Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65429
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชัยพันธุ์ รักวิจัย-
dc.contributor.authorอิศราพร อิทธโร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-04-21T08:05:26Z-
dc.date.available2020-04-21T08:05:26Z-
dc.date.issued2544-
dc.identifier.isbn9741701063-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65429-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544en_US
dc.description.abstractการศึกษาวิทยานิพนธ์นี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของชายฝังทะเลบางขุนเทียน ตลอดจนวิเคราะห์ปัจจัยที่มักมีการอ้างถึงโดยทั่วไปว่าเป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงชายฝั่ง ข้อมูลต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ภาพถ่ายทางอากาศ แผนที่ต่าง ๆ ข้อมูลระดับนํ้า ข้อมูลอุทกศาสตร์ข้อมูลอุทกวิทยา ข้อมูลปริมาณตะกอนขุดลอกบริเวณร่องนํ้าสันดอน ข้อมูลป่าชายเลน และข้อมูลการทรุดตัวของแผ่นดิน จากการวิเคราะห์ข้อมูลภาพถ่ายทางอากาศบริเวณชายฝังบางขุนเทียน ช่วงปี พ.ศ. 2495-2497 2497-2510 2510-2518 2518-2523 2523-2530 2530-2534 2534-2537 และ 2537-2539 พบว่าชายฝั่งบางขุนเทียนมีการเปลี่ยนแปลงด้วยอัตราเฉลี่ย-19.3 -5.8 -15.3 -9.9 -10.1 -32.8 +8.9 และ-28.3 เมตร/ปี ตามลำดับ การเปลี่ยนแปลงชายฝังดังกล่าว พบว่ามีความสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงชายฝังบริเวณอ่าวไทยตอนบน โดยช่วงปี พ.ศ.2496-2539 ชายฝั่งด้านตะวันตกและตะวันออก พบว่าส่วนใหญ่เกิดการทับถมด้วยอัตราเฉลี่ย 2.5-33.9 เมตร/ปี และชายฝั่งด้านก้นอ่าวไทย ส่วนใหญ่เกิดการกัดเซาะด้วยอัตรา 3.1-20.3 เมตร/ปี เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของปัจจัยต่าง ๆ กับการเปลี่ยนแปลงบริเวณชายฝังบางขุนเทียนและชายฝังอ่าวไทยตอนบนพบว่า ระดับนํ้าขึ้นนํ้าลงเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อการแปลภาพถ่ายทางอากาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งชายฝั่งที่มีลักษณะความลาดชันตํ่า และปัจจัยจากแผ่นดินทรุดนั้น เมื่อพิจารณาในช่วงเวลาเดียวกัน ไม่พบว่ามีความสัมพันธ์ใด ๆ กับการเปลี่ยนแปลงชายฝั่ง ปัจจัยจากเหตุการณ์พายุหมุนเขตร้อน พบว่ามีแนวโน้มที่จะสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงชายฝั่ง แต่ต้องการข้อมูลภาพถ่ายทางอากาศช่วงก่อนและหลังเกิดเหตุการณ์ มายืนยันเพื่อให้ได้ความสัมพันธ์ที่ชัดเจนขึ้น สำหรับปัจจัยอื่น ๆ ได้แก่ สภาพคลื่น การลดลงของป่าชายเลน และการลดลงของปริมาณตะกอนจากต้นน้ำ ยังไม่สามารถสรุปความสัมพันธ์ที่แน่ชัด เนื่องจากข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบันและถูกรวบรวมมาใช้ในการศึกษาครั้งนี้ มีไม่เพียงพอที่จะนำมาใช้วิเคราะห์ให้เกิดความชัดเจนได้ การศึกษานี้พบว่า ปัจจุบันมีข้อมูลไม่เพียงพอที่จะทำการศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งอ่าวไทยตอนบน โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณบางขุนเทียน จึงได้เสนอให้มีการจัดตั้งหน่วยงานเฉพาะกิจ ซึ่งทำหน้าที่สำรวจรวบรวมข้อมูลที่จำเป็น และทำการวิจัยอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดความชัดเจนต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในบริเวณชายฝั่งบางขุนเทียนและชายฝั่งอ่าวไทยตอนบน ตลอดจนสามารถวิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริงของการเปลี่ยนแปลงชายฝั่ง และแนวทางแก้ไขอย่างถาวรและยั่งยืน-
dc.description.abstractalternativeThis thesis aimed at the study of the shoreline changes at Bang Khun Thian and the factors that had been generally claimed causing such changes. Relevant data and information, such as aerial photographs, maps, water level data, hydrographic data, hydrologic data, dredging data of the navigational channel at the Bangkok Bar, mangrove area, and land subsidence data were collected and used in this study. The aerial photographs along the Bang Khun Thian shoreline were interpreted during the years 1952-1954, 1954-1957, 1957-1975, 1975-1980, 1980-1987, 1987-1991, 1991-1994 and 1994-1996. It was found that the Bang Khun Thian shoreline had changed on average -19.3, -5.8, -15.3, -9.9, -10.1, -32.8, +8.9 and -28.3 m/year respectively. Such shoreline changes were found to correspond with the changes of the Upper Gulf shorelines. During 1953-1996, the west and the east shorelines had accreted about 2.5-33.9 m/year while the north shorelines had recessed about 3.1-20.3 m/year. Some analyses were made to delineate the factors that might cause such shoreline changes at Bang Khun Thian and in the Upper Gulf. It was found that the tide levels were quite critical to the aerial photo interpretation due to the very gentle slope of the shorelines. No relationship was found between the land subsidence and the shoreline changes during the same period. There was some trend for the relationship with the occurrence of tropical cyclones. However more aerial photographs were needed before and after such occurrences. Other factors such as wave climate, reduction of mangrove area and decreasing of river sediment were also found having unclear relationship. This might due to inadequacy of the data presently existing and available to this study. It was concluded that the presently available data were inadequate to any studies related to the shoreline changes in the Upper Gulf, especially at Bang Khun Thian. A special task force was proposed to survey and collect necessary data and to do research works continuingly such that the problems of shoreline changes at Bang Khun Thian and the Upper Gulf could be delineated. The factors causing such changes and the corrective measures could then be identified sustainedly.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการเปลี่ยนแปลงชายฝั่ง -- ไทย -- บางขุนเทียน (กรุงเทพฯ)en_US
dc.subjectอ่าวไทยen_US
dc.subjectCoast changes -- Thailand -- Bang Khun Thian (Bangkok)en_US
dc.subjectThailand, Gulf of-
dc.titleสภาพการเปลี่ยนแปลงของชายฝั่งทะเลบางขุนเทียนen_US
dc.title.alternativeShoreline changes at Bang Khun Thianen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิศวกรรมแหล่งน้ำen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Isaraporn_it_front_p.pdf833.99 kBAdobe PDFView/Open
Isaraporn_it_ch1_p.pdf768.6 kBAdobe PDFView/Open
Isaraporn_it_ch2_p.pdf2.1 MBAdobe PDFView/Open
Isaraporn_it_ch3_p.pdf2.41 MBAdobe PDFView/Open
Isaraporn_it_ch4_p.pdf2.02 MBAdobe PDFView/Open
Isaraporn_it_ch5_p.pdf2.4 MBAdobe PDFView/Open
Isaraporn_it_ch6_p.pdf758.07 kBAdobe PDFView/Open
Isaraporn_it_back_p.pdf11.11 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.