Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65452
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศิริชัย ศิริกายะ-
dc.contributor.authorกฤษณ์ ทองเลิศ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-04-22T07:58:06Z-
dc.date.available2020-04-22T07:58:06Z-
dc.date.issued2545-
dc.identifier.issn9741722184-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65452-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (นศ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเข้าใจถึงลักษณะการผสานรูปแบบ การสื่อความหมายและจินตสาระของผู้รับสารเป้าหมายที่มีต่องานภาพถ่ายกับลายลักษณ์อักษรที่ปรากฏในงานโฆษณาทางสื่อพิมพ์และเพื่อให้เข้าใจถึงความสัมพันธ์ระหว่างระดับจินตนาการของผู้รับสารกับแนวโน้มของพฤติ กรรมที่เกิดจากงานโฆษณา ทั้งนี้โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพร่วมกับเทคนิคเชิงปริมาณ ประกอบด้วยการวิเคราะห์ตัวบทและการสัมภาษณ์กลุ่มเป้าหมาย โดยมีแบบจำลองการสื่อสารของจาคอบสันแนวคิดการสื่อสารด้วยภาพและลายลักษณ์อักษรและแนวคิดการสร้างโครงความคิดของบุคคล เป็นแนวทางในการศึกษา ผลการวิจัยพบว่าการผสานรูปแบบและการสื่อความหมายของงานภาพถ่ายกับลายลักษณ์อักษรใช้วิธีการต่าง ๆ ดังนี้ 1) หลักการแทนที่ประกอบด้วย ก) การใช้รูปสัญญะของภาษาแทนที่ภาพ โดยการประกอบสร้างภาพขึ้นด้วยตัวอักษรเพื่อให้ผู้รับสารสร้างภาพในจินตนาการ ข) การใช้ภาพแทนที่รูปสัญญะของลายลักษณ์อักษรเป็นการสื่อความโดยความเหมือน 2)การใช้รูปสัญญะเดียวกันเพื่อแสดงคุณลักษณะทวิภาวะของทั้งภาพและภาษาเพื่อสื่อความหมายสารสนเทศและอารมณ์ความรู้สึกพร้อมกัน 3) การซ้อนหรือการวางเคียงกันอย่างเสริมเกื้อกูลกันของภาพและลายลักษณ์อักษรโดยการใช้รหัสการ์ตูนและการอุปลักษณ์เชิงภาพ ในส่วนของจินตสาระของผู้รับสารพบว่าจินตสาระหลักประกอบด้วยจินตสาระเกี่ยวกับ กระบวนการใช้สินค้าหรือบริการ ผลจากการใช้สินค้าหรือบริการของงานโฆษณา และวิธีการสื่อสารของตัวงานเอง ผลการวิจัยยังพบอีกว่า ระดับจินตนาการของผู้รับสารที่เกิดจากการรับสารจากงานภาพถ่ายกับลายลักษณ์อักษรมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการคาดทำนาย แนวโน้มพฤติกรรมที่เกิดจากการดูชิ้นงานโฆษณา-
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research are to examine the formation, signification, and imagination themes of photo-text target groups in printed advertisements as well as the relationship between the audience's imagination levels and the behavioral tendency initiated by advertisements. This study applies a combination of qualitative and quantitative research methods, putting an emphasis on textual analysis and target group interview. Jakobson's communication model, pictorial and textual communication, including personal construct approaches are used as conceptual framework for this study. At the completion of this study, it is found that the formation and signification of photo-text employ the following measures. 1) Substitution method comprising of A) the use of written sign in place of pictorial sign in the form of calligram เท order to create images เท the mind of the audience, and B) the use of pictorial sign in place of written sign to convey meanings by similarity. 2) The use of identical signs to illustrate the dual characteristics of both the photograph and the text in order to simultaneously convey information and emotion. 3) Superimposition and complementary juxtaposition of the photography and the text by using cartoon codes, and pictorial metaphor. As regards the imagination themes of the audience. It is found that the main imagination themes are composed of those relating to product or service consumption process, the consequences of product or service consumption in advertisements and the communicating method of the advertisements themselves. It is also found that the audience's imagination levels resulting the perception of photo-text correlate positively with the behavioral tendency resulting from exposure to printed advertisements.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2002.506-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectโฆษณาen_US
dc.subjectการสื่อสารen_US
dc.subjectจินตนาการen_US
dc.subjectสิ่งพิมพ์en_US
dc.subjectAdvertisingen_US
dc.subjectCommunicationen_US
dc.subjectImaginationen_US
dc.subjectPublicationsen_US
dc.titleการผสานรูปแบบ การสื่อความหมายและจินตสาระของผู้รับสารเป้าหมาย ที่มีต่องานภาพถ่ายกับลายลักษณ์อักษรในงานโฆษณาทางสื่อสิ่งพิมพ์en_US
dc.title.alternativeFormation, signification, and imagination themes of photo-text target groups in printed advertisementsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineนิเทศศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSirichai.S@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2002.506-
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Grit_th_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ896.68 kBAdobe PDFView/Open
Grit_th_ch1_p.pdfบทที่ 1923.43 kBAdobe PDFView/Open
Grit_th_ch2_p.pdfบทที่ 21.86 MBAdobe PDFView/Open
Grit_th_ch3_p.pdfบทที่ 33.3 MBAdobe PDFView/Open
Grit_th_ch4_p.pdfบทที่ 45.25 MBAdobe PDFView/Open
Grit_th_ch5_p.pdfบทที่ 52.75 MBAdobe PDFView/Open
Grit_th_ch6_p.pdfบทที่ 6955.8 kBAdobe PDFView/Open
Grit_th_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก753.01 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.