Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65277
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง-
dc.contributor.advisorชูศักดิ์ รองสวัสดิ์-
dc.contributor.authorสรวงสุดา ปานสกุล-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-04-11T17:16:02Z-
dc.date.available2020-04-11T17:16:02Z-
dc.date.issued2545-
dc.identifier.issn9741721552-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65277-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545en_US
dc.description.abstractวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อ (1) ศึกษารูปแบบการเรียนรู้ที่ใช้การเรียนแบบร่วมมือส่งเสริมให้บุคลากรมีทักษะกระบวนการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ (2) สร้างรูปแบบการเรียนรู้กระบวนการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์แบบร่วมมือในองค์กรบนอินเทอร์เน็ต (3) นำเสนอรูปแบบการเรียนรู้กระบวนการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์แบบร่วมมือในองค์กรบนอินเทอร์เน็ต วิธีดำเนินการวิจัย มี 4 ขั้นตอน คือ 1) สร้างรูปแบบการเรียนรู้ 2) ตรวจสอบคุณภาพโดยผู้ทรงคุณวุฒิ และทดสอบประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนรู้ 3) ทดลองใช้รูปแบบการเรียนรู้ และ 4) ศึกษาความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างเกี่ยวกับรูปแบบการเรียนรู้กลุ่มตัวอย่าง คือ เจ้าหน้าที่ชำนาญการด้านการประชาสัมพันธ์ของกรมประชาสัมพันธ์ที่ทำงานในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคจำนวน 20 คน แบ่งเป็นกลุ่มย่อย 5 กลุ่ม ๆ ละ 4 คน ทดลองเรียนตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้น เป็นระยะเวลา 30 วัน ผลการวิจัย พบว่า 1. การศึกษารูปแบบการเรียนรู้ พบว่า การแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์มี 5 ขั้นตอนตามลำดับ ได้แก่ 1) การค้นหาความจริง 2) การค้นหาปัญหา 3) การค้นหาความคิด 4) การค้นหาคำตอบ 5) การค้นหาคำตอบที่เป็นที่ยอมรับ รูปแบบการเรียนรู้ มี 3 ส่วน คือ 1) องค์ประกอบรูปแบบการเรียนรู้ 2) วิธีการเรียนรู้ และ 3) กิจกรรมการเรียนรู้ การเรียนแบบร่วมมือเป็นสภาพการเรียนรู้เป็นกลุ่มเล็ก โดยอาศัยเทคนิค คิดเดี่ยว คิดคู่ รวมกันคิด และกรณีศึกษา เพื่อใช้นำเสนอสถานการณ์และสภาพปัญหาให้ผู้เรียนได้แก้ปัญหาอย่างมีเหตุผลและเหมาะสมที่สุดในสภาวการณ์นั้น 2. ผลการทดลองใช้รูปแบบ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีทักษะกระบวนการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .05 กลุ่มตัวอย่างเรียนแบบร่วมมือบนเว็บในสัปดาห์แรกและสัปดาห์ที่ 5 ในระดับมากและมีความพึงพอใจในระดับมากในเรื่อง กิจกรรมการเรียนแบบร่วมมือ เว็บการเรียนรู้กระบวนการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์และการจัดรูปแบบการเรียนรู้ 3. รูปแบบการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 1) องค์ประกอบรูปแบบการเรียนรู้ 9 องค์ประกอบ ได้แก่ เป้าหมายชนิดการเรียนรู้ เนื้อหา บทบาทผู้เรียน บทบาทผู้อำนวยความสะดวก เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเครือข่าย วิธีปฏิสัมพันธ์ปัจจัยสนับสนุน และการประเมินผลการเรียนรู้ 2) วิธีการเรียนรู้ ประกอบด้วย ขั้นตอนการเรียนรู้ ได้แก่ ขั้นนำ ขั้นเรียน ขั้นประเมินผลการเรียนรู้ และขั้นตอนระบบปฏิบัติการสำหรับผู้เรียนและผู้อำนวยความสะดวก 3) กิจกรรมการเรียนรู้ ได้แก่กิจกรรมในห้องเรียน คือ การปฐมนิเทศ กิจกรรมการเรียนบนเว็บ 5 สัปดาห์ ๆ ละ 5 วัน เพื่อการเรียนรู้สัปดาห์ละทักษะตามลำดับ ด้วยการคิดเดี่ยว คิดคู่ในกลุ่ม รวมกันคิด คิดคู่ต่างกลุ่ม รวมกันคิด และการปัจฉิมนิเทศ เพื่อสรุปผลการเรียนรู้-
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were (1) to study learning models which enhancing creative problem solving process, (2) to design a learning model for creative problem solving process using internet-based cooperative learning within the organization, and (3) to propose a learning model for creative problem solving process using internet-based cooperative learning within the organization. The research methods consisted of four steps: Step 1 develop the learning model prototype, Step 2 determine the quality of the learning model prototype by experts and by testing the effectiveness, Step 3 try out the developed model, and Step 4 study subjects’ opinions concerning the model. The subjects were 20 public relations knowledge workers of the public relations department working at the central and provincial offices. They were divided into five groups with four members. The subjects participated in the learning activities on the web for 30 days. The research findings were as follows : 1. The learning model analysis showed that a creative problem solving process comprised of five steps: fact finding, problem finding, idea finding, solution finding and acceptance finding; a learning model included learning factors, learning methods and activities; cooperative learning are small group learning environment using think-pair-share techniques; and case study used to present situations and problems for learners to solve according to reasons and appropriateness of that situations. 2. It was found that the subjects learned from CPSP learning model had statistically significant at .05 level creative problem solving process post-test scores higher than pre-test scores. The subjects involved in cooperative learning activities on the web in 1st week and 5th week in high level. They highly satisfied in the cooperative learning activities, the learning web, and the learning model management. 3. The developed CPSP learning model comprised of 1) nine components: goals, learning types, subject content, learners’ roles, facilitators’ roles, computer and web technology, interactive method, supportive resources, and learning evaluation; 2) learning methods included learning phase: introduction, learning and evaluation, and operational phase for learners and facilitators; 3) learning activities included classroom activities: orientation, web activities for five weeks, five day a week, and each skill per week using think-pair-share within and different group and concluding session to summarize a learning process.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2002.723-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการเรียนรู้en_US
dc.subjectการเรียนการสอนผ่านเว็บen_US
dc.subjectการทำงานกลุ่มในการศึกษาen_US
dc.subjectการแก้ปัญหาเป็นกลุ่มen_US
dc.subjectLearningen_US
dc.subjectWeb-based instructionen_US
dc.subjectGroup work in educationen_US
dc.subjectGroup problem solvingen_US
dc.titleการนำเสนอรูปแบบการเรียนรู้กระบวนการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ แบบร่วมมือในองค์กรบนอินเทอร์เน็ตen_US
dc.title.alternativeA proposed learning model for creative problem solving process using internet-based cooperative learning within the organizationen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorOnjaree.N@Chula.ac.th-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2002.723-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suangsuda_pa_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ1.85 MBAdobe PDFView/Open
Suangsuda_pa_ch1_p.pdfบทที่ 12.2 MBAdobe PDFView/Open
Suangsuda_pa_ch2_p.pdfบทที่ 211.98 MBAdobe PDFView/Open
Suangsuda_pa_ch3_p.pdfบทที่ 34.45 MBAdobe PDFView/Open
Suangsuda_pa_ch4_p.pdfบทที่ 44.76 MBAdobe PDFView/Open
Suangsuda_pa_ch5_p.pdfบทที่ 53.34 MBAdobe PDFView/Open
Suangsuda_pa_ch6_p.pdfบทที่ 63.7 MBAdobe PDFView/Open
Suangsuda_pa_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก9.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.