Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65487
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชัยชนะ นิ่มนวล-
dc.contributor.advisorรวิวรรณ นิวาตพันธุ์-
dc.contributor.authorปราณี ธนกำธร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-04-24T03:57:09Z-
dc.date.available2020-04-24T03:57:09Z-
dc.date.issued2545-
dc.identifier.isbn9741710623-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65487-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับและปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุรภาพจิตและปัญหาการปรับตัว กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ นิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 1 ถึง 3 คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในภาคการสิกษาปลาย ปีการศึกษา 2544 ทุกคน จำนวนทั้งสิ้น 514 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือแบบวัดพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิต และแบบสอบถามเกี่ยวกับการปรับตัว สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Pearson Product of Moment Coefficient, Unpair t-test, One-way ANOVA และ multi linear regression ผลการศึกษาพบว่า นิสิต1ชั้นปีที่ 1 ถึง 3 คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในภาคการศึกษาปลายปีการศึกษา 2544 มีค่าเฉลี่ยพฤติกรรมกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิตโดยรวมและโดยแยกแต่ละด้านแล้วอยู่ใน ระดับปานกลาง โดยมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านการบริหารเวลาอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และมีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านการปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาน้อยที่สุด ปัจจัยมีผลต่อพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิต มี 4 ตัวแปรคือ (1) การจบจากโรงเรียนเอกเพศ มีผลต่อการลดพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านการติดต่อสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ด้านการดูแลตนเองโดยทั่วไปและการดูแลตนเองโดยรวม (2) การเรียนในชั้นปีที่สูงขึ้นมีผลต่อการเพิ่มพฤติกรรมการดูแลตนเองโดยทั่วไปแต่ลดพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านการพัฒนาการรู้จักตนเอง (3) การมีรายได้ส่วนตัวมากมีผลต่อการเพิ่มพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านการเผชิญปัญหาและด้านการพัฒนาและดำรงระบบสนับสนุนทางสังคม (4) เพศหญิงมีผลต่อการเพิ่มพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านการบริหารเวลาที่มีประสิทธิภาพ และด้านการปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนา สำหรับปัญหาการปรับตัวพบว่ากลุ่มตัวอย่าง มีค่าเฉลี่ยปัญหาการปรับตัวด้านการเรียน ด้านหลักสูตรและการสอน ด้านอารมณ์อยู่ในระดับปานกลาง และมีค่าเฉลี่ยปัญหาการปรับตัวด้านลังคม ด้านสุขภาพและด้านการเงินและที่อยู่อาศัยอยู่ในระดับน้อย ปัจจัยมีผลต่อปัญหาการปรับตัว มี 5 ตัวแปรคือ (1) การเรียนในชั้นปีที่สูงขึ้นมีผลต่อการลดปัญหาการปรับตัวด้านการเรียน ด้านหลักสูตรและการสอน ด้านอารมณ์และการปรับตัวโดยรวม (2) เพศหญิงมีผลต่อการลดปัญหาการปรับตัวด้านหลักสูตรและการสอน ด้านสังคม และด้านการเงินและที่อยู่อาศัย (3) การมีรายได้ส่วนตัวมากมีผลต่อการลดปัญหาการปรับตัวด้านอารมณ์และด้านสังคม (4) การเข้ามาเรียนในคณะแพทยศาสตร์โดยไม่ได้สอบผ่านทบวงมีผลต่อการลดปัญหาการปรับตัวด้านอารมณ์ (5) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีมีผลต่อการลดปัญหาการปรับตัวด้านหลักสูตรและการสอน เมื่อนำพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิตมาหาความสัมพันธ์กับปัญหาการปรับตัว พบว่ามีความสัมพันธ์กันในทางลบ-
dc.description.abstractalternativeThe purpose of the research is to investigate the level and factors influencing the psychological self care and adjustment problems. 514 subjects were recruited from all the first to the third year medical students in the last semester of the 2544 academic year. The research instruments consist of psychological self-care questionnaires and adjustment problem questionnaires. The data were analyzed using SPSS/PC for percentage, mean, standard diviation, Pearson Product of Moment Coefficient, Unpaired-t-test, analysis of variance (ANOVA) and multi linear regression. The results reveal that, for the first to the third year medical students, the averages of psychological self care both in total and by section are in the medium level. Whereas the highest average is on the time management self care, the lowest one is on the religious practice self care. There are 4 factors influencing the psychological self care : 1) Previously finisning boy-only or girl only school decreases the level of psychological self care in effective communication, general self care ,and self care in total. 2) The year of medical schooling increases general self care but decreases self -knowledge. 3) The high monthly allowance increases the problem solving 1and the development of social supporting system. 4) Female increases effective time management 1and religious practice. Regarding the adjustment problems, the results reveal that the averages of studying, curriculum and teaching procedure, and emotional adjustment problems are in the medium level whereas the averages of social, physical 1 and financial and living conditional adjustment problems are in the low level. There are 5 factors associated with the adjustment problems : 1) The year of medical schooling decreases the level of studying, curriculum and teaching procedure, emotional adjustment problems ,and the adjustment in total. 2) Female decreases the level of curriculum and teaching procedure, social, financial and living conditional adjustment problems. 3) The high monthly allowance decreases the level of emotional, and social adjustment problems. 4) Entering the Faculty of Medicine by those other than the usual entrance examination decreases the level of emotional adjustment problems. 5) The high GPAX decreases the level of curriculum and teaching procedure adjustment problems. There is negative correlation between the psychological self care and adjustment problems-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ -- นักศึกษาen_US
dc.subjectนักศึกษาแพทย์ -- สุขภาพจิตen_US
dc.subjectการดูแลสุขภาพด้วยตนเองen_US
dc.subjectการปรับตัว (จิตวิทยา)en_US
dc.subjectChulalongkorn University. Faculty of Medicine -- Studentsen_US
dc.subjectMedical students -- Mental healthen_US
dc.subjectSelf-care, Healthen_US
dc.subjectAdjustment ‪(Psychology)‬en_US
dc.titleพฤติกรรมการดูแลตนเองด้านสุขภาพจิต และปัญหาการปรับตัวของนิสิตแพทย์ชั้นปีที่ 1 ถึง 3 คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.title.alternativePsychological self care and adjustment problems of the first to the third year medical students at Faculty of Medicine, Chulalongkorn Universityen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineสุขภาพจิตen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorChaichana.N@Chula.ac.th-
dc.email.advisorRaviwan.N@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Pranee_th_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ833.96 kBAdobe PDFView/Open
Pranee_th_ch1_p.pdfบทที่ 1795.12 kBAdobe PDFView/Open
Pranee_th_ch2_p.pdfบทที่ 2942.24 kBAdobe PDFView/Open
Pranee_th_ch3_p.pdfบทที่ 3716.16 kBAdobe PDFView/Open
Pranee_th_ch4_p.pdfบทที่ 41.41 MBAdobe PDFView/Open
Pranee_th_ch5_p.pdfบทที่ 5912 kBAdobe PDFView/Open
Pranee_th_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก1.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.