Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65641
Title: ความหลากหลายทางชนิดและความชุกชุมของมดในแปลงปลูกป่าระหว่าง แปลงปลูกสักและแปลงปลูกไม้วงศ์ยางบริเวณพื้นที่โครงการพัฒนาที่ดิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จังหวัดสระบุรี
Other Titles: Diversity and abundance of ants in the forest plantation between teak plantation and dipterocarpaceae plantation at Chulalongkorn University Land Development Project, Saraburi Province
Authors: กานตวรรณ พรหมบุตร
Advisors: ชัชวาล ใจซื่อกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Chatchaw.C@Chula.ac.th
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: โครงการพัฒนาที่ดินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จังหวัดสระบุรี มีการจัดการปลูกต้นสัก และไม้วงศ์ยาง เพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศ โดยต้นไม้ทั้ง 2 กลุ่ม มีผลต่อปัจจัยทางกายภาพ และชีวภาพหลายประการ ซึ่งอาจจะส่งผล กระทบต่อความหลากหลาย และความชุกชุมของมด มีบทบาทสำคัญที่เป็นตัวชี้วัดในระบบนิเวศได้ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความหลากหลายทางชนิด และความชุกชุมของมดในพื้นที่แปลงปลูกสัก และแปลง ปลูกไม้วงศ์ยางภายในโครงการพัฒนาที่ดินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จังหวัดสระบุรี โดยใช้วิธีการเก็บตัวอย่างมด 3 วิธีคือ การจับด้วยมือภายในเวลาที่กำหนด, การใช้กับดักหลุม และการร่อนดิน ทำการเก็บตัวอย่างมดเดือนละ 1 ครั้ง ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2561 - เดือนเมษายน 2562 ชนิดของมดทั้งหมดที่พบในพื้นที่ระหว่าง การศึกษามี 15 ชนิด โดยพบในแปลงปลูกสัก 14 ชนิด และในแปลงปลูกไม้วงศ์ยาง 11 ชนิด โดยมี 10 ชนิดที่พบ ได้ทั้ง 2 พื้นที่ จากจำนวนมดทั้งหมด 7,884 ตัว พบในแปลงปลูกสัก (109.27 ± 207.9 ตัว/ครั้ง) น้อยกว่าใน แปลงปลูกไม้วงศ์ยาง (416.33 ± 1372.2 ตัว/ครั้ง) (t = 7.32, df = 5, P = 0.0007) โดยมดที่มีความชุกชุมมาก ที่สุดคือ มดง่าม Carebara diversa พบในแปลงปลูกไม้วงศ์ยาง (921.00 ± 290.2 ตัว/ครั้ง) มากกว่าในแปลง ปลูกสัก (131.33 ± 185.7 ตัว/ครั้ง) (t = 6.86, df = 5, P = 0.001) และรองลงมา คือมดน้ำผึ้ง Anoplolepis gracilipes พบในแปลงปลูกสัก (67.67 ± 30.1 ตัว/ครั้ง) และในแปลงปลูกไม้วงศ์ยาง (91.33 ± 38.3 ตัว/ครั้ง) จากการศึกษาความหลากหลายของมดพบว่า ในแปลงปลูกสักมีความหลากหลายมากกว่าแปลงปลูกไม้วงศ์ยาง ซึ่งอาจเนื่องมาจากอุณหภูมิอากาศในแปลงปลูกสักที่ต่ำกว่า (32.96 ± 4.4 °C) เมื่อเทียบกับแปลงปลูกไม้วงศ์ ยาง (35.63 ± 1.9 °C) แต่อุณหภูมิดินในแปลงปลูกไม้วงศ์ยางที่ต่ำกว่า (28.84 ± 1.9 °C) เมื่อเทียบกับแปลง ปลูกสัก (30.94 ± 2.5 °C) (t = 7.36, df = 5, P = 0.0007) เนื่องจากการกวาดซากใบไม้ในแปลงปลูกสัก ความชุกชุมของมดพบในแปลงปลูกไม้วงศ์ยางมากกว่าในแปลงปลูกสัก เนื่องจากจำนวนที่มากของมดง่ามที่อาจล่าสัตว์ ขาปล้องโดยเฉพาะปลวกในแปลงไม้วงศ์ยาง ความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิอากาศ และอุณหภูมิดิน มีผลต่อ ความหลากหลาย และความชุกชุมของมดในพื้นที่ศึกษา นอกจากนี้การจัดการพื้นที่ เช่น การจัดการซากใบไม้ เป็นต้น มีผลต่อความหลากหลายทางชีวภาพของมด โดยการปรับเปลี่ยนอุณหภูมิผิวดิน
Other Abstract: Teak and dipterocarps have been planted to restore the ecosystem at Chulalongkorn University Land Development Project, Saraburi Province. These two groups of trees affect physical factors and many biological factors which may affect the diversity and abundance of ants, an important bioindicator in the ecosystem. This research was to compare the diversity and abundance of ants between the teak plantation and the dipterocarps plantation at Chulalongkorn University Land Development Project, Saraburi Province. Three sampling methods, 1) hand capture with constant time, 2) pitfall trap and 3) soil sifting, had been used to collect ant samples monthly between November 2018 - April 2019. The overall species richness of ants was 15 species with 14 species found in the teak plantation and 11 species found in the dipterocarps plantation, and 10 species found in both plantations. A total of 7,884 ant individuals was found from both sites. Ants in the teak plantation (109.27 ± 207.9 indv./sampling) was less abundant than ants in the dipterocarps plantation (416.33 ± 1372.2 indv./sampling), (t=7.32, df=5, P=0.0007). The most abundant ants were Carebara diversa which was found in the dipterocarps plantation (921.00 ± 290.2 indv./sampling) more than in the teak plantation (131.33 ± 185.7 indv./sampling), (t=6.86, df=5, P=0.001). The second most abundant species, Anoplolepis gracilipes was comparable between the teak plantations (67.67 ± 30.1 indv./sampling) and in the dipterocarps plantation (91.33 ± 38.3 indv./sampling). In conclusion, ant in the teak plantation is more diverse than in the dipterocarps plantation possibly due to lower air temperature in the teak plantation (32.96 ± 4.4 °C) than in the dipterocarps plantation. (35.63 ± 1.9 °C), but soil temperature in the dipterocarps plantation (28.84 ± 1.9 °C) was lower than in the teak plantation (30.94 ± 2.5 °C), (t=7.36, df=5, P=0.007) due to litter removal at the teak plantation. The high abundance of ants in the dipterocarps plantation were due to the dominance of Carebara diversa that may hunt for arthropod preys, such as termites, in the dipterocarps plantation. Differences between air and soil temperature influence ant diversity and abundance at the study site. Moreover, leaf litter removal may affect ant diversity through soil surface temperature.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสัตววิทยา. คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2561
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65641
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kantawan Ph_Se_2561.pdf18.84 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.