Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65103
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศรัณย์ เตชะเสน-
dc.contributor.authorอริยะ กาญจนโกมุท-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-04-05T09:18:58Z-
dc.date.available2020-04-05T09:18:58Z-
dc.date.issued2562-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65103-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562-
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสร้างเม็ดตะกอนโดยใช้เวลาตกตะกอนที่แตกต่างกัน โดยใช้ถังปฏิกิริยาแบบทีละเท การทำงานของระบบเป็นรอบการบำบัด ซึ่งประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือการเติมน้ำเสียสังเคราะห์จากซูโครสความเข้มข้นซีโอดี ในถังปฏิกิริยา 2,000 มิลลิกรัมต่อลิตร ปริมาณแอมโมเนียมคลอไรด์ 380 มิลลิกรัมต่อลิตร การเติมอากาศโดยควบคุมความเร็วการเติมอากาศ 3.5 เซนติเมตรต่อวินาที การตกตะกอน และการทิ้งน้ำโดยใช้สัดส่วนการทดแทนน้ำเสีย 50% โดยไม่มีการทิ้งตะกอนและเปลี่ยนแปลงเวลาตกตะกอน 60 30 15 5 และ 2 นาที ผลการทดลองค่า MLSS เฉลี่ยที่ 30,200 31,600 26,750 15,733 และ 9,770 มิลลิกรัมต่อลิตร ตามลำดับ ค่า SVIคงที่อยู่ในช่วง 13.2-19.5 มิลลิลิตรต่อกรัม มีอัตราการบำบัดซีโอดีจำเพาะคงที่ 6.29-10.81 มิลลิกรัมซีโอดีต่อมิลลิกรัม MLSS ต่อวัน ขนาดเม็ดตะกอนในระบบที่เริ่มต้นใช้เวลาตกตะกอน 60 นาที พบเม็ดตะกอนขนาดเล็กเป็นส่วนมาก ซึ่งเม็ดตะกอนดังกล่าวมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า 1 มิลลิเมตร และเมื่อลดเวลาตกตะกอนลงเหลือ 30 15 5 และ 2 นาที เม็ดตะกอนมีขนาดใหญ่ขึ้น และเม็ดตะกอนขนาดใหญ่ที่สุดในระบบมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 5 มิลลิเมตร โดยมีความหนาแน่นของตะกอนจุลินทรีย์อยู่ในช่วง 1.025-1.342 g/mL ต่อมาการทดลองส่วนที่ 2 เลือกใช้เวลาตกตะกอน 15 นาที และเปลี่ยนแปลงสัดส่วนการทดแทนน้ำเสีย 50% 60% 70% 80% และ 90% ผลการทดลองค่า MLSSเฉลี่ยที่ 17,240, 18,590, 10,207, 7,293 และ 4,030 มิลลิกรัมต่อลิตร ตามลำดับ ค่า SVI คงที่อยู่ในช่วง 19.5-27.0 มิลลิลิตรต่อกรัม มีอัตราการบำบัดซีโอดีจำเพาะคงที่ 6.29-10.39 มิลลิกรัมซีโอดีต่อมิลลิกรัม MLSS ต่อวัน ขนาดเม็ดตะกอนในระบบที่สัดส่วนการทดแทนน้ำเสีย พบเม็ดตะกอนขนาดเล็กเป็นส่วนมาก เมื่อเพิ่มสัดส่วนการทดแทนน้ำเสียพบว่าเม็ดตะกอนมีขนาดใหญ่ขึ้น และเม็ดตะกอนขนาดใหญ่ที่สุดในระบบมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 5 มิลลิเมตร โดยมีความหนาแน่นของตะกอนจุลินทรีย์อยู่ในช่วง 1.086-1.197g/mL​-
dc.description.abstractalternativeThis study investigated the formation of aerobic granular sludge by using sequencing batch reactor (SBR) operating under 2000 mg/l COD glucose concentration, 2 cycles per day, 4 hours aeration with 3.5 cm/s air velocity, and50% volumetric exchange ratio (VER). During170days of operation. Results showed granular sludge was successfully formed within a month. At the beginning seed sludge were floc and fluffy having concentration of MLSS and SVI of 3,000 mg/l and 296 ml/g, respectively. When decreased settling time to 60, 30, 15, 5, and 2 minutes, MLSS in reactor were increased to 6,500, 31,600, 26,750, 15,733, and 9,770 mg/l, SVI was 13.2-19.5 ml/g. COD specific rate was 6.29-10.81 mg-MLSS/mg-COD day. Size of aerobic granules of 60 minutes settling time was size around 1 mm. Reducing settling time to 30, 15, 5, and 2 minutes resulted in larger sizes and the biggest size was 5 mm. The biomass density of sludge at various settling time was around 1.025-1.342 g/ml. Then, 15 minutes of settling time was used to varied VER from 50%, 60%, 70%, 80%, and 90%, MLSS in reactor were increased to 17,240, 18,590, 10,207, 7,293, and 4,030 mg/l, SVI was19.5-27.0 ml/g. COD specific rate was 6.29-10.39 mg-MLSS/mg-COD day. The size of aerobic granules of 50% VER was small size around 1 mm. The biomass density of sludge at various VER was around 1.086-1.197 g/ml.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.relation.urihttp://doi.org/10.58837/CHULA.THE.2019.1301-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subject.classificationEngineering-
dc.titleการสร้างและประสิทธิภาพของเม็ดตะกอนจุลินทรีย์แบบใช้ออกซิเจน-
dc.title.alternativeAerobic granular sludge formation and treatment efficiency-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.email.advisorSarun.T@Chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.58837/CHULA.THE.2019.1301-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6070376121.pdf3.95 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.