Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65223
Title: การย่อยสลายทางชีวภาพของพทาเลท เอสเทอร์ โดยแบคทีเรียที่คัดแยกจากดินบริเวณกองขยะและดินตะกอนทะเล
Other Titles: Biodegradation of phthalate esters by bacteria isolated from waste dumping site soil and marine sediment
Authors: เมยาวี สถิรพันธุ์
Advisors: อรฤทัย ภิญญาคง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Onruthai.P@Chula.ac.th
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: พทาเลท เอสเตอร์ (Phthalate esters : PAEs) เป็นสารเคมีที่ใช้เติมในกระบวนการผลิตพลาสติก (plasticizer) เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่น ทนทาน และโปร่งใสแก่พลาสติก โดยนิยมใช้ในอุตสาหกรรมหลายชนิด เช่น การผลิตผลิตภัณฑ์บรรจุอาหารและการผลิตเครื่องมือแพทย์ เป็นต้น โมเลกุล PAEs ยึดเกาะกับโครงสร้าง พลาสติกได้ไม่ดี จึงทำให้หลุดลอกจากพลาสติกปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อมได้ง่าย ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศ นอกจากนี้ PAEs ยังถูกจัดเป็นสารรบกวนการทำงานของต่อมไร้ท่อ (endocrine disrupting compounds: EDCs) ส่งผลกระทบต่อมนุษย์ ดังนั้นการบำบัดสิ่งแวดล้อมปนเปื้อน PAEs จึงเป็นสิ่งจำเป็น โดยวัตถุประสงค์ ของงานวิจัยนี้คือ คัดแยกกลุ่มแบคทีเรียที่มีความสามารถในการย่อยสลาย PAEs ที่มีโครงสร้างเป็นแอลคิลสาย ยาว ได้แก่ ได-2-เอทิลเฮกซิล พทาเลท (Di-2-ethylhexyl pththalate: DEHP) ไดบิวทิล พทาเลท (Dibutyl phthalate: DBP) และ PAEs ที่มีโครงสร้างเป็นแอลคิลสายสั้น ได้แก่ ไดเอทิล พทาเลท (Diethyl phthalate: DEP) และ ไดเมทิล พทาเลท (Dimethyl phthalate: DMP) ซึ่ง PAEs ทั้ง 4 ชนิดนี้ นิยมใช้ในอุตสาหกรรม พลาสติกอย่างแพร่หลาย โดยสามารถคัดแยกกลุ่มแบคทีเรียย่อยสลาย PAEs ได้จำนวน 5 กลุ่ม จากตัวอย่าง ดินกองขยะจากโรงกำจัดมูลฝอยหนองแขม จังหวัดกรุงเทพมหานครและจากดินตะกอนทะเลอ่าวไทย จากนั้น ทดสอบประสิทธิภาพการย่อยสลาย PAEs แต่ละชนิดในอาหารเหลว CFMM หรือ NSW ที่มีความเข้มข้นของ PAEs เท่ากับ 100 มิลลิกรัม/ลิตร จากนั้นวิเคราะห์ปริมาณ PAEs ที่เหลืออยู่ด้วยเครื่อง GC-FID ผลการ ทดลองกลุ่มแบคทีเรียทั้งหมดสามารถย่อยสลาย PAEs ได้อย่างสมบูรณ์ในระยะเวลา 7 วัน โดยเฉพาะกลุ่ม แบคทีเรีย LF-NK-DEHP พบว่ามีประสิทธิภาพในการย่อยสลาย DEHP ได้สูงที่สุดในเวลา 2 วัน นอกจากนี้ยัง ได้ทดสอบประสิทธิภาพการย่อยสลาย PAEs โดยแบคทีเรียย่อยสลายน้ำมันดิบ Exiguobaterium sp. AO-11 (MSCU-0807) ผลการทดลองพบว่า Exiguobaterium sp. AO-11 สามารถย่อยสลาย DMP ได้อย่างสมบูรณ์ ในเวลา 5 วัน งานวิจัยนี้ทำให้ได้แบคทีเรียที่มีความสามารถในการย่อยสลาย PAEs ซึ่งสามารถนำไปใช้สำหรับ บำบัดสิ่งแวดล้อมปนเปื้อน PAEs ได้ต่อไป
Other Abstract: Phthalate esters (PAEs) are the group of chemical components in plastic manufacturing (plasticizer) added to raise flexibility, strength and transparency to the plastic. They are popular used in various manufacturing industries such as food containing and medical tools manufacture. PAEs molecules adhere to plastic structures poorly, making it easy to peel from plastic waste into the environment. The contamination of PAEs has effects to ecosystem since PAEs are classified as endocrine disrupting compounds. It is necessary and urgent to remediate the PAEs-contaminated environment. This study aims to obtain bacterial consortia capable of degrading PAEs with long alkyl chain (di-2-ethylhexyl phthalate (DEHP) and dibutyl phthalate (DBP)) and short alkyl chain (diethyl phthalate (DEP) and dimethyl phthalate (DMP)) which are widely used in manufacturing. Five consortia were obtained from enrichment using samples from waste dumping site soil from Nongkham, Bangkok and marine sediment from Gulf of Thailand and PAEs as sole carbon source. PAEs degrading ability was examined in carbon free mineral medium or nutrient seawater medium supplemented with 100 mg L-1 of each PAEs separately and the remaining PAEs was analyzed by gas chromatography-flame ionization detector. As a result, all consortia could completely degrade PAEs within 7 days. Interestingly, consortium LF-NK-DEHP showed the highest efficiency in degrading DEHP in which complete degradation was found within 2 days. Moreover, degradation of PAEs by crude oil-degrading Exiguobaterium sp. AO-11 from our culture collection was also tested and the result found that it entirely utilized DMP within 5 days. This study provided the candidate PAEs-degrading bacteria which can be used in further bioremediation of PAEs-contaminated environment.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2561
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65223
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Meyawee S_Se_2561.pdf1.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.