Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65633
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุจารี บุรีกุล | - |
dc.contributor.advisor | กรณ์รวี เอี่ยมสมบูรณ์ | - |
dc.contributor.author | อนุรักษ์ เกตุเลขา | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2020-05-01T07:25:01Z | - |
dc.date.available | 2020-05-01T07:25:01Z | - |
dc.date.issued | 2561 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65633 | - |
dc.description | โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2561 | en_US |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้ศึกษาการเปลี่ยนแปลงของค่าอัลคาลินิตี้และปริมาณแร่ธาตุหลักจำเป็น ได้แก่ โซเดียม โพแทสเซียม แมกนีเซียม และแคลเซียม ที่ลูกกุ้งก้ามกรามระยะโพสลาร์วา 7 ดึงไปใช้ในการเจริญเติบโตในน้ำ ทดลองเลี้ยงความเค็ม 2 psu ตลอดการเลี้ยง 30 วัน เปรียบเทียบผลการเลี้ยงระหว่างชุดทดลอง ได้แก่ ชุด ควบคุม (น้ำเลี้ยงเจือจางจากนาเกลือ) ชุดการทดลอง 1 (น้ำเลี้ยงจากเกลือทะเลผง) และชุดการทดลอง 2 (น้ำ เลี้ยงจากเกลือทะเลผงที่มีการเสริมแร่ธาตุ) เก็บตัวอย่างน้ำเลี้ยงมากรองและวิเคราะห์แร่ธาตุหลักด้วยเทคนิค Inductively coupled plasma - optical emission spectrometry (ICP - OES) และค่าอัลคาลินิตี้ด้วย วิธี Gran potentiometric titration ค่าอัลคาลินิตี้ที่ตรวจวิเคราะห์อยู่ในช่วงที่เหมาะสมต่อการเพาะเลี้ยงและมีค่าระหว่าง 105.0 –134.7 mg/L as CaCO₃ ขณะที่ในระหว่างวันที่ 12 – 30 ของการเลี้ยงปริมาณความเข้มข้นของแร่ธาตุหลัก ได้แก่ โซเดียม โพแทสเซียม แมกนีเซียม และแคลเซียมในชุดทดลอง มีค่าค่อนข้างคงที่ โดยมีค่าระหว่าง 474.2 - 654.2, 43.0 – 59.4, 45.5 – 292.9 และ 78.9 – 156.6 mg/L ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบค่า สัดส่วน พบว่าคู่สัดส่วนระหว่างโซเดียมและโพแทสเซียมมีค่าลดลงในช่วงระหว่างวันที่ 12 - 21 ของการ ทดลองเลี้ยง จากนั้นมีค่าค่อนข้างคงที่ ในขณะที่คู่สัดส่วนระหว่างแมกนีเซียมและแคลเซียมมีค่าค่อนข้างคงที่ ตลอดระยะเวลาการเลี้ยง หลังสิ้นสุดการทดลองปริมาณลูกกุ้งมีปริมาณน้อยจึงไม่ได้ทำการเปรียบเทียบอัตรา การรอดตายของลูกกุ้ง แต่สำหรับความยาวลำตัวที่เพิ่มขึ้นเมื่อสิ้นสุดการทดลองพบว่าลูกกุ้งที่เลี้ยงในน้ำเลี้ยง เจือจางจากนาเกลือ (ชุดควบคุม) มีความยาวเฉลี่ยเพิ่มขึ้นสูงสุด 1.81 เซนติเมตร รองลงมาได้แก่ ชุด การทดลอง 1 และ 2 มีความยาวเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย 1.41 และ 1.39 เซนติเมตร ตามลำดับ กล่าวได้ว่าความยาว ที่เพิ่มขึ้นของลูกกุ้งก้ามกรามในชุดควบคุมมีค่ามากกว่าชุดการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P <0.05) ทั้งนี้การเสริมแร่ธาตุหลักในน้ำทดลองเลี้ยงที่เตรียมจากเกลือทะเลผงมีความสำคัญเพื่อควบคุมค่าอัลคาลินิตี้ในน้ำเลี้ยงให้เหมาะสม แต่การเสริมปริมาณแร่ธาตุรองที่พบในน้ำทะเลเจือจางจากชุดควบคุมมีความจำเป็นต่อการเติบโตของลูกกุ้ง | en_US |
dc.description.abstractalternative | This study monitored the change of alkalinity and major essential elements i.e. Sodium (Na), Potassium (K), Magnesium (Mg) and Calcium (Ca) in cultured water for shrimp larvae (PL7) during 30 hatching days with 4 feeding times a day and remove waste every day. Survival and growth were compared in 3 sets of low salinity cultured water (at 2 psu) experiment namely; a control set (diluted cultured water from a salt pond’s water), the 1st experiment (diluted cultured water from sea salt powder) and the 2nd experiment (diluted cultured water from sea salt powder with supplement of major elements). Cultured water was collected, filtered and analyzed for major minerals using with Inductively Coupled Plasma - Optical Emission Spectrometry (ICP - OES) technique and alkalinity. Result shows that alkalinity in all experiment was in appropriate value for aquaculture and ranged in between 105.0 – 134.7 mg/L as CaCO₃. Concentration of 4 major elements; Na, K, Mg, Ca in all sets measured during 12th – 30th day of experiment were quite constant and ranged between 474.2 - 654.2, 43.0 – 59.4, 45.5 – 292.9 and 78.9 – 156.6 mg/L, respectively. Na:K ratio was decreased during the day 12th to 21st and remained constant until the end while; Mg:Ca ratio was remained quite constant thorough out the experiment. At the end, number of shrimp larvae survived in the experiment was relatively low, thus survival rate was not determined. But shrimp larvae in control set displayed the best growth rate in which calculated from the increased in length and was 1.81 cm longer. While, in the 1st and 2nd experiment, the growth rate was 1.41 and 1.39 cm longer in average. The growth rate in the control set was greater significantly (P < 0.05) which indicated that in the uses of salt powder for cultured water, it is necessary to supplement not only the major essential elements (maintain alkalinity) but also minor and trace element in similar concentration to seawater, for better growth rate. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.title | การเสริมแร่ธาตุหลักจำเป็นในการอนุบาลลูกกุ้งก้ามกราม Macrobrachium rosenbergii (de Man) ระยะโพสลาร์วา | en_US |
dc.title.alternative | Major mineral supplementary for nursing Macrobrachium rosenbergii (de Man) postlarvae | en_US |
dc.type | Senior Project | en_US |
dc.email.advisor | sujaree.b@chula.ac.th | - |
dc.email.advisor | Kornrawee.A@Chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Sci - Senior Projects |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Anurak Ke_Se_2561.pdf | 2.23 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.