Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65418
Title: ความหลากหลายทางพันธุกรรมของสาหร่ายในไลเคน Trypethelium eluteriae
Other Titles: Genetic diversity of algal photobionts in lichen Trypethelium eluteriae
Authors: สิทธิเดช ซื่อสัตย์ศักดิ์
Advisors: จิตรตรา เพียภูเขียว
เอก แสงวิเชียร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Jittra.K@Chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ไลเคนเป็นความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตที่อยู่ร่วมกันแบบพึ่งพาอาศัยกันระหว่างรากับสาหร่ายและเป็นดัชนีบ่งบอกถึงความสมดุลของสภาพแวดล้อม โดยความหลากหลายด้านพันธุกรรมของสาหร่ายในไลเคนเป็นเรื่องสำคัญทำให้ทราบถึงบทบาทของสาหร่ายที่อยู่ร่วมกับราเป็นไลเคนในระบบนิเวศ ในงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของสาหร่ายในไลเคน Trypethelium eluteriae ที่พบในประเทศไทยด้วยเทคนิคทางอณูวิทยาโดยเก็บตัวอย่างไลเคนจากในภูมิภาคต่าง ๆ 4 จังหวัด จำนวน 11 ตัวอย่าง ได้แก่ น่าน ระยอง หนองบัวลำภู และกระบี่ จากการศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของสาหร่ายในไลเคนจากทุกตัวอย่างที่บริเวณยีน 18S rDNA และ rcbL พบว่าสามารถเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอที่บริเวณยีน 18S rDNA ได้ทั้ง 11 ตัวอย่าง จากการวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์เปรียบเทียบกับฐานข้อมูลใน GenBank พบว่าลำดับนิวคลีโอไทด์ทั้ง 11 ตัวอย่างเป็นสาหร่ายชนิด Trentepohlia cf. annulate โดยค่าดัชนีความเหมือน 100% แสดงให้เห็นถึงความไม่หลากหลายของสาหร่ายในไลเคน Trypethelium eluteriae และจากการเพิ่มปริมาณดีเอ็นเอบริเวณยีน rcbL ได้ 8 ตัวอย่างจากการวิเคราะห์ลำดับนิวคลีโอไทด์เปรียบเทียบกับฐานข้อมูลใน GenBank พบว่าลำดับนิวคลีโอไทด์ทั้ง 8 ตัวอย่างเป็นชนิดของต้นไม้ที่ไลเคนอาศัยอยู่ แสดงให้เห็นว่าตำแหน่งยีน rbcL ไม่จำเพาะต่อชนิดของสาหร่ายเท่านั้น
Other Abstract: Lichens are symbiotic associations of fungi and green algae or cyanobacteria. They are widely used as environmental indicators and genetic diversity of algae in lichen is important for their roles in ecosystem. The objective of this research was to study the genetic diversity of green algae in lichen Trypethelium eluteriae. Eleven lichen samples were collected from various locations, Nan, Rayong, Nongbualumphu and Krabi provinces. Genetic diversity of all collected samples were studies based on 18S rDNA and rbcL gene fragments. The results showed that 18S rDNA amplification of all collected samples were successful. Based on 18S rDNA sequence analysis, all photobionts in lichen T. eluteriae were identified as Trentepohlia cf. annulate with the highest similarity 100 %. The phylogenetic analysis revealed no genetic diversity of photobionts in lichen T. eluteriae based on 18S rDNA . The rbcL gene of all photobionts was successful to amplify in 8 samples. According to rbcL sequence analysis, all samples were identified as host of T. eluteriae. As a result, it showed that rbcL was not specify for photobiont.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพันธุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2561
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65418
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sittidach_S_Se_2561.pdf1.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.