละ10 เป็นเวลา 5 ปี ระยะเวลาคืนทุน 1 ปี มูลค่าปัจจุบันสุทธิ 2,521,416 บาท สรุปว่ามีความเป็นไปได้เชิงพาณิชย์ทั้งทางด้านการตลาด การบริหาร และการเงิน-
dc.description.abstractalternativeThe study aimed at exploring the factors of the innovation competency of engineering graduates in the context of Thai industrial business that has innovative operations, developing the innovative competency measurement tools for engineering graduate in innovation. The study also aimed to explore the human resource management of data analytics that use for the personnel selection, development and coaching in innovation roles of human resources. The mixed methods research was used for collecting, analyzing and integrating the data, which can be classified into two parts. The qualitative research part consisted of interviewing the professional managers or director of innovative companies. The content analysis was used to analyze the data. In the quantitative research, the data were gathered from 305 samples of engineering graduates in Thailand whose work related in innovation. Innovation competency factors are developed by utilizing Factor Analysis and Confirmatory Factor Analysis. The evaluation consisted of 24 key items. Data analysis involves the quantitative research with the multivariate analysis on the structural equation models. The confirmatory factor analysis, the multilevel structural equation model and Multiple Group Analysis was utilized, and the innovative competency assessment model was developed. The research results found that the model of the competency factor indicators for Thai engineering graduates in innovation fit the empirical data. The opinion survey of system implementing revealed that the users were satisfied with the quality test. The factor of Thai engineering graduates in innovation has 17 indicators of engineering graduates working related to innovations with statistical significance. This consisted of two factors; general competency in engineering has 11 indicators (TABEE), and specific competency of innovation roles accordingly to models A to F. The innovation competency of engineering graduates differs according to the competency factors used to measure the components of the innovation competency of engineers in the context of Thai industrial businesses operating in innovation. From the study, the researcher has developed tools to measure the competency of engineers, consisting of general competency, measuring the role of engineering related work, and specific competencies, measuring relevant work styles in innovation. The indicators leads to the development of innovative measurement tools in selecting the components of the innovation characteristics and matching the innovation performance of the individual with the needs of the innovation labor market. And create an overview of business models, contact channels, and reports showing business models for training development and coaching on the innovative competency of engineering graduates that are suitable for each role of the innovation process in industrial business. The investment of this project is 100,000 baht. The estimated revenue is 1,200,000 baht from 10 customers with the growth rate 10% over 5 years, payback period 1year, Net Present Value 2,521,416 baht. In conclusion, this project is marketing, operational, and financial feasible.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.820-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.classificationMultidisciplinary-
dc.titleนวัตกรรมเครื่องมือวัดสมรรถนะทางนวัตกรรมของบัณฑิตวิศวกรรม-
dc.title.alternativeInnovation competency assessment of engineering graduates in innovation-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาเอก-
dc.degree.disciplineธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorArunee.Ho@Chula.ac.th-
dc.email.advisorPakpachong.V@Chula.ac.th-
dc.email.advisorSukree.S@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2019.820-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5987790720.pdf9.89 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.