Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6589
Title: ผลของการใช้โปรแกรมฝึกอบรมการปฏิบัติการพยาบาลด้านการพิทักษ์สิทธิประโยชน์ผู้ป่วยสำหรับบุคลากรพยาบาล ต่อความพึงพอใจในบริการพยาบาลของผู้ป่วย
Other Titles: The effect of using nursing practice regarding patient advocacy training program for nursing personnel on patient satisfaction of nursing service
Authors: พีระพรรณ์ พานิชสวัสดิ์
Advisors: จินตนา ยูนิพันธุ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Jintana.Y@Chula.ac.th
Subjects: พยาบาล -- การฝึกอบรม
การพัฒนาบุคลากร
ความพอใจของผู้ป่วย
บริการการพยาบาล
สิทธิผู้ป่วย
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบกลุ่มเดียววัดก่อน และหลังการทดลอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจในบริการพยาบาลของผู้ป่วยก่อนและหลังการใช้โปรแกรมฝึกอบรมการปฏิบัติการพยาบาลด้านการพิทักษ์สิทธิประโยชน์ผู้ป่วยสำหรับบุคลากรพยาบาล และเพื่อศึกษาความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของบุคลากรพยาบาลเกี่ยวกับโปรแกรมฝึกอบรม กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาพยาบาลที่หอผู้ป่วย อายุรกรรมหญิงได้จากการเลือกกลุ่มตัวอย่างที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ จำนวนทั้งหมด 60 คน จัดกลุ่มด้วยวิธีจับคู่เป็น 3 กลุ่ม จำนวนเท่าๆกัน และบุคลากรพยาบาลที่ปฏิบัติงานที่หอผู้ป่วยอายุรกรรมหญิง โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา จำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ โปรแกรมฝึกอบรมการปฏิบัติการพยาบาลด้านการพิทักษ์สิทธิประโยชน์ผู้ป่วยสำหรับบุคลากรพยาบาล แบบสอบถามความพึงพอใจในบริการพยาบาลของผู้ป่วย แบบสังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติการพยาบาลด้านการพิทักษ์สิทธิประโยชน์ผู้ป่วย ซึ่งผ่านการตรวจสอบเนื้อหา โดยผู้ทรงคุณวุฒิ และแบบประเมินผลการฝึกอบรมการปฏิบัติการพยาบาลด้านการพิทักษ์สิทธิประโยชน์ผู้ป่วยสำหรับบุคลากรพยาบาล ค่าสัมประสิทธ์แอลฟาของครอนบราคของแบบสอบถามความพึงพอใจในบริการพยาบาลของผู้ป่วยมีค่าเท่ากับ .98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบที ผลการวิจัยที่สำคัญมี ดังนี้ 1. ความพึงพอใจในบริการพยาบาลของผู้ป่วยโดยรวม และรายด้าน หลังการใช้โปรแกรมฝึกอบรมการปฏิบัติการพยาบาลด้านการพิทักษ์สิทธ์ประโยชน์ผู้ป่วยสำหรับบุคลากรพยาบาลสูงกว่าก่อนการใช้โปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. บุคลากรพยาบาลรายงานว่าตนเองมีความตระหนัก เห็นความสำคัญและ มีแนวทางในการปฏิบัติที่ชัดเจนมาก รวมทั้งสามารถปฏิบัติการพยาบาลด้านการพิทักษ์สิทธิประโยชน์ผู้ป่วยได้มากขึ้น
Other Abstract: The purpose of this one group pretest-posttest research design was to compare the patient satisfaction of nursing service related to patient advocacy before and after receiving the nursing practice regarding patient advocacy training program for nursing personnel. Research subjects composed of 60 patients in medical units which were selected according to criteria and equally divided into 3 groups by matched pair technique, and 18 personnel nurses from medical wards, Pranakorn Sriayutthaya Hospital. Research instruments which were developed by the researcher, were the nursing practice regarding patient advocacy program for nursing personnel, a patient satisfaction of nursing service questionnaire, the nursing personnel behaviors regarding patient advocacy check list, and the training program evaluation questionnaire. The Cronbrach alpha coefficient of the questionnaire was .98. The data were analyzed by mean, standard deviation, and t- test. The major findings were as follows: 1. The satisfaction of nursing service of patients after using nursing practice regarding patient advocacy training program for the nursing personnel was significantly higher than that before using this training program, at the .05 level. 2. Nursing personnel who have participated in the training program reported their increasing ability and awareness towards nursing behaviors regarding patient advocacy. Moreover, they revealed that they were able to provide better nursing care focused on patient advocacy
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การบริหารการพยาบาล
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6589
ISBN: 9741723504
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Peerapan.pdf1.52 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.