Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65419
Title: การประเมินการปนเปื้อนของไนเตรทในน้ำบาดาล อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี
Other Titles: The assessment of nitrate contamination in groundwater in Song Phi Nong district, Suphan Buri province
Authors: พิมพ์ชญา เจริญโรจน์ยิ่ง
Advisors: ศรีเลิศ โชติพันธรัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Srilert.C@Chula.ac.th
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: พื้นที่อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี มีการใช้ประโยชน์พื้นที่ส่วนใหญ่ในด้านเกษตรกรรม นอกจากนี้ยังมีการขยายตัวของพื้นที่เมืองเพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีการใช้ผลิตภัณพ์และสารเคมีในการพัฒนาดังกล่าว โดยกิจกรรมเหล่านี้ล้วนมีส่วนในการปลดปล่อยไนเตรทลงสู่สิ่งแวดล้อมแล้วเกิดการชะหน้าดินทำให้ซึมลงสู่ชั้นน้ำบาดาล แม้ว่าองค์การอนามัยโลกได้กำหนดค่ามาตรฐานของไนเตรทในน้ำบาดาลเพื่อการบริโภคให้มีปริมาณไม่เกิน 45 มิลลิกรัมต่อลิตร การบริโภคน้ำที่มีปริมาณไนเตรทปนเปื้อนสูงในระยะยาว มีโอกาสทำให้ทารกในครรภ์เกิด โรคบลูเบบี้ (blue baby syndrome) ได้ การแก้ปัญหาดังกล่าวจึงควรเริ่มตั้งแต่การหาแหล่งกำเนิดของไนเตรท ดังนั้นจุดประสงค์ของการศึกษานี้คือการประเมินแหล่งที่มาของไนเตรท อำเภอสองพี่น้อง โดยพื้นที่ศึกษาประกอบด้วยชั้นน้ำ 2 ชั้น ได้แก่ ชั้นตะกอนตะพักลำน้ำ (Qt) ชั้นหินปูนหมวดหินทองผาภูมิ (SD) ซึ่งการระบุแหล่งที่มาของไนเตรทสามารถระบุได้ด้วยข้อมูลอุทกธรณีเคมีของน้ำบาดาล ในการศึกษานี้ทำการเก็บตัวอย่างน้ำบาดาลจำนวน 13 บ่อ (W1-W13) ระหว่างวันที่ 26-27 มกราคม 2562 เพื่อวิเคราะห์ปริมาณไอออนบวก (Ca²⁺, Mg²⁺, Na⁺), ปริมาณไอออนลบ (F⁻, CI⁻, NO₃, NO₂, So₄², PO₄³) และความกระด้างในน้ำตัวอย่าง นอกจากนี้ยังใช้ข้อมูลค่าไอโซโทปเสถียรได้แก่ δ¹⁸O, δ²H และ δ¹⁵N ซึ่งเป็นข้อมูลสนับสนุนในการระบุแหล่งที่มาของไนเตรทในน้ำบาดาล จากการศึกษาพบว่าความเข้มข้นของไนเตรทในน้ำบาดาลมีค่าตั้งแต่ 1.91-96.01 มิลลิกรัมต่อลิตร มีค่าเฉลี่ย 18.73 มิลลิกรัมต่อลิตร พบว่าบ่อบาดาล W10 ที่มีปริมาณไนเตรทเกินค่ามาตรฐานที่องค์การอนามัยโลกกำหนด สำหรับค่าไอโซโทปเสถียรในน้ำบาดาลพบว่ามีค่า δ¹⁸O ตั้งแต่ -7.96% ถึง -3.44% สำหรับ δ²H ตั้งแต่ -53.66% ถึง -25.63 และ δ¹⁵N ตั้งแต่ 3.51% ถึง 28.42% จากแผนภูมิไปป์เปอร์แสดงให้เห็นว่าน้ำส่วนใหญ่เป็นชนิด Ca-Na-Cl ซึ่งมีคลอไรด์ไอออนเป็นองค์ประกอบหลัก โดยมีสาเหตุมาจากการชะล้างบนผิวดินลงสู่ชั้นน้ำบาดาล และจากผลการวิเคราะห์ไนโตรเจนไอโซโทป พบว่าการปนเปื้อนของไนเตรทเกิดจากการปล่อยน้ำเสีย จากครัวเรือนเป็นหลัก ซึ่งกลไกของการปนเปลื้อนไนเตรทที่พบในพื้นที่เกิดจากกระบวนการสร้างไนเตรท (nitrification)
Other Abstract: Land use in Song Phi Nong District, Suphan Buri province are mainly used for agricultural purpose. In the recent years, there has been a growth of urban areas. As a result, this area used a lot of products and agrochemicals. This may lead to nitrate (NO₃) concentration in groundwater, which must not be over the drinking water standard (>45 mg/l) issued by World Health Organization (WHO). A consumption of high NO₃ concentrated water for a long period of time causes the blue baby syndrome. To solve this problem, the source of nitrate should be firstly identified. This study aimed to evaluate the sources of NO₃ contamination in Song Phi Nong district, Suphan Buri province. In the study area, there are 2 aquifers consisting of Quaternary Terrace aquifer (Qt), limestone aquifer Thong Pha Phum (SD). This study began with collecting water 13 samples (W1-W13) between 26-27 January, 2019. The identification of sources can be used hydrogeochemistry data, consisting of cations (e.g., Ca²⁺, Mg²⁺, Na⁺), anions (e.g., F⁻, CI⁻, NO₃, NO₂, So₄², PO₄³) and alkalinity in water sample. Furthermore, stable isotopes, δ¹⁸O, δ²H and δ¹⁵N, were analyzed to identification of NO₃ sources. The study found that NO₃ concentration in groundwater ranged from 1.91-96.01 mg/l with an average of 18.73 mg/l. There was only 1 station (W10), where NO₃ concentration exceeding the drinking water standard. Furthermore, isotopes compositions of groundwater included δ¹⁸O values ranging from -7.96% to 3.44%, δ²H values ranging from -53.66% to -25.63% and δ¹⁵N values ranging from 3.51% to 28.42%. According to piper diagram, the major water types was Ca-Na-Cl, which chloride (Cl) might contaminated from surface water to the groundwater system. The nitrogen isotope results showed that the sources of NO₃ were mainly from wasted water of household. The mechanism of No₃ contamination in this area were a nitrification process.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2561
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65419
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pimchaya_C_Se_2561.pdf8.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.