Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64944
Title: | อนุพันธ์ชิฟเบสอินดิโกเพื่อใช้เป็นสารทำเครื่องหมายสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิง |
Other Titles: | Schiff base indigo derivatives as petroleum marker |
Authors: | สุชีรา โหมดศิริ |
Advisors: | พัชณิตา ธรรมยงค์กิจ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Advisor's Email: | Patchanita.V@Chula.ac.th |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้แสดงการสังเคราะห์อนุพันธ์ของอินดิโก 2 ชนิด คือ (2E,3E,3′E)-N3,N3′-bis(4-(ออกทิลออกซี)ฟีนิล)-[2,2′-ไบอินโดลินิลลิดีน]-3,3′-ไดอิมมีน และ (2E,3′E)-3′-((4-(ออกทิลออกซี)ฟี-นิล)อิมิโน)-[2,2′-ไบอินโดลินิลลิดีน]-3-โอน จากปฏิกิริยาควบแน่นระหว่างอินดิโก และ 4-ออกทิลออกซิแอนิลีน โดยใช้โบรโมเบนซีนเป็นตัวทำละลาย ภายใต้ภาวะที่มีไทเทเนียม(IV)เตตระคลอไรด์และ 1,4-ไดเอซาไบไซโคล(2.2.2)ออกเทน โดยสารที่สังเคราะห์ได้สามารถพิสูจน์เอกลักษณ์ได้ด้วยเทคนิคโปรตอนและคาร์บอน-13 นิวเคลียร์แมกเนติกเรโซแนนซ์สเปกโทรสโกปี แมสสเปกโตรเมทรี และอัลตราไวโอเลต-วิสิเบิลสเปกโทรสโกปี สารประกอบที่สังเคราะห์ได้สามารถละลายได้ในน้ำมันดีเซล น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 และในตัวทำละลายอินทรีย์ เช่น ไดคลอโรมีเทน เฮกเซน และเมทานอล ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า (2E,3′E)-3′-((4-(ออกทิลออกซี)ฟีนิล)อิมิโน)-[2,2′-ไบอินโดลินิลลิดีน]-3-โอน สามารถนำมาประยุกต์ใช้เป็นสารทำเครื่องหมายในน้ำมันดีเซลได้ ที่ความเข้มข้น 5 ppm และจากทดสอบสมบัติทางกายภาพของน้ำมันดีเซลตามมาตรฐาน American Society for Testing and Materials (ASTM) พบว่าการเติมสารประกอบชนิดนี้ลงในน้ำมันดีเซล ไม่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสมบัติทางกายภาพของน้ำมันดีเซล และยังมีเสถียรภาพในน้ำมันดีเซลเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 3 เดือน |
Other Abstract: | This work describes synthesis of two indigo derivatives, i.e. (2E,3E,3′E)-N3,N3′-bis(4-(octyloxy)phenyl)-[2,2′-biindolinylidene]-3,3′-diimmine and (2E,3′E)-3′-((4-(octyloxy)phenyl)imino)-[2,2′-biindolinylidene]-3-one, from condensation between indigo and 4-(octyloxy)aniline in bromobenzene containing titanium(IV)tetrachloride and 1,4-diazabicyclo[2.2.2]octane. These target dyes were fully characterized by proton and carbon-13 nuclear magnetic resonance spectroscopy, mass spectrometry and UV-vis spectroscopy. The target dyes were found to be soluble in diesel, gasoline 91 fuel and common organic solvents, such as dichloromethane, hexane and methanol. This result showed (2E,3′E)-3′-((4-( octyloxy)phenyl)imino)-[2,2′-biindolinylidene]-3-one can be used as marker in diesel fuel at a concentration of 5 ppm. According to the ASTM test methods, the diesel physical properties are unaffected by the presence of this marker and this marker showed stability in diesel fuel for at least 3 months. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ปิโตรเคมีและวิทยาศาสตร์พอลิเมอร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64944 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Sci - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5672217723.pdf | 3.84 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.