Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65574
Title: การนำเสนอแนวทางการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาค่านิยมทางพุทธศาสนา ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา
Other Titles: Proposed guideline for organizing instruction to develop Buddhist values of secondary school students
Authors: ณัฐสุดา จตุราภากุล
Advisors: วลัย พานิช
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Walai.P@chula.ac.th
Subjects: พุทธศาสนา -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
ค่านิยม
พุทธจริยธรรม
Buddhism -- Study and teaching (Secondary)
Values
Buddhist ethics
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาค่านิยมทางพุทธศาลนาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาในช่วงชั้นที่ 3 ในด้านเนื้อหาและวิธีการจัดการเรียนการสอน ตัวอย่างประชากรมี 3 กลุ่ม คือ ผู้เชี่ยวชาญด้านพระพุทธศาลนา 13 คน ครูผู้สอนวิชาพระพุทธศาลนา 117 คน และผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตรและการเรียนการสอนพระพุทธศาสนา 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามจำนวน 3 ชุด วิเคราะห์ขอมูลโดยการหาค่าร้อยละค่ามัชณิมเลขคณิต และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. เนื้อหาในสาระการเรียนรู้พระพุทธศาสนาตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544 ที่เหมาะสมสำหรับนำมาใช้ในการพัฒนาค่านิยมทางพุทธศาสนา 9 ประการ ตามแนวคิดของพระธรรมปิฎก [ป.อ. ปยุตฺโต] 1.1 ด้านการให้ทาน: อนาถบิณฑิกะ นางวิสาขา ศาสนพิธีประเภททานพิธีและบุญพิธี บุญกิริยาวัตถุ 10 และพุทธศาลนสุภาษิต สุโข ปุญฺญสฺส ธุจฺจโย - การสั่งสมบุญย่อมนำสุขมาให้ 1.2 ด้านความเมตตากรุณา : สวดมนต์แปลและแผ่เมตตา 1.3 ด้านความสันโดษ: พระมหากัสสปะ มิตตวินทุกชาดก และสุวัณณหังสชาดก 1.4 ด้านความไม่ประมาท : พุทธประวัติตอนเทวทูต 4 อภิณหปัจจเวกขณ์ 5 ไตรลักษณ์ พุทธศาสนสุภาษิต อตฺตนา โจทยตฺตานํ - จงเตือนตนด้วยตน และ ปมาโท มจฺจุโน ปทํ - ความประมาทเป็นทางแห่งความตาย 1.5 ด้านการพึ่งตน : พุทธศาสนสุภาษิต อตฺตนา โจทยตฺตานํ - จงเตือนตนด้วยตน และมงคล 38 เรื่องมีศิลปวิทยา 1.6 ด้านการใช้ปัญญา : โกศล 3 ปัญญา 3 พุทธศาลนสุภาษิต นิสมฺม กรณํ เสยฺโย – ใคร่ครวญก่อนแล้วจึงทำ พระสารีบุตร พระเขมาเถรี พัฒนาการเรียนรู้ด้วยวิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ และพุทธศาสนสุภาษิต สุลฺสูลํ ลภเต ปณฺญํ - ผู้ฟังด้วยดีย่อมได้ปัญญา 1.7 ด้านการฝึกตน : ไตรสิกขา บุพนิมิตของมัชณิมปฏิปทา มรรคมีองค์ 8 บุญกิริยาวัตถุ 10 พุทธศาสนสุภาษิต อตฺตา หเว ซิตํ เลยโย - ชนะตนนั่นแลดีกว่า กรรมฐาน 2 และราโชวาทชาดก 1.8 ด้านการเห็นคุณค่าชีวิต : สุข 2 (กายิก. เจตสิก) สุข 2 (สามิส, นิรามิส) อัตถะ 3 แสะคิหิสุข (กามโภคีสุข 4) 1.9 ด้านความเป็นอิสระไม่ยึดติด: ไตรสิกขา ไตรลักษณ์และมรรคมีองค์ 8 2. วิธีการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมสำหรับนำมาใช้ในการพัฒนาค่านิยมทางพุทธศาสนา 2.1 การกำหนดวัตถุประสงค์: ควรเน้นทั้งด้านพุทธิพิสัย จิตพิสัย และทักษะพิสัย 2.2 การสร้างบรรยากาศในการเรียนการสอน : สถานที่สอนมีความสะอาดและสงบ มีสิ่งโน้มน้าวจิตใจให้เกิดค่านิยมทางพุทธศาสนา มีพื้นที่เอื้อต่อการฝึกปฏิบัติ และปฏิสัมพันธ์อันดีระหว่างครูกับศิษย์ 2.3 การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน : จัดกิจกรรมที่หลากหลาย เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง และเน้นการนำมาใช้ในชีวิตจริง กิจกรรมการเรียนการลอนในห้องเรียน ได้แก่ การสาธิตและฝึกปฏิบัติ การแสดงละคร การแสดงบทบาทสมมติการอภิปราย การสร้างสถานการณ์จำลอง การใช้กรณีตัวอย่าง การศึกษาค้นคว้า กิจกรรมเสริมหลักสูตรที่เหมาะสมมากที่สุด ได้แก่ โครงการกิจกรรมทางศาลนาร่วมกันระหว่างวัด โรงเรียน และชุมชน การสัมภาษณ์พระสงฆ์หรือบุคคลตัวอย่าง และการจัดค่ายคุณธรรม 2.4 สื่อการเรียนการสอน : เน้นสื่อที่สร้างความเข้าใจในสิ่งที่เป็นนามธรรม ได้แก่ นิทานชาดก ข่าว แหล่งการเรียนรู้ในชุมชน และวิทยากรที่เป็นพระสงฆ์ 2.5 การวัดและประเมินผล : เน้นการนำมาใช้ในชีวิตจริง โดยประเมินผลด้วยเครื่องมือที่หลากหลาย และเปิดโอกาลให้นักเรียน เพื่อนนักเรียน และผู้ปกครอง มีส่วนร่วมในการประเมินผล
Other Abstract: The purpose of this research was to propose guideline for organizing instruction to develop Buddhist values of secondary school students at keystage three, in the aspect of content and instructional management. Samples were consisted of 13 experts on Buddhism, 177 Buddhism subject teachers and 10 experts on Buddhism curriculum and instruction. Research tools were 3 questionnaire forms. Data were analyzed by means of percentage, arithmetic means and standard deviation. The research finding were as follow: 1. Content area of Buddhism based on the basic education curriculum B.E, 2544 at the lower secondary education level appropriate for organizing instruction to develop the nine Buddhist values based on P. A. Payutto were : The charity : Anathpindika and Viakha were the Buddhist followers being praised as good models for the charity, the charitable and meritorious ceremony, Punnakiriyavatthu , and the Buddhist proverbs saying the accumulation of good deeds brings to happiness; the loving - kindness and compassion : chant and radiation to wish others well and happy; the contentment : Pamahakassappa was the Buddhist disciple being praised as a good model for the contentment, Mittavintuka and Suvannahangsa Jataka were the stories regarding the greed; the carefulness : a part of Buddha' s life-story concerning Devaduta, Abhinhapaccavek, Tilakkhana, the Buddhist proverbs saying by self do you censure yourself and carelessness is the path to death; the self - making for protection : the Buddhist proverbs saying by self do you censure yourself, and the 38 good omens regarding knowledge of the arts and sciences; using a knowledge : Rosalia, Parma, the Buddhist proverbs saying it is advisable to think before doing anything, Pasanbud and Pakhamatherl were the Buddhist disciples being praised as good models for having a great knowledge, Yonisomanaskiara, and the Buddhist proverbs saying good listeners gain knowledge the self - training : Sikkhattaya, Magguppada-pubbanimitta, atthangika-magga, Punnakiriyavatthu, the Buddhist proverbs saying the top of all the best is self-conquest, Kammatthana, and Rajovada-Jatak is the birth story of the Buddha regarding to a victory of human’ s mind; Life - appreciation : Sukha (Kayika-sukha, Cetasika-sukha), Sukha (Samisa-sukha, Niramisa- sukha), Attha, and Gihisukha; the freedom : Sikkhattaya, Tilakkhana, and atthangika-magga. 2. Instructional management appropriate for developing the Buddhist values were : setting Objectives : knowledge, attitude, and practice should be emphasized; atmosphere and environment : cleanliness and quietness, set something to drawing learners' mind to Buddhist values, providing available space for practice, and a good interaction between teacher and students; learning activities : varieties of child-center activities, active learning and the application for daily life should be emphasized. Classroom activities were demonstration, drama, role play, discussion, simulation, case study, and research; main extra curriculum activities were projects co-operating with temples, schools and communities, interviewing monks or persons as good models, and organizing morality camp; instructional media : media should clarify the abstract concepts such as Jataka, news, community learning resources, and monks as resource-persons; measurement and evaluation : the application for daily life by using varieties of tools, students, classmates and parents should be involved in the evaluative process.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การสอนสังคมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65574
ISBN: 9741744579
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nathsuda_ja_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ877.04 kBAdobe PDFView/Open
Nathsuda_ja_ch1_p.pdfบทที่ 1755.08 kBAdobe PDFView/Open
Nathsuda_ja_ch2_p.pdfบทที่ 22.27 MBAdobe PDFView/Open
Nathsuda_ja_ch3_p.pdfบทที่ 3858.37 kBAdobe PDFView/Open
Nathsuda_ja_ch4_p.pdfบทที่ 41.48 MBAdobe PDFView/Open
Nathsuda_ja_ch5_p.pdfบทที่ 51.16 MBAdobe PDFView/Open
Nathsuda_ja_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก2.56 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.