Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65293
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วิทยา ยงเจริญ | - |
dc.contributor.author | ฉัตรชัย เปล่งสะอาด | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2020-04-12T14:01:10Z | - |
dc.date.available | 2020-04-12T14:01:10Z | - |
dc.date.issued | 2545 | - |
dc.identifier.isbn | 9741726376 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65293 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 | en_US |
dc.description.abstract | โครงการวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อที่จะนำไปใช้หาสภาพที่เหมาะสมของการลำดับการเดินเครื่องในสภาพปัจจุบันของเครื่องทำน้ำเย็น 2 เครื่องที่มีขนาดแตกต่าง โดยในการวิจัยครั้งนี้ได้เลือกใช้ระบบการทำความเย็นด้วยน้ำเย็นหมุนเวียนของอาคารวิทยบริการ ซึ่งเป็นอาคารที่ตั้งอยู่ภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นระบบที่ใช้ในการทดลอง สำหรับการวิจัยในครั้งนี้ได้แบ่งการวิจัย ออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนแรกเป็นการศึกษาถึงลักษณะ รวมทั้งเก็บข้อมูลของการเดินเครื่องในสภาพปัจจุบันของเครื่องทำน้ำเย็นแต่ละเครื่อง เพื่อจะนำข้อมูลดังกล่าวไปสร้างแบบจำลองในรูปสมการทางคณิตศาสตร์ เพื่อนำไปพัฒนาเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ในการคำนวณหาลักษณะการแบ่งภาระการทำความเย็นของทั้งระบบให้กับเครื่องทำน้ำเย็นแต่ละตัวได้ สำหรับในส่วนที่ 2 จะเป็นการเก็บข้อมูลการเดินเครื่องในสภาพที่เกิดขึ้นจริงของระบบ และนำข้อมูลดังกล่าวส่งเข้ามายังโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ได้สร้างขึ้นจากส่วนแรก เพื่อทำการคำนวณหาลักษณะของการแบ่งภาระการทำความเย็นที่เหมาะสมของระบบในขณะนั้น ๆ เพื่อจะได้นำค่าที่ได้จากโปรแกรมไปทำการปรับเปลี่ยนสภาพการเดินเครื่องทำน้ำเย็นของทั้งระบบ ให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมตามที่ต้องการได้ในทันที จากผลการทดลองของการเดินเครื่องทำน้ำเย็น โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยนั้น จะสามารถสรุปได้ว่า โปรแกรมคอมพิวเตอร์จะให้ค่าของการแบ่งภาระของการทำความเย็นของทั้งระบบเปลี่ยนแปลงไปจากการเดินเครื่องในสภาวะปกติ โดยโปรแกรมจะทำการแบ่งภาระการทำความเย็นให้ กับเครื่องทำน้ำเย็นที่มีประสิทธิภาพดีกว่าสูงขึ้น และลดการรับภาระการทำความเย็นของเครื่องทำน้ำเย็นที่มีประสิทธิภาพด้อยกว่าลง ซึ่งจากการเดินเครื่องดังกล่าว จะส่งผลให้อัตราการใช้พลังงาน (กิโลวัตต์/ตัน) ของเครื่องทำน้ำเย็นทั้งสองเครื่องลดลง และเมื่อพิจารณาการทำน้ำเย็นของทั้งระบบก็จะ พบว่า การนำโปรแกรมคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการเดินเครื่องนั้น จะส่งผลให้แนวโน้มของการใช้พลังงานของทั้งระบบลดลงเช่นเดียวกัน | - |
dc.description.abstractalternative | The research project aimed to analyze and develop computer program. It is created to be use for finding a suitable situation for sequencing the operation of chiller which have a different size. This project has chosen the chiller plant for Vidhayaborikhan Building, which located in Chulalongkorn University. The process that has been use in this project is divided into 2 parts. For the first part, we studied the characteristics and collect present information of the chiller individually. And use the information that we got to introduce in the form of mathematical model, and use it to develop into computer program in order to calculate, the spilling load of the chiller for the whole system. For the second part, we will collect an information from real time monitoring then use an information that we collected and send them to a computer program that we develop in the first part. We calculate the spilling work load and make it appropriate for the system at that specific time, and use the result to change the chiller system in order to make them appropriate right away. From the observation of a chiller by using computer program, we can conclude that computer program will find some changes in the splitting of the total load. The program will split higher load from the less efficient one. From that, we will find that the sequence of this effect will increase the energy saving of both chillers, which will reduce the kW/TON of both chillers. Consider the whole chiller system, we found that by using a computer program, it will increase an energy saving for the whole system as well. | - |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | การปรับอากาศ -- การควบคุม | en_US |
dc.subject | Air conditioning -- Control | en_US |
dc.title | การหาสภาพที่เหมาะสมของลำดับการเดินเครื่องทำน้ำเย็น | en_US |
dc.title.alternative | Optimization of chiller sequence operation | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | วิศวกรรมเครื่องกล | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Withaya.Y@Chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Chatchai_pl_front_p.pdf | หน้าปก บทคัดย่อและสารบัญ | 885.73 kB | Adobe PDF | View/Open |
Chatchai_pl_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 687.42 kB | Adobe PDF | View/Open |
Chatchai_pl_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 915.8 kB | Adobe PDF | View/Open |
Chatchai_pl_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 713.84 kB | Adobe PDF | View/Open |
Chatchai_pl_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 764.68 kB | Adobe PDF | View/Open |
Chatchai_pl_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 843.49 kB | Adobe PDF | View/Open |
Chatchai_pl_ch6_p.pdf | บทที่ 6 | 1.09 MB | Adobe PDF | View/Open |
Chatchai_pl_back_p.pdf | รายการอ้างอิง และภาคผนวก | 2.55 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.