Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6536
Title: รูปแบบการดำเนินชีวิต ความรู้และพฤติกรรมการบริโภคอาหารฮาลาล ของผู้บริโภคมุสลิม
Other Titles: Lifestyle, knowledge and consumption behavior of Halal food by muslim consumers
Authors: ยุพิน หะสัน
Advisors: รัตยา โตควณิชย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Rataya.T@chula.ac.th
Subjects: พฤติกรรมผู้บริโภค
มุสลิม -- การดำเนินชีวิต
บริโภคกรรม
อาหารฮาลาล
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษา 1) รูปแบบการดำเนินชีวิต ความรู้ในเรื่องอาหารฮาลาลและพฤติกรรมการบริโภคอาหารฮาลาล ของผู้บริโภคมุสลิม และ 2) ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการดำเนินชีวิต ความรู้และพฤติกรรมการบริโภคอาหารฮาลาล โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล กลุ่มตัวอย่างมุสลิมที่มีอายุ 18-40 ปี จำนวน 400 คน จากผลการวิจัยพบว่า 1. กลุ่มรูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้บริโภคมุสลิมสามารถแบ่งได้เป็น 9 แบบ คือ 1) กลุ่มชีวิตทันสมัยแต่หัวใจอนุรักษ์นิยม 2) กลุ่มสนใจข่าวสาร 3) กลุ่มยึดหลักการ 4) กลุ่มใส่ใจตัวเอง สนใจสังคม 5) กลุ่มรักกีฬา ชอบความท้าทาย 6) กลุ่มติดคอมติดเพื่อน 7) กลุ่มความคิดก้าวไกล หัวใจแบรนด์เนม 8) กลุ่มความสุขอยู่ในบ้าน และ 9) กลุ่มสนุกกับชีวิตและยอมรับสิ่งใหม่ๆ 2. ผู้บริโภคมุสลิมมีความรู้ในเรื่องอาหารฮาลาล และมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารฮาลาลในระดับสูง 3. กลุ่มรูปแบบการดำเนินชีวิตแบบ ยึดหลักการ สนใจข่าวสาร ความสุขอยู่ในบ้าน และ รักกีฬา ชอบความท้าทาย มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความรู้ในเรื่องอาหารฮาลาลอย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 4. กลุ่มรูปแบบการดำเนินชีวิตแบบ ยึดหลักการ มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารฮาลาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 5. ความรู้ในเรื่องอาหารฮาลาลมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารฮาลาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Other Abstract: The objectives of this survey research were to study 1) lifestyle, knowledge and consumption behavior of Halal food and 2) the relationships of lifestyle, knowledge and consumption behavior of Halal food by Muslim consumers. Questionnaires were used to collect data from 400 Muslims aged 18-40 years old, living in Bangkok. The results were: 1. The lifestyles of Muslim consumers can be categorized into 9 groups :1) Modern Life Group 2) Information Exposure Group 3) Religious Group 4) Self Concern and Social Care Group 5) Sporty and Challenge Group 6) Cyber and Friend Group 7) High Vision and Brand Name Group 8) Home Sweet Home Group and 9) Enjoy Life and Open Minded Group. 2. Muslim consumers had high knowledge and consumption of Halal food. 3. Lifestyles of Religious Group, Information Exposure Group, Home Sweet Home Group as well as Sporty and Challenge Group had positive correlation with knowledge of Halal food at significant level of 0.05. 4. Lifestyle of Religious Group had positive correlation with consumption behavior of Halal food at significant level of 0.05. 5. There was a positive correlation between knowledge and consumption behavior of Halal food at significant level of 0.05
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การโฆษณา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6536
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2003.1288
ISBN: 9741734182
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2003.1288
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Yupin.pdf1.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.