Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65696
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธเรศ ศรีสถิตย์-
dc.contributor.authorภัทร กฤตานุสรณ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-05-09T12:54:41Z-
dc.date.available2020-05-09T12:54:41Z-
dc.date.issued2546-
dc.identifier.isbn9741747624-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65696-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของค่ากำลังอัดของก้อนแข็งเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงปริมาณน้ำในตะกอนแต่ละประเภท ความสัมพันธ์ของกำลังอัดของก้อนแข็งเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงค่าความหนาแน่นของตะกอน ความสัมพันธ์ของกำลังอัดเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงส่วนผสมตะกอนกับซีเมนต์ และปริมาณโลหะหนักในน้ำสกัดเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงส่วนผสมตะกอนกับซีเมนต์ โดยทำการแปรผันค่าปริมาณน้ำในตะกอนตั้งแต่ร้อยละ 0 ถึง 100 ของนำหนักตะกอนแห้ง และสัดส่วน ตะกอนต่อซีเมนต์ตังแต่ 0.5 ถึง 1.75 เท่าของน้ำหนักซีเมนต์ อ้างอิงมาตรฐานตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมฉบับที่ 6 (พ.ศ. 2540) ปัจจัยที่ทำการศึกษา ได้แก่ ค่ากำลังอัด ปริมาณโลหะหนักในน้ำสกัดและปริมาณน้ำในตะกอนที่เหมาะสมสำหรับการหล่อก้อนแข็ง ผลการทดลองพบว่า ตะกอนจากอุตสาหกรรมฟอกหนังมีโครเมียมในน้ำสกัด 15.33 มก./ล. ประกอบรถยนต์มีตะกั่วในน้ำสกัด 5.67 มก./ล. ผลิตแบตเตอรี่มีตะกั่วในน้ำสกัด 8.97 มก./ล. รีดเหล็กมีโครเมียมในน้ำสกัด 7.11 มก./ล. ผลิตจอภาพมีตะกั่วในน้ำสกัด 5.31 มก./ล. และผลิตสารกึ่งตัวนำมีตะกั่วในน้ำสกัด 6.52 มก./ล. ซึ่งเป็นปริมาณโลหะหนักที่เกินเกณฑ์ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมฉบับที่ 6 จัดเป็นของเสียอันตรายจึงนำมาหล่อเป็นก้อนแข็ง ค่าปริมาณน้ำในตะกอนที่เหมาะสมมีค่าร้อยละ 49 62 65 5 74 และ 55 ของน้ำหนักตะกอนแห้งตามลำดับ ค่าความดูดซึมน้ำของตะกอนที่สภาวะอิ่มตัวผิวแห้งนำมาแทนปริมาณน้ำในตะกอนที่เหมาะสมได้ ค่ากำลังอัดและความหนาแน่นของก้อนแข็งทุกตัวอย่างตะกอนผ่านเกณฑ์ที่กำหนด ในขณะที่ปริมาณโลหะหนักในน้ำสกัดก้อนแข็งอุตสาหกรรมฟอกหนังผ่านมาตรฐานที่ส่วนผสมตะกอนต่อซีเมนต์ 0.5:1 และ 0.75:1 ส่วนตะกอนอื่นนั้นผ่านมาตรฐานในทุกอัตราส่วนผสม การเพิ่มสัดส่วนตะกอนในก้อนแข็งทำให้กำลังอัดลดลง ปริมาณโลหะหนักในน้ำสกัดเพิ่มขึ้น เนื่องจากปริมาณซีเมนต์ในก้อนแข็งลดลงทำให้ความสามารถในการจับยึดโลหะหนักในก้อนแข็งลดลง และไม่มีความสัมพันธ์ระหว่างกำลังอัดกับความหนาแน่นของตะกอน แต่อย่างไรก็ดีหากทำการแบ่งประเภทตะกอนตามกระบวนการผลิต ที่มาของตะกอน ชนิด ปริมาณของสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ในตะกอน จะพบว่ากำลังอัดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามค่าความหนาแน่นของตะกอน-
dc.description.abstractalternativeThis research investigated relationships between compressive strength and moisture content in sludges from various industries, compressive strength and sludge density, compressive strength and sludge-to-cement ratio, heavy metals in leachate and sludge-to-cement ratio by varying the sludge moisture by weight of oven dry sludge from 0 to 100 percent and varying sludge-to-cement ratio from 0.5:1 to 1.75:1. In addition, Hazardous wastes were classified with leaching procedure and standards issued by Department of Industrial Works (Notification No. 6, 1997). The experiments were carried out to determine factors affecting the solidified matrices such as compressive strength of the matrices, heavy metals in the leachates and optimum moisture content of solidified sludge. The concentrations of regulated heavy metals in the leachates are as follow: chromium in tanning sludge, 15.33 mg/1; lead in vehicle assembly sludge, 5.67 mg/1; lead in battery sludge, 8.97 mg/1; chromium in steel sludge, 7.11 mg/1; lead in display device sludge, 5.31 mg/1; and lead in semiconductor, 6.52 mg/1. According the standards, these sludges were hazardous wastes. The optimum moisture contents of the sludges were 49, 62, 65, 5, 74 and 55 percent by weight of dry sludge, respectively. It was found that absorption of sludge in saturated surface dry phase could be used in place of optimum moisture content of sludge. Compressive strengths and densities of all sludges passed the standards in all proportions. Heavy metals in leachate of solidified tanning industry sludge passed the standards with sludge-to-cement ratios of 0.5:1 and 0.75:1 while the others passed the standards in all proportions. Addition of sludges into the matrices decreased strength of the matrices and increased concentrations of heavy metals in the leachates. There was no relationship between compressive strength and sludge density. However, the compressive strength of matrices increased with higher sludge density when industry categories, types and quantity of organic and inorganic substances were classified.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectปูนซีเมนต์en_US
dc.subjectกากตะกอนน้ำเสีย -- ความหนาแน่นen_US
dc.subjectน้ำเสีย -- การบำบัด -- การกำจัดโลหะหนักen_US
dc.subjectโรงบำบัดน้ำเสียen_US
dc.subjectCementen_US
dc.subjectSewage sludge -- Densityen_US
dc.subjectSewage -- Purification -- Metals removalen_US
dc.subjectSewage disposal plantsen_US
dc.titleอิทธิพลของสัดส่วนน้ำต่อซีเมนต์ต่อการทำเป็นก้อนแข็งของตะกอนโลหะหนักจากระบบบำบัดน้ำเสียอุตสาหกรรมen_US
dc.title.alternativeEffect of water cement ratio on solidification of heavy metal sludge from industrial wastewater treatment planten_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorThares.S@chula.ac.th-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Paht_kr_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อและสารบัญ859.92 kBAdobe PDFView/Open
Paht_kr_ch1_p.pdfบทที่ 1658.8 kBAdobe PDFView/Open
Paht_kr_ch2_p.pdfบทที่ 21.17 MBAdobe PDFView/Open
Paht_kr_ch3_p.pdfบทที่ 3911.06 kBAdobe PDFView/Open
Paht_kr_ch4_p.pdfบทที่ 41.52 MBAdobe PDFView/Open
Paht_kr_ch5_p.pdfบทที่ 5633.7 kBAdobe PDFView/Open
Paht_kr_ch6_p.pdfบทที่ 6592.9 kBAdobe PDFView/Open
Paht_kr_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก2.65 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.