Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65501
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสุวัฒนา สุวรรณเขตนิคม-
dc.contributor.advisorประสาร มาลากุล ณ อยุธยา-
dc.contributor.authorศิริพร วิริยะบัญชา-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-04-24T05:43:07Z-
dc.date.available2020-04-24T05:43:07Z-
dc.date.issued2554-
dc.identifier.isbn9740307701-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65501-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544en_US
dc.description.abstractการวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลของการใช้รูปแบบการฝึกทักษะการแก้ปัญหาความขัดแย้งทางสังคมตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ที่มีต่อการพัฒนาเชาวน์ปัญญาเชิงปฏิบัติด้านกฎหมายของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 2) เปรียบเทียบผลของการใช้รูปแบบการฝึกทักษะระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม 3) ศึกษาตรวจสอบประสิทธิผลของการใช้รูปแบบการฝึกทักษะ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ของโรงเรียนสังกัดกรมสามัญศึกษาในกรุงเทพมหานคร จำนวน 86 คน ซึ่งแบ่งออกเป็นกลุ่มทดลอง 43 คน และกลุ่มควบคุม 43 คน นักเรียนกลุ่มทดลองได้รับการสอนตามรูปแบบการฝึกทักษะการแก้ปัญหาความขัดแย้งทางสังคมตามแนวคิดคอนสฅรัคติวิสต์ และนักเรียนกลุ่มควบคุมไค้รันการสอนปกตินักเรียนทั้ง 2 กลุ่มได้รับการสอนคาบละ 50 นาที เวลา 11 คาบเท่ากัน เป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ (1) แผนการฝึกทักษะการแก้ปัญหาความขัคแย้งทางสังคมตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ (2) แบบทดสอบเชาวน์ปัญญาเชิงปฏิบัติด้านกฎหมาย ประกอบด้วย (2.1) แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจเนื้อหา (2.2) แบบทดสอบการแก้ปัญหาความขัดแย้งทางสังคม (2.3) แบบสังเกตพฤติกรรมกลุ่มและเดี่ยว (3) แบบประเมินความพึงพอใจต่อการสอนของนักเรียน (4) แบบแสดงความคิดเห็นของนักเรียนต่อความสำคัญจำเป็นของกฎหมาย (5) แบบรายงานการแสดงความคิดเห็นด้านกฎหมายที่เกิดจากการสร้างความรู้และประสบการณ์ในการเรียน และ (6) แบบประเมินความพึงพอใจต่อการสอนของครู การวัดเชาวน์ปัญญาเชิงปฏิบัติด้านกฎหมายมีทั้ง ก่อนและหลังการทดลอง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติทดสอบค่าที (t-test) และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า (1) การใช้รูปแบบการฝึกทักษะการแก้ปัญหาความขัดแย้งทางสังคมตามแนวคิดคอนสฅรัคติวิสต์มีผลต่อการพัฒนาเชาวน์ปัญญาเชิงปฏิบัติด้านกฎหมายของนักเรียน โดยที่คะแนนเชาว์ปัญญาเชิงปฏิบัติด้านกฎหมายหลังการทดลองของกลุ่มทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งค่าเฉลี่ยของคะแนนพัฒนาการ ประมาณร้อยละ 25.94 ของคะแนนเต็ม (2) คะแนนเชาวน์ปัญญาเชิงปฏิบัติด้านกฎหมายของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยกลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยของคะแนนสูงกว่ากลุ่มควบคุม ประมาณร้อยละ 17.93 ของคะแนนเต็ม (3) รูปแบบการฝึกทักษะการแก้ปัญหาความขัดแย้งทางสังคมตามแนวคิดคอนสฅรัคติวิสต์มีความเหมาะสมต่อการพัฒนาเชาวน์ปัญญาเชิงปฏิบัติด้านกฎหมาย และสามารถเพิ่มประสิทธิผลการเรียนรู้ของนักเรียนได้-
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were : 1) to study the effect of using social conflict resolution training model based on constructivist approach for development of practical intelligence in law of the upper secondary school students, 2) to compare tile effect of training model between experimental group and control group, and 3) to examine the effectiveness of training model. The sample consisted of 86 Mattayom Suksa Four students of Department of General Education, Bangkok. They were divided into two groups: an experimental group and a control group, comprising of 43 students in each group. The experimental group was taught by using social conflict resolution training model based on constructivist approach for a session of 50 minutes in each period, 11 consecutive periods for a duration of six weeks. The control group was taught by regular classroom teaching. The instruments for data collection were (1) Social Conflict Resolution Training Model Based on Constructivist Approach, (2) the practical intelligence tests composing of, (2.1) a knowledge comprehension test, (2.2) a social conflict resolution test, (2.3) and the behavioral observations of individual and group practices forms, (3) the evaluation forms of students learning satisfaction, (4) the forms of students’ attitude towards the necessity of law, (5) the report of legal opinion which was constructed by an individual student, and (6) the evaluation forms of teachers in teaching satisfaction. The practical intelligence in law were tested before and after the treatment. Analysis of data were done by t-test, as well as the content analysis. The results were as follows: 1) The using social conflict resolution training model based on constructivist approach effected on development of practical intelligence in law. The students in the experimental group had statistically higher posttest scores on the practical intelligence than those of the pretest scores at tile significant difference level of .05. The mean score of development was about 25.94 % of total test scores. 2) The students in the experimental group had statistically higher posttest scores on the practical intelligence than those of tile control group at the significant difference level of .05. The mean score of tile experimental group was higher than the control group about 17.93% of the total test scores. 3) The social conflict resolution training model based on constructivist approach was appropriate to develop a practical intelligence in law and increase of tile students’ learning effectiveness.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectเชาวน์en_US
dc.subjectปัญญาen_US
dc.subjectการแก้ปัญหาen_US
dc.subjectความขัดแย้งทางสังคมen_US
dc.subjectทฤษฎีสรรคนิยมen_US
dc.subjectระบบการเรียนการสอนen_US
dc.subjectนักเรียนมัธยมศึกษาen_US
dc.titleการพัฒนาเชาวน์ปัญญาเชิงปฏิบัติด้านกฎหมาย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยใช้รูปแบบการฝึกทักษะการแก้ปัญหาความขัดแย้งทางสังคม ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์en_US
dc.title.alternativeA development of practical intelligence inlaw of the upper secondary school students by using social conflict resolution training model based on constructivist approachen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineจิตวิทยาการศึกษาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Siriporn_vi_front_p.pdf931.29 kBAdobe PDFView/Open
Siriporn_vi_ch1_p.pdf1.12 MBAdobe PDFView/Open
Siriporn_vi_ch2_p.pdf3.09 MBAdobe PDFView/Open
Siriporn_vi_ch3_p.pdf1.6 MBAdobe PDFView/Open
Siriporn_vi_ch4_p.pdf1.24 MBAdobe PDFView/Open
Siriporn_vi_ch5_p.pdf1.49 MBAdobe PDFView/Open
Siriporn_vi_back_p.pdf10.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.