Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6588
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorทิศนา แขมมณี-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2008-04-11T07:34:33Z-
dc.date.available2008-04-11T07:34:33Z-
dc.date.issued2530-
dc.identifier.isbn9742673926-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6588-
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ 1. เพื่อทดลองใช้รูปแบบการฝึกทักษะการทำงานกลุ่มสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 2. เพื่อหาประสิทธิภาพของรูปแบบหรือชุดกิจกรรมการฝึกทักษะการทำงานกลุ่มสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3. เพื่อปรับปรุงรูปแบบหรือชุดกิจกรรมการฝึกทักษะการทำงานกลุ่มสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 วิธีดำเนินการวิจัย 1. กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยนี้คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2528 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ จำนวน 1,128 คน ได้ มาจากการสุ่มแบบมีวัตถุประสงค์และการสุ่มอย่างง่าย จากภาพภูมิศาสตร์ 5 ภาคๆ ละ 2 จังหวัดรวม 10 จังหวัด ในแต่ละจังหวัดเลือกโรงเรียนมา 4 โรง รวม 40 โรง แต่ละโรงสุ่มห้องเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มาโรงละ 1 ห้อง รวม 40 ห้อง แบ่งเป็นห้องทดลอง 20 ห้อง มีนักเรียนกลุ่มทดลองทั้งหมด 592 คน ห้องควบคุม 20 ห้อง มีนักเรียนกลุ่มควบคุมทั้งหมด 536 คน รูปแบบการฝึกทักษะการทำงานกลุ่มสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่นำมาทดลองใช้เป็นผลจากการวิจัย เรื่อง "การพัฒนารูปแบบการฝึกทักษะการทำงานกลุ่มสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา" โดย รศ.ดร.ทิศนา แขมมณี และคณะ มีลักษณะเป็นชุดกิจกรรมการสอนและการฝึกทักษะการทำงานกลุ่มสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งประกอบด้วย หลักการ โครงสร้างเนื้อหา กิจกรรม และการประเมินผล ชุดกิจกรรมนี้มีทั้งหมด 27 กิจกรรมประกอบไปด้วย 5 หมวด ได้แก่ หมวดความรู้ความเข้าใจพื้นฐานในการทำงานกลุ่ม หมวดทักษะที่จำเป็นในการทำงานกลุ่ม หมวดกระบวนการทำงาน หมวดบทบาทหัวหน้ากลุ่ม และหมวดบทบาทสมาชิก แต่ละกิจกรรมมี 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นกิจกรรมสอน และกิจกรรมฝึกในการสอนกิจกรรมสอนครูจะใช้เวลาสอนประมาณ 1 ชั่วโมง ในแต่ละกิจกรรม ส่วนกิจกรรมฝึกนั้นครูจะฝึกโดยสอดแทรกในการเรียนการสอนปกติ ชุดกิจกรรมนี้ใช้ตลอด 1 ปีการศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้มี 5 ฉบับ ได้แก่ แบบทดสอบความรู้ความเข้าใจมโนทัศน์เนื้อหาด้านกระบวนการทำงานกลุ่มของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สำหรับก่อนและหลังเรียน แบบทดสอบประจำกิจกรรม แบบประเมินทักษะการทำงานกลุ่มของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สำหรับก่อนและหลังฝึก แบบสอบถามความคิดเห็นของครูเกี่ยวกับประสบการณ์ในการสอนและฝึกนักเรียนด้วยชุดกิจกรรมการฝึกทักษะการทำงานกลุ่มสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และแบบบันทึกผลการใช้ชุดกิจกรรมการฝึกทักษะการทำงานกลุ่มสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 การดำเนินการทดลองและการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้ดำเนินการดังนี้ 1. ประชุมครูห้องทดลองและศึกษานิเทศก์จังหวัด เพื่อชี้แจงและทำความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบการฝึกทักษะการทำงานกลุ่มและการใช้ชุดกิจกรรม 2. ประเมินทักษะการทำงานกลุ่มและทดสอบความรู้ความเข้าใจมโนทัศน์/เนื้อหาด้านกระบวนการทำงานกลุ่มของนักเรียน ก่อนการทดลองใช้ชุดกิจกรรม 3. ทดลองสอนและฝึกนักเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรม และมีการนิเทศติดตามผล 4. ในตอนกลางปีครูและศึกษานิเทศก์จังหวัดประชุมร่วมกับคณะผู้วิจัย เพื่อรายงานผลการทดลองและการนิเทศติดตามผล รวมทั้งแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการทดลองใช้ชุดกิจกรรม 5. ทดลองสอนและฝึกนักเรียนต่อไปจนครบ 27 กิจกรรม และมีการนิเทศติดตามผล 6. ประเมินทักษะการทำงานกลุ่ม และทดสอบความรู้ความเข้าใจมโนทัศน์/เนื้อหาด้านกระบวนการทำงานกลุ่มของนักเรียน หลังการทดลองใช้ชุดกิจกรรม 7. สอบถามครูและรวบรวมข้อมูลต่างๆ เกี่ยวกับการทดลองใช้ชุดกิจกรรม 8. วิเคราะห์ข้อมูล แล้วปรับปรุงชุดกิจกรรมและรูปแบบการฝึกทักษะการทำงานกลุ่มสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา ผลการวิจัย ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลการทดลองใช้รูปแบบหรือชุดกิจกรรม 1.1 นักเรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนความรู้ความเข้าใจมโนทัศน์/เนื้อหาด้านกระบวนการทำงานกลุ่ม และมีคะแนนทักษะการทำงานกลุ่มของหัวหน้าและสมาชิก หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 1.2 นักเรียนกลุ่มควบคุมมีคะแนนความรู้ความเข้าใจมโนทัศน์/เนื้อหาด้านกระบวนการทำงานกลุ่ม และมีคะแนนทักษะการทำงานกลุ่มของหัวหน้าและสมาชิก ก่อนการทดลองและหลังการทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 1.3 ภายหลังการทดลองคะแนนความรู้ความเข้าใจมโนทัศน์/เนื้อหาด้านกระบวนการทำงานกลุ่ม และคะแนนทักษะการทำงานกลุ่มของหัวหน้าและสมาชิกของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. ผลการหาประสิทธิภาพของรูปแบบหรือชุดกิจกรรม ในการหาประสิทธิภาพนี้ได้กำหนดเกณฑ์ไว้ 3 เกณฑ์ ผลการประเมินพบว่า 2.1 เกณฑ์ที่ 1 คือ เกณฑ์ 80/80 เพื่อวัดประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมในส่วนที่เป็นการสอนมโนทัศน์/เนื้อหาด้านกระบวนการทำงานกลุ่ม ผลจากการทดลองใช้ได้ค่าประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมเท่ากับ 82.4/73.56 แสดงว่า 80 ตัวแรก ซึ่งหมายถึงประสิทธิภาพของกระบวนการเรียนจากกิจกรรมการสอนแต่ละกิจกรรม ค่าที่ได้สูงกว่าเกณฑ์ แต่ 80 ตัวหลัง ซึ่งหมายถึงประสิทธิภาพของพัฒนาการในด้านการเรียนรู้และความเข้าใจของผู้เรียน ค่าที่ได้ต่ำกว่าเกณฑ์ 2.2 เกณฑ์ที่ 2 คือ ค่ามัชฌิมเลขคณิตของคะแนนทักษะการทำงานกลุ่มหลังฝึกต้องสูงกว่าก่อนฝึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการทดลองพบว่า ค่ามัชฌิมเลขคณิตของคะแนนทักษะการทำงานกลุ่มหลังฝึกสูงกว่าก่อนฝึก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 แสดงว่า ประสิทธิภาพของรูปแบบหรือชุดกิจกรรมข้อนี้ผ่านเกณฑ์ 2.3 เกณฑ์ที่ 3 คือ เมื่อครูได้ศึกษาชุดกิจกรรมจากเอกสารคู่มือครูแล้ว 80% ของจำนวนครูที่ศึกษาชุดกิจกรรมให้ความคิดเห็นว่า ตนมีความรู้ความเข้าใจ และสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างน้อยตั้งแต่ระดับ 60% ขึ้นไป ผลการทดลองพบว่า ครูห้องทดลองทั้งหมด 20 คน หรือ 100% ตอบว่า เมื่อศึกษาชุดกิจกรรมนี้แล้ว มีความรู้ความเข้าใจและสามารถนำไปปฏิบัติได้สูงกว่าระดับ 60% แสดงว่าประสิทธิภาพของรูปแบบหรือชุดกิจกรรมข้อนี้เป็นไปตามเกณฑ์ 3. ผลการปรับปรุงรูปแบบฝึกทักษะการทำงานกลุ่มสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา 3.1 การปรับปรุงกิจกรรมในชุดกิจกรรม ปรากฏว่าผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้ชุดกิจกรรมมีความเห็นพ้องต้องกันว่า สมควรนำชุดกิจกรรมที่ได้ทดลองใช้ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ไปใช้ในชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และได้มีการเพิ่มเติมกิจกรรมที่จำเป็นจากเดิม 27 กิจกรรม เป็น 30 กิจกรรม ได้มีการปรับปรุงรายละเอียดของกิจกรรมให้เหมาะสมขึ้น นอกจากนั้นได้มีการปรับปรุงเครื่องมือในการทดสอบความรู้ความเข้าใจและการประเมินทักษะการทำงานกลุ่มให้เหมาะสมยิ่งขึ้น 3.2 การปรับปรุงรูปแบบโดยส่วนรวม ได้มีการพิจารณาปรับปรุงรูปแบบฉบับทดลองให้ชัดเจน ครอบคลุมและเหมาะสมขึ้น รูปแบบฉบับสมบูรณ์ที่ผ่านการปรับปรุงแล้วประกอบด้วย 1) หลักการทั้งทางด้านทฤษฎีและปฏิบัติ 2) ลักษณะของรูปแบบเป็นชุดกิจกรรมการฝึกทักษะการทำงานกลุ่มซึ่งประกอบด้วยโครงสร้างเนื้อหา และกิจกรรมการเรียนรู้ที่จะใช้สอนและฝึก รวมทั้งการประเมินผล ทั้งนี้ได้กำหนดโครงสร้างเนื้อหาของแต่ละระดับขึ้นไว้ด้วย 3) ชุดสื่อสำเร็จรูปประกอบชุดกิจกรรม 4) ระบบการใช้ชุดกิจกรรม 3.3 สรุปผลจากการปรับปรุงรูปแบบในครั้งนี้ทำให้ได้ 1) รูปแบบการฝึกทักษะการทำงานกลุ่มสำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา 2) รูปแบบการฝึกทักษะการทำงานกลุ่มสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5en
dc.format.extent41694800 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectกลุ่มสัมพันธ์en
dc.subjectกิจกรรมของนักเรียนen
dc.subjectกลุ่มสร้างคุณภาพงานen
dc.titleการทดลองใช้รูปแบบการฝึกทักษะการทำงานกลุ่ม สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา : รายงานผลการวิจัยen
dc.typeTechnical Reportes
dc.email.authorTisana.K@chula.ac.th-
Appears in Collections:Edu - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Tisana(Try).pdf40.72 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.