Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65643
Title: อนุกรมวิธานของชันโรงในภาคใต้ของประเทศไทย
Other Titles: Taxonomy of stingless bees (Hymenoptera: Meliponini) in southern Thailand
Authors: ภาณุกานต์ สกุลเกตุ
Advisors: ณัฐพจน์ วาฤทธิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Natapot.W@Chula.ac.th
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ชันโรงหรือผึ้งที่ไม่มีเหล็กไนถูกจัดอยู่ในกลุ่มผึ้ง corbiculate ที่มีลักษณะบางประการคล้ายผึ้งให้น้ำหวานแต่มีขนาดที่เล็กกว่า ในธรรมชาติชันโรงมีรูปแบบการดำรงชีวิตแบบสังคมแท้โดยมีนางพญาเพียงหนึ่งตัวต่อรังและมีชันโรงงานที่แบ่งหน้าที่แตกต่างกันในการทำงาน ชันโรงมีความสำคัญในการผสมเกสรดอกไม้ โดยที่เกษตรกรในบางพื้นที่จะนิยมเช่ารังชันโรงเพื่อช่วยผสมเกสรเพิ่มผลผลิตภายในสวน ในปัจจุบันมีชันโรงมากกว่า 500 ชนิดทั่วโลก โดยในประเทศไทยเคยมีรายงานของจำนวนชันโรงทั้งหมด 10 สกุล 32 ชนิด แต่ยังคงมีรายงานการค้นพบชันโรงชนิดใหม่ในประเทศไทยอย่างต่อเนื่องโดยล่าสุดที่จังหวัดสตูล อย่างไรก็ตามการศึกษาอนุกรมวิธานของชันโรงยังขาดข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญอีกหลายประการรวมทั้งรูปภาพประกอบและรูปวิธานที่ชัดเจนที่จะสามารถใช้จำแนกชนิดของชันโรงในประเทศไทยได้อย่างถูกต้องโดยเฉพาะในภาคใต้ของประเทศไทยที่ยังมีข้อมูลอยู่ไม่มากนัก ด้วยเหตุผลดังกล่าวผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะทบทวนอนุกรมวิธานของชันโรงในภาคใต้ของประเทศไทยโดยศึกษาลักษณะสัณฐานวิทยาจากตัวอย่างที่เก็บไว้ ณ พิพิธภัณฑสถานธรรมชาติวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2546 จนถึงปัจจุบัน และจากตัวอย่างที่เก็บจากภาคสนามในช่วงเดือนมกราคม ปี พ.ศ.2561 จำนวน 331 ตัวอย่าง จากผลการศึกษาสามารถระบุชันโรงในภาคใต้ของประเทศไทยได้ทั้งหมดจำนวน 7 สกุล 18 ชนิด ชันโรงที่พบทั้ง 7 สกุล ได้แก่ Geniotrigona Moure, 1961 จำนวน 42 ตัว , Homotrigona Moure, 1961 จำนวน 2 ตัว , Heterotrigona Schwarz, 1939 จำนวน 42 ตัว, Lisotrigona Moure, 1961 จำนวน 1 ตัว, Lepidotrigona Schwarz, 1939 26 ตัว, Tetragonula Moure, 1961 จำนวน 204 ตัว และ Tetrigona Moure, 1961 จำนวน 14 ตัว โดยผู้วิจัยได้เขียนคำบรรยายประกอบรูปภาพแสดงลักษณะสำคัญในการระบุชนิด อีกทั้งแสดงการกระจายตัวและสร้างรูปวิธานในการจำแนกชนิดของชันโรงในภาคใต้ ซึ่งผลของการศึกษาในครั้งนี้จะเป็นข้อมูลสำคัญสำหรับการศึกษาชีววิทยาของชันโรงที่พบในประเทศไทยต่อไปในอนาคต
Other Abstract: Stingless bees (Hymenoptera: Meliponini) belong to the corbiculate bee group as the honey bees. They are eusocial bees with one queen per colony and thousand of worker bees performing different tasks. Stingless bees are important pollinators for food crop productivity, thus in Thailand, farmers usually rent the colonies to help increasing their crop yield every year. Presently, more than 500 stingless bee species were described worldwide. In Thailand, 10 genera and 32+ species are reported, though new species are currently being described. Despite these available data, a revision of the group including keys and illustrations of important diagnostic characters is still crucially needed, particularly for taxa in south Thailand. The objective of this work is to preliminary revise the taxonomy of stingless bees in south Thailand by examining 331 specimens deposited at the Chulalongkorn University Natural History Museum that were collected from 2003 to 2018. Seven stingless bee genera and 18 species were recognized: Geniotrigona Moure, 1961 (n=42), Homotrigona Moure, 1961 (n=2), Heterotrigona Schwarz, 1939 (n=42), Lisotrigona Moure, 1961 (n=1), Lepidotrigona Schwarz, 1939 (n=26), Tetragonula Moure, 1961 (n=204), and Tetrigona Moure, 1961 (n=14). Descriptions and diagnostic characters of each species along with distribution maps and identification key to specific level are provided. Results from this study are important foundation future study of stingless bee taxonomy in Thailand.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2561
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65643
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Phanukan Sa_Se_2561.pdf2.82 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.