Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65672
Title: วิถีการกินและความเชื่อของคนไทยที่สะท้อนจากชื่ออาหารไทย ที่ใช้ในเทศกาลงานพิธีแบบดั้งเดิม
Other Titles: Thai ways of eating and beliefs as reflected in the names of Thai foods used in traditional ceremonies and festivals
Authors: ศศิธร สินถาวรกุล
Advisors: อมรา ประสิทธิ์รัฐสินธุ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Subjects: พิธีทางศาสนาและพิธีกรรม -- ไทย
อาหารไทย -- ชื่อ
ภาษาไทย -- อรรถศาสตร์
อรรถศาสตร์ชาติพันธุ์
ไทย -- ความเป็นอยู่และประเพณี
Rites and ceremonies -- Thailand
Thai food -- Names
Thai language -- Semantics
Ethnosemantics
Thailand -- Social life and customs
Issue Date: 2547
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์รูปแบบของชื่ออาหารพร้อมทั้งความหมายตรงและความหมายแฝงของชื่ออาหารไทยจำนวน 63 ซื่อ ที่ใช้ในเทศกาลงานพิธีแบบดั้งเดิมของไทย ผลการวิเคราะห์รูปแบบของชื่ออาหารไทย ซึ่งมีชื่อของหวานจำนวน 44 ชื่อและชื่อของคราวจำนวน 19 ชื่อพบว่ารูปแบบของชื่อของหวานมี 4 รูปแบบได้แก่ 1) ชื่อของหวานที่ประกอบด้วยส่วนหลักเท่านั้น ซึ่งอาจเป็น (คำแสดงลักษณะ/ชื่อเฉพาะ) เช่น เม็ดขนุน กาละแม 2) ชื่อของหวานที่ประกอบด้วยส่วนหลัก (คำแสดงลักษณะ/วัตถุดิบ)+ส่วนขยาย(คำแสดงคุณสมบัติ/กรรมวิธีเฉพาะ) เช่น ทองหยิบ กล้วยฉาบ 3) ชื่อของหวานที่ประกอบด้วยส่วนเสริมหน้า (คำว่า “ขนม”)+ส่วนหลัก(คำแสดงลักษณะ/วัตถุดิบ/วิธีทำ/ชื่อเฉพาะ) เช่น ขนมผิง ขนมชั้น 4) ชื่อของหวานที่ประกอบด้วยส่วนเสริมหน้า (คำว่า”ขนม”)+ส่วนหลัก(คำแสดงลักษณะ/วิธีทำ/ชื่อเฉพาะ)+ส่วนขยาย(คำแสดงคุณสมบัติ) เช่น ขนมต้มแดง ขนมสำปันนีอ่อน ส่วนรูปแบบของชื่อของคาว มี 3 รูปแบบ คือ (1) ชื่อของคาวที่ประกอบด้วยส่วนหลัก(คำแสดงชนิดของคาว) เช่น ห่อหมก (2) ชื่อของคาวที่ประกอบด้วยส่วนหลัก(คำแสดงชนิดของคาว/ชนิดส่วนประกอบหลัก)+ ส่วนขยาย (คำแสดงวิธีทำ/ประเภทย่อย) เช่น ไข่เจียว หมี่กะทิ (3) ชื่อของคาวที่ประกอบด้วยส่วนหลัก(คำแสดงชนิดของคาว/ชนิดส่วนประกอบหลัก)+ส่วนขยาย (คำแสดงวิธีทำ/ประเภทย่อย)+ส่วนเสริมท้าย (คำแสดงส่วนประกอบเสริม) เช่น หมูผัดกุ้ง แกงเลียงนพเก้า ในการวิเคราะห์ความหมายตรงของชื่อของหวาน ผู้วิจัยใช้วิธีการวิเคราะห์องค์ประกอบและพบว่าชื่อของหวานทั้งหมดแตกต่างกันใน 4 มิติ ได้แก่ 1) มิติเรื่อง “อิทธิพลต่างประเทศ” ซึ่งมีอรรถลักษณ์[+ไทย]และ[+อิทธิพลต่างประเทศ] 2) มิติเรื่อง “วิธีการทำ” ซึ่งมีอรรถลักษณ์[+ต้ม], [เปียก], [+นึ่ง], [+ปิ้ง], [+ผัด], [+ทอด], [+กวนแป้ง], [+เข้าไข่เชื่อม], [+อบ/ผิง] และ [+บวด] 3) มิติเรื่อง “วัตถุดิบ” ซึ่งมีอรรถลักษณ์ [+แป้ง], [+น้ำตาล], [+มะพร้าว], [+ข้าวเหนียว], [+ถั่วลิสง], [+ไข่], [+กล้วย], [+งา], [+หัวผักกาด], [+ข้าวตอก, ข้าวเม่า, ถั่ว งา], [+ลูกแป้งข้าวหมาก, น้ำข้าวหมา], [+น้ำดอกอัญชัญ, น้ำมะนาว], [+ข้าวตอก], [+เม็ดแตงโม], [+น้ำวนิลา], [+เกลือ], [+ผงจันทน์เทศ], [+แป้งทองหยอด], [+เม็ดขนุน] และ[+ฟักทอง] และ 4) มิติเรื่อง “คุณสมบัติ” ซึ่งมีอรรถลักษณ์ [+สมลูกติดกัน] สำหรับชื่อของคาวพบความแตกต่างใน 3 มิติ คือ 1) มิติเรื่อง “ประเภท” ซึ่งมีอรรถลักษณ์ [+กับข้าว]และ[+อาหารหลัก] 2) มิติเรื่อง “วิธีการทำ” ซึ่งมีอรรถลักษณ์ [+ต้ม], [+นึ่ง], [+หุง], [+กวน], [+ทอด], [+ตำ]และ[+ผัด] 3) มิติเรื่อง “วัตถุดิบเฉพาะ” ซึ่งมีอรรถลักษณ์ [+กุ้ง], [+ผัก], [+วุ่นเส้น], [+ไก่],[+เครื่องแกง], [+เส้นขนมจีน], [+ข้าว], [+ธัญพืช],[+ไข่], [+กะปิ], [+ปลา], [+ปูทะเล], [+เป็ด], [+มะเขือ], [+เส้นหมี่],[+กะทิ], [+หมู]และ[+หัวหมู] ในการวิเคราะห์ด้านความหมายแฝง เพี่อตีความเรื่องความเชื่อของคนไทย ผู้วิจัยพบค่านิยมและความเชื่อที่สะท้อนอยู่ในชื่อดังกล่าว 7 เรื่อง ได้แก่ ค่านิยมและความเชื่อเรื่อง ความยั่งยืนและยาวนาน ความรักใคร่สามัคคี ความมั่งคั่ง รํ่ารวย ความสวยงาม ความสง่างาม ความเจริญรุ่งเรืองในชีวิต ความอุดมสมบูรณ์ และ ความศรัทธาใน ศาสนา
Other Abstract: The goal of this study is to analyze the forms and meanings of the names of sixty-three kinds of Thai food used in traditional ceremonies and festivals. The results of the analysis of the forms of the names of Thai foods show that there are four patterns of Thai dessert names : (1) Head only, which is a proper name, e.g met-khanun, kalamee; (2) Head (word denoting characteristics or ingredients)+Modifier (word denoting properties or specific preparation), e.g. thoonyip, kluay-chaap; (3) Pre-head (the word khanom) + Head (word denoting characteristics, ingredients, method and proper name), e.g. khanomphin, khanomchan;(4) Pre-head (the word khanom)+ Head (word denoting characteristics, method or proper name)+Modifier (word denoting properties), e.g. khanomtomdeen, khanomsampanneeaan. As for the patterns of the names of the main course dishes, three patterns are found: (1) Head (word denoting types of dish), e.g. haa-mok. (2) Head (word denoting types of dish/major ingredients) +Modifier (word denoting sub-types of dish), e.gmii-krathi; (3) Head (word denoting types of dish) + Modifier (word denoting sub-types ofdish)+Final qualifier (word denoting ingredients), e.g. keenliannopphakaaw. The componential analysis of the denotation of Thai dessert names reveals that all the names are differentiated by four dimensions of contrast: (1) FOREIGN INFLUENCE, which entails [+foreign] and [+Thai] features; (2) PREPARATION, which entails the features [+boil], [+stir dry], [+steam], [+toast], [+stir fry], [+fry], [+stir with flour], [+cook m syrup with egg], [+broil/bake] and [+boil in coconut cream]; (3) INGREDIENT, which entails the featoes [+flour], [+sugar], [+coconut], [+sticky rice], [+peanut], [+egg], [+banana], [+butterfly pea], [+tumips], [+popped rice, shredded rice grain, bean, sesame seed], [+sesame seed], [+vanilla water], [+salt], [+fermented rice], [+nutmeg], [+egg-dropped cookie rice], [+jack-fruit seed], and [+pumpkin]; (4) PROPERTY, which entails the features [+three pieces]. As for the names of the main course dishes, they are differentiated by three dimensions of contrast: (1) TYPE, which entails the features [Trice] and [+with rice]; (2) PREPARATION, which entails the features [+boil], [+steam], [+stir], [+fry], [+boil rice] and [+stir fry]; (3) INGREDIENT which entails the features [+shrimp], [+vegetables], [+bean thread], [+chicken], [+spices], [+rice vermicelli], [+rice], [+cereal], [+egg], [+shrimp paste], [+fish], [+crab], [+duck], [+eggplant], [+rice noodle], [+coconut cream], [+pork], and [+pig’s head]. To infer Thai cultural values, the researcher analyzed the connotations of the names of Thai foods and found seven values reflected in the names: long life and stability, unity, wealth, elegance, progress, abundance, and faith in religion.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภาษาศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65672
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.263
ISBN: 9745315656
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2004.263
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sasithorn_si_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ1.17 MBAdobe PDFView/Open
Sasithorn_si_ch1_p.pdfบทที่ 1695.53 kBAdobe PDFView/Open
Sasithorn_si_ch2_p.pdfบทที่ 21.72 MBAdobe PDFView/Open
Sasithorn_si_ch3_p.pdfบทที่ 3944.84 kBAdobe PDFView/Open
Sasithorn_si_ch4_p.pdfบทที่ 41.61 MBAdobe PDFView/Open
Sasithorn_si_ch5_p.pdfบทที่ 51.3 MBAdobe PDFView/Open
Sasithorn_si_ch6_p.pdfบทที่ 62.26 MBAdobe PDFView/Open
Sasithorn_si_ch7_p.pdfบทที่ 71.07 MBAdobe PDFView/Open
Sasithorn_si_ch8_p.pdfบทที่ 8975.51 kBAdobe PDFView/Open
Sasithorn_si_back_p.pdfภาคผนวก812.71 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.