Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65368
Title: การวิเคราะห์ระบบการวัด สำหรับโรงงานผลิตท่อส่งน้ำมันเข้าหัวฉีดในรถยนต์
Other Titles: Measurement system analysis in an automobile fuel injection pipe factory
Authors: ผจงกิจ โสธนะยงกุล
Advisors: ชูเวช ชาญสง่าเวช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Subjects: มาตรวิทยา
การวัด
การควบคุมคุณภาพ
Metrology
Measurement
Quality control
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ถึงความแม่นยำ (Precision) และความเที่ยงตรง (Accuracy) ของระบบการวัดเพื่อนำไปสู่การปรับปรุงให้เป็นไปตามข้อกำหนดของระบบบริหารคุณภาพ QS 9000 ในส่วนของการวิเคราะห์ระบบการวัด โดยมีขอบเขตการศึกษาเฉพาะชิ้นส่วนท่อส่งน้ำมันเข้าหัวฉีดเพียงรายการเดียว โดยเกณฑ์มาตรฐานของค่าความเคลื่อนที่ได้จะเทียบกับค่าคาดเคลื่อนอนุโลมของชินงาน (Tolerance) สำหรับประเภท จุดตรวจสอบของชิ้นงานนั้น จะทำการศึกษาเฉพาะความแม่นยำในการวัดสำหรับชุดตรวจสอบลักษณะสมบัติเชิงผันแปร และทั้งความแม่นยำและความเที่ยงตรงสำหรับชุดตรวจสอบลักษณะสมบัติเชิงคุณลักษณะ สำหรับขั้นตอนการดำเนินการวิจัย ในขั้นตอนแรกจะทำการคัดเลือกชิ้นงานที่จะทำการวิเคราะห์ แล้วทำการศึกษาชิ้นงานนั้นอย่างละเอียด เพื่อวางแผนการทดลองการวิเคราะห์ระบบการวัด หลังจากนั้นทำการทดลองและวิเคราะห์ผลการทดลอง เพื่อระบุสาเหตุของการไม่เป็นไปตามข้อกำหนด และหาวิธีการปรับปรุงแก้ไข โดยจัดทำเป็นมาตรฐานในการตรวจสอบ สุดท้ายทำการทดลองอีกครั้งหนึ่งแล้วสรุปผลงานวิจัย สำหรับชุดตรวจสอบลักษณะสมบัติเชิงผันแปร 15 ชุดตรวจสอบ ผลการวิจัยจากการทดสอบครั้งแรกพบว่า ระดับความแปรปรวนของความแม่นยำในการวัดโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 124.1 % ซึ่งเกินกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่น้อย กว่าหรือเท่ากับ 30 % ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็นความสามารถในการทำซํ้า(Repeatability) ที่ระดับ 56 .6% ความสามารถในการทำเหมือน (Reproducibility) 103.8 % ซึ่งจากการวิเคราะห์พบว่าสาเหตุที่ทำให้ความแม่นยำในการวัดมีค่ามากเกินเกณฑ์ที่กำหนด มาจากประเด็นที่หนึ่ง คือ การขาดมาตรฐานการทำงานที่ถูกต้องและชัดเจนทำให้การวัดของพนักงานมีค่าเฉลี่ยที่ได้แตกต่างกันและมีค่าแปรปรวนสูง ส่วนในประเด็นที่สอง คือ การใช้อุปกรณ์จับยึดชิ้นงานเพื่อการวัดที่ไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งภายหลังการดำเนินการตามมาตรการการแก้ไข และจัดทำเป็นมาตรฐานการวัดชิ้นงาน หลังจากนั้นทำการฝึกอบรมพนักงานให้เกิดความชำนาญในมาตรฐานการวัด ผลการทดลองภายหลังการปรับปรุงพบว่า ค่าความแปรปรวนของความแม่นยำในการวัดโดยเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 21 % ซึ่งผ่านเกณฑ์ที่กำหนด โดยมีความสามารถในการทำชำที่ระดับ 18.9 % และความสามารถในการทำเหมือนที่ระดับ 6.5 % สำหรับชุดตรวจสอบลักษณะสมบัติเชิงคุณลักษณะ 6 ชุดตรวจสอบซึ่งมีเกณฑ์การทดสอบอยู่ที่ระดับความเที่ยงตรงและแม่นยำที่ 100% นั้นพบว่าผลการวิจัยในครังแรกพบว่า ผู้วัดสามารถระบุระดับคุณภาพได้อย่างเที่ยงตรงและ แม่นยำ 100 % ถึง 4 จุดตรวจสอบ มีเพียงชุดตรวจสอบเรื่องมุมของหัวท่อเท่านั้นที่มีปัญหาซึ่งเกิดจากวิธีการวัด ไม่สามารถชี้บ่งระดับคุณภาพได้อย่างแน่นอน ซึ่งภายหลังการดำเนินการแก้ไขโดยจัดทำมาตรฐานการวัดที่สามารถทำให้ตัดสินระดับคุณภาพได้ง่ายและถูกต้องแล้ว พนักงานสามารถระบุระดับคุณภาพได้อย่างเที่ยงตรงและแม่นยำ 100 % จากผลการทดสอบภายหลังการปรับปรุง
Other Abstract: The objective of this research is for analysis of precision and accuracy of measurement system in order to comply with QS 9000 in part of Measurement System Analysis (MSA: 1994). The scope is only one sample injection-fuel pipe item. No more than 30 % is criteria standard when measurement system variance in each inspection point was compared with tolerance of it. This experiment is limited only precision of variable characteristics (15 inspection points), accuracy and precision of attribute characteristics (6 inspection points). Research methodology was started at experiment planning, including sample detail study, after that the experiments and analysis of result are executed to find out causes of non-conforming in measurement system and counter measures. Then workmanship standard of measurement were set up, finally experiment were run again for research conclusion. For variable characteristics, the result from first experiment showed that average variance of measurement system precision (% Gage Repeatability and Reproducibility: GR&R) was 124.1%, which exceeded the criteria of MSA 1995 ( No more than 30%), came from Repeatability variance 56 .6% and Reproducibility variance 103.8%. The causes of these variance came from lack of accurate and clear workmanship standard which affect the differences value of measures from each measurers and Repeatability variance, another cause was came from measurement jig that couldn’t give the accurate and precise reference for measurements. After we found out the workmanship standards and implemented it, the after improvement result showed that average GR&R was only 21%, which passed the criteria at 30% level, This figure was derived from Repeatability variance 18.9% and Reproducibility variance 6 .5%. For attribute characteristics, which had the target of accuracy and precision at 100% level, had six inspection points. The research result from first experiment showed that five of them had 100% both accuracy and precision criteria. Only one inspection point, namely angle of head pipe, was found the problems in accuracy and precision figures because measurement method couldn’t identify clear result between good and wrong products. After implementation of new measurement method that can clarify exactly quality of product, the after improvement result showed 100% both of accuracy and precision figures.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65368
ISBN: 9740302246
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Phajongkit_so_front_p.pdfหน้าปก และ บทคัดย่อ952.75 kBAdobe PDFView/Open
Phajongkit_so_ch1_p.pdfบทที่ 1686.49 kBAdobe PDFView/Open
Phajongkit_so_ch2_p.pdfบทที่ 21.03 MBAdobe PDFView/Open
Phajongkit_so_ch3_p.pdfบทที่ 31.26 MBAdobe PDFView/Open
Phajongkit_so_ch4_p.pdfบทที่ 43.8 MBAdobe PDFView/Open
Phajongkit_so_ch5_p.pdfบทที่ 5902.81 kBAdobe PDFView/Open
Phajongkit_so_back_p.pdfบรรณานุกรม และ ภาคผนวก1.43 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.