Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65923
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | สุรี ขาวเธียร | - |
dc.contributor.advisor | บุญยง โล่ห์วงศ์วัฒน | - |
dc.contributor.author | นิดา ศีลแสน | - |
dc.date.accessioned | 2020-05-23T10:47:17Z | - |
dc.date.available | 2020-05-23T10:47:17Z | - |
dc.date.issued | 2544 | - |
dc.identifier.isbn | 9740306926 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65923 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 | en_US |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการสกัดเงินออกจากน้ำยาหยุดภาพฟิล์มเอกซเรย์ที่หมดสภาพการใช้งานแล้ว เพื่อเสนอแนะวิธีการที่เหมาะสมต่อโรงพยาบาลต่าง ๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยคำนึงถึงความสามารถของผู้ที่จะนำไปปฏิบัติและค่าใช้จ่ายต่าง ๆ นอกจากนี้ยังได้ทำการตรวจวัดลักษณะสมบัติของน้ำเสียที่ผ่านการสกัดเงินแล้ว เพื่อประกอบการเสนอแนะแนวทางในการจัดการน้ำยาหยุดภาพฟิล์มเอกซเรย์ที่หมดสภาพแล้ว ไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ได้ทำการศึกษาวิธีการสกัดเงินด้วยวิธีต่าง ๆ คือ (1) การสร้างตะกอนผลึกเงินด้วยโซเดียมซัลไฟด์ (2) การสร้างตะกอนผลึกเงินด้วยกรดไนตริก (3) การสกัดเงินโดยการแทนที่เหล็ก และ (4) การสกัดเงินด้วยไฟฟ้าโดยมีแผ่นสแตนเลสเป็นขั้วแคโทดและแท่งคาร์บอนเป็นขึ้นแอโนด เพื่อเสอนแนะวิธีและสภาวะที่เหมาะสมที่สุด ในการแยกสกัดเงินออกจากน้ำยาหยุดภาพฟิล์มเอกซเรย์ที่หมดสภาพแล้ว น้ำยาหยุดภาพฟิล์มเอกซเรย์ที่หมดสภาพแล้ว มีความเข้มข้นของเงินเฉลี่ย 2,267 มก./ล. พีเอช 4.78 COD 83,930 มก./ล. เมื่อนำมาทดลองแยกสกัดเงินด้วยวิธีทั้ง 4 วิธีแล้ว พบว่า การสร้างตะกอนผลึกเงินด้วยโซเดียมซัลไฟด์ สามารถสกัดเงินได้ 1.38 กรัมต่อน้ำยา 1 ล. และกาสร้างตะกอนผลึกเงินด้วยกรดไนตริกสามารถสกัดเงินได้ 1.31 กรัมต่อน้ำยา 1 ล. ในขณะที่การสกัดเงินโดยการแทนที่เหล็ก สามาถสกัดเงินได้ 1.9210 กรัมต่อน้ำยา 1 ลิตร ซึ่งวิธีที่เหมาะสมที่สุด คือ การสกัดเงินด้วยไฟฟ้า เนื่องจากเป็นวิธีที่สกัดเงินได้มากที่สุดโดยสภาวะที่เหมาะสม คือ พีเอช 7.5 ค่าความต่างศักย์ 2 โวลท์ ที่กระแสไฟฟ้า 0.5 แอมแปร์ และใช้เวลาในการทำปฏิกิริยา 10 ชั่วโมง ซึ่งสามารถแยกสกัดเงินได้ 2.1972 กรัมต่อน้ำยา 1 ลิตร และในน้ำทิ้งที่ผ่านการสกัดเงินแล้วจะเหลือความเข้มข้นของเงิน 2.27 มก./ล. พีเอช 5.92 และ COD 14,520 มก./ล. สำหรับค่าใช้จ่ายในการสกัดเงินด้วยไฟฟ้าซึ่งคำนวณจาก โซเดียมไฮดรอกไซด์สำหรับปรับพีเอช ค่าไฟฟ้า ค่าอุปกรณ์ และค่าแรงงาน รวมเป็นเงิน 14.28 บาทต่อน้ำยา 1 ล. หรือประมาณ 6.50 บาทต่อเงิน 1 กรัมที่สกัดได้ | - |
dc.description.abstractalternative | The extraction of silver from used X-ray fixer solution was carried out in order to propose and appropriate method for northeastern hospitals judging by ability of staffs and costs. Moreover, solution after extraction was also taken into consideration so a not to effect the environment. The methods used were 1) precipitation by Na2S, 2) precipitation by Nitric acid. 3) metallic replacement using Iron coil, 4) electrolysis using stainless plate and carbon rod as cathode and anode respectively. This solution consists of silver 2,267 mg/l, COD 83,930 mg/l, and pH 4.78. The results shown that the four methods can extract silver 1.38 g/l, 1.31 g/l, 1.921 g/l, and 2.1972 g/l respectively. From the results, it can be concluded that electrolysis was the most appropriate extraction method operated at pH 7.5, 2 volts, 0.5 ampere, and 10 hours of reaction time. The solution after extraction had silver concentration of 2.27 mg/l, COD 14,520 mg/l and pH 5.92. Cost analysis for electrolysis extraction of used X-ray fixer solution at an assumed central treatment facility was evaluated. It presented that the extraction cost was 14.28 Baht/l of solution (6.50 Baht/g of extracted silver). However, the solution after extraction still had high COD concentration of 14,520 mg/l. then a post treatment should be conducted to reduce organic concentration before discharging. | - |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | โรงพยาบาล--การกำจัดของเสีย | en_US |
dc.subject | น้ำเสีย--การบำบัด--การกำจัดโลหะหนัก | en_US |
dc.subject | Hospitals -- Waste disposal | en_US |
dc.subject | Sewage -- Purification -- Heavy metals removal | en_US |
dc.title | การจัดการน้ำยาหยุดภาพฟิล์มเอกซเรย์ที่หมดสภาพแล้วของโรงพยาบาลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | en_US |
dc.title.alternative | Management of used X-ray fixer solution for Northeastern hospitals | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
dc.email.advisor | Boonyong.L@Chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Nida_se_front_p.pdf | หน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ | 926.92 kB | Adobe PDF | View/Open |
Nida_se_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 723.51 kB | Adobe PDF | View/Open |
Nida_se_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 1.73 MB | Adobe PDF | View/Open |
Nida_se_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 931.17 kB | Adobe PDF | View/Open |
Nida_se_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 1.87 MB | Adobe PDF | View/Open |
Nida_se_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 689.77 kB | Adobe PDF | View/Open |
Nida_se_back_p.pdf | รายการอ้างอิงและภาคผนวก | 1.2 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.