Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65645
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | นพดล กิตนะ | - |
dc.contributor.author | ชิฏิภัสร์ ณ ระนอง | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ | - |
dc.coverage.spatial | ประจวบคีรีขันธ์ | - |
dc.date.accessioned | 2020-05-01T08:06:07Z | - |
dc.date.available | 2020-05-01T08:06:07Z | - |
dc.date.issued | 2561 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65645 | - |
dc.description | โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2561 | en_US |
dc.description.abstract | เต่ากระ Eretmochelys imbricata เป็นเต่าทะเล 1 ใน 4 ชนิดที่มีการรายงานการขึ้นมาวางไข่บนชายหาดของประเทศไทย เต่ากระถูกจัดเป็นสัตว์ที่มีความเสี่ยงขั้นวิกฤติต่อการสูญพันธุ์ตาม IUCN เนื่องจากแนวโน้มประชากรที่ลดลง ในประเทศไทยพบการทำรังวางไข่ของเต่ากระที่เกาะทะลุ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จึงเกิดโครงการอนุรักษ์เต่ากระแบบ head-start program ที่เกาะทะลุโดยนำไข่เต่ากระไปเพาะฟักจนออกจากไข่ และอนุบาลลูกเต่าในบ่อเลี้ยงจนแข็งแรงเพื่อเพิ่มอัตราการรอดชีวิต แล้วจึงปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ การเลี้ยงเต่ากระในบ่อเลี้ยงอาจทำให้เต่ากระมีความเครียดและตอบสนองโดยการหลั่งฮอร์โมนคอร์ติโคสเตอโรนซึ่งส่งผลกดการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน อย่างไรก็ดี การใช้ฮอร์โมนคอร์ติโคสเตอโรนเป็นตัวชี้วัดสุขภาวะในเต่ากระยังมีข้อจำกัดอยู่ เนื่องจากระดับฮอร์โมนคอร์ติโคสเตอโรนมีความแตกต่างกันตลอดทั้งวัน การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบ 1) การเปลี่ยนแปลงในรอบวันของการหลั่งฮอร์โมนคอร์ติโคสเตอโรน และ 2) การตอบสนองของฮอร์โมนคอร์ติโคสเตอโรนต่อการถูกจับและการกระทำที่ทำให้เกิดความเครียด ของเต่ากระในบ่อเลี้ยง ณ เกาะทะลุ โดยเก็บตัวอย่างเลือดทุก 2 ชั่วโมง จำนวน 14 ช่วงเวลาในรอบวัน โดยใช้เต่ากระวัยอ่อน 5 ตัวต่อช่วงเวลา เพื่อใช้ศึกษาการเปลี่ยนแปลงในรอบวัน และ เก็บตัวอย่างเลือดที่เวลา 0, 30, 60, 120, 240 และ 480 นาทีหลังจากจับตัวเต่ากระวัยอ่อนจำนวน 6 ตัว เพื่อใช้ศึกษาการตอบสนองต่อความเครียด นำตัวอย่างเลือดไปปั่นเหวี่ยงและแยกเก็บพลาสมาในน้ำแข็งระหว่างการเคลื่อนย้าย หลังจากนั้นจึงนำไปเก็บในตู้แช่ –20°C ก่อนนำมาตรวจสอบระดับฮอร์โมนคอร์ติโคสเตอโรนและกลูโคส ผลของการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการหลั่งฮอร์โมนคอร์ติโคสเตอโรนในเต่ากระวัยอ่อนมีความแตกต่างในรอบวันโดยมีระดับสูงสุดในช่วงเริ่มมีแสงแดด (7:30 น.) และมีระดับต่ำสุดในช่วงแสงแดดเริ่มหมด (19:30 น.) ส่วนระดับกลูโคสมีความแตกต่างในรอบวันโดยมีการหลั่งสูงสุดในเวลา 9:30 น. หรือหลังจากระดับฮอร์โมนคอติโคสเตอโรนขึ้นสูงสุด 2 ชั่วโมง ทั้งนี้ไม่พบสหสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม และปัจจัยทางชีวภาพ แต่พบสหสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญระหว่างระดับฮอร์โมนคอร์ติโคสเตอโรนกับกลูโคสที่เวลาต่างกัน 2 ชั่วโมง อีกทั้งยังพบว่าเต่ากระมีการตอบสนองในการหลั่งฮอร์โมนคอร์ติโคสเตอโรนต่อการกระทำที่ทำให้เกิดความเครียด ผลการศึกษาที่ได้ทำให้เข้าใจถึงสรีรวิทยาเกี่ยวกับความเครียดของเต่ากระในบ่อเลี้ยงได้ดีขึ้น | en_US |
dc.description.abstractalternative | Hawksbill turtle, Eretmochelys imbricata, is one of the four sea turtles that lay their eggs in Thailand. With the current rate of population decline, E. imbricata has been listed as a critically endangered species by the IUCN. In Thailand, hawksbill turtle nestings have been found at the Talu island, Prachuap Khirikhan province. As a result, a head-start program has been established at the island so that the eggs are incubated until hatch, and hatchlings are reared in captivity to increase the survival rate before release to the wild. Raising turtle in captivity may lead to stress response including corticosterone secretion and, consequently, suppression of immune system. However, there is a limitation on using corticosterone as a marker of health since corticosterone level is known to vary throughout the day. This study thus aims to examine for 1) circadian variation of corticosterone secretion, and 2) corticosterone response to capture and handling stress, of E. imbricata raised in captivity at Talu island. For circadian variation, blood samples were collected every 2 hours for 14 time points in a day with an independent set of juvenile turtles (n=5) for each time point. For stress response, blood samples were collected from a single set of juvenile turtles (n=6) at 0, 30, 60, 120 and 240, 480 minutes after capture and handling. Blood samples were centrifuged, and plasma samples were kept on ice during transportation and stored at -20°C. Plasma samples were assayed for corticosterone and glucose levels. The results shows that corticosterone secretion in the juvenile hawksbill turtle exhibits a diurnal rhythm with the peak of secretion at dawn (07:30 am) and baseline secretion at dusk (07:30 pm). Blood glucose also shows circadian variation with the peak at 9:30 am, or 2 hours after corticosterone secretion.However, there is no correlation between environmental factors and biological factors but significant correlation between corticoster one and glucose at different time 2 hours and found that sea turtle response to increase cortiocosterone on stressor . These results can be used as a basis for stress physiology of the hawksbill turtles in captivity. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.title | วงรอบวันและการตอบสนองต่อความเครียดของการหลั่งฮอร์โมนคอร์ติโคสเตอโรน ของเต่ากระ Eretmochelys imbricata ในบ่อเลี้ยง ณ เกาะทะลุ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ | en_US |
dc.title.alternative | Circadian cycle and stress response of corticosterone secretion in hawksbill turtle Eretmochelys imbricata in captivity at Talu island, Prachuap Khirikhan province | en_US |
dc.type | Senior Project | en_US |
dc.email.advisor | Noppadon.K@Chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Sci - Senior Projects |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Chitipat Na_Se_2561.pdf | 1.84 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.