Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65614
Title: การติดตามมวลตะกอนที่เกิดจากการขุดลอกปากแม่น้ำ บริเวณอ่าวไทยรูปตัวกอ โดยใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์
Other Titles: Tracking the distribution of sediment caused by river mouth dredging in the inner Gulf of Thailand by using numerical models
Authors: ธนานพ รัตนจริยา
Advisors: สุริยัณห์ สาระมูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Suriyan.S@Chula.ac.th
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาการเคลื่อนที่ของมวลตะกอนที่นำมาทิ้ง ณ จุดทิ้งมูลตะกอน แต่ละเดือน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561 - 31 ธันวาคม 2561 ในบริเวณอ่าวไทยรูปตัวกอ พิกัดตำแหน่ง 13°21'17.8"N 100°42'27.9"E ที่ได้จาก การขุดลอกบริเวณปากแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อดูแลและรักษาสภาพลำน้ำ โดยการศึกษาครั้งนี้ใช้แบบจำลองอุทก พลศาสตร์ 3มิติและแบบจำลองการเคลื่อนตัวของตะกอนจาก Delft3d-FLOW และ Delft3d-PART แบบจำลองอุทกพลศาสตร์ใช้องค์ประกอบน้ำขึ้นน้ำลง 8 ตัว ได้แก่ K1, Q1, O1, P1, M2, S2, K2, N2 เป็น แรงเคลื่อนที่ขอบเขตเปิดของแบบจำลอง ปรับเทียบค่าองค์ประกอบน้ำขึ้นน้ำลง โดยใช้ข้อมูลระดับน้ำของ เดือนกุมภาพันธ์ 2551 จากสถานีตรวจวัดน้ำ บางปะกง แม่กลอง ป้อมพระจุลฯ และอ่าวอุดม ในส่วนของ แบบจำลองการเคลื่อนตัวของตะกอนได้ทำการแบ่งชั้นน้ำออกเป็น 5 ชั้น แบ่งเป็น 0, 1.83, 5.50, 9.16, 12.83 เมตรจากผิวน้ำ และทำการทิ้งตะกอนในชั้นที่ 3 ลักษณะตะกอนที่น้ำมาทิ้งมีเปอร์เซ็นต์ของทรายในดิน 5.2 % ทรายแป้ง 21.3% และดินเหนียว 73.5 % น้ำหนักต่อน้ำหนัก พบว่าในเดือนธันวาคม ตะกอนมีการกระจายตัว มากที่สุดซึ่งเป็นผลมาจากทิศทางกระแสน้ำที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และอัตราการจมตัวเยอะที่สุดจะอยู่ ในช่วงฤดูฝน เพราะกระแสน้ำที่เกิดจากความแตกต่างของระดับน้ำขึ้นน้ำลงมีค่าน้อยทำให้แรงที่จะพัดพา ตะกอนขึ้นไปมวลน้ำชั้นบนมีน้อย
Other Abstract: The study of distribution of monthly dumped sediment at dumping area (13°21'17.8"N 100°42'27.9"E) in the inner gulf of Thailand during 1 January - 31 December 2018 was investigated using numerical models. The sediments were dredged from the mouth of the Chao Phraya river to maintain waterway conditions. In this study, Delft3DFLOW, 3-D hydrodynamic model and Delft3D-PART particle tracking model were used. The 8 tidal components, which are K1, Q1, O1, P1, M2, S2, K2 and N2 were applied at the open boundary of hydrodynamic model. To calibrate the hydrodynamic model, February 2008 observed water levels at Bang Pakong, Mae Klong, Phrachul Fort and Ao Udom were compared with the modeled water levels. For the Particle tracking model, the water column has been divided into 5 layers, which are 0, 1.83, 5.50, 9.16 and 12.83 meters deep measured from water surface and the sediments were released at the 3rd layer. The sediment compositions were 5.2% w/w of sand, 21.3% w/w of silt and 73.5% w/w of clay. The particle tracking model result shows that, in December found the most widely distributed sediment because of the water flow is fluctuated all times. In the rainy season, there was a most sinking rate because of the currents due to low difference in the water level, causing less force to blow up the sediment up to the upper layers.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2561
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65614
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tananope Ra_Se_2561.pdf3.57 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.