Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65987
Title: การพัฒนารูปแบบสถาบันส่งเสริมและเผยแผ่การพระพุทธศาสนาในประเทศไทย
Other Titles: Development of the institution model for Buddhism promotion and propagation in Thailand
Authors: สมานจิต ภิรมย์รื่น
Advisors: ปทีป เมธาคุณวุฒิ
วัลลภา เทพหัสดิน ณ อยุธยา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Pateep.M@Chula.ac.th
dwallapa@dpu.ac.th
Subjects: พุทธศาสนา -- การเผยแผ่ -- ไทย
สถาบันศาสนา -- ไทย
ปริญญาดุษฎีบัณฑิต
Buddhism -- Missions -- Thailand
Religious institution -- Thailand
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบสถาบันส่งเสริมและเผยแผ่การพระพุทธศาสนาในประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพี่อ (1) ศึกษาสภาพส่งเสริมและเผยแผ่การพระพุทธศาสนาในประเทศไทย (2) พัฒนารูปแบบสถาบันส่งเสริมและเผยแผ่การพระพุทธศาสนาในประเทศไทย และ (3) พัฒนาหลักสูตรของสถาบันส่งเสริมและเผยแผ่การพระพุทธศาสนาในประเทศไทย สำหรับการถวายความรู้พระสังฆาธิการ และพระนักเผยแผ่ ผลการวิจัยพบว่า 1. การส่งเสริมและเผยแผ่การพระพุทธศาสนาในประเทศไทย ตามภารกิจ 6 ด้าน ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ ได้แก่ ด้านการปกครอง ด้านการเผยแผ่ ด้านการศาสนศึกษา ด้านการศึกษาสงเคราะห์ ด้านการสาธารณูปการ และด้านการสาธารณสงเคราะห์มีสภาพปัญหาและความคาดหวังในอนาคตต้องการให้การปกครองคณะสงฆ์ยึดหลักการ 3 ประการ คือ (1) หลักพระธรรมวินัย (2) หลักการบริหารองค์กร และ (3) หลักดุลยภาพในความสัมพันธ์รัฐกับประชาชนแยกอำนาจด้านนิติบัญญัติและอำนาจ ด้านตุลาการจากมหาเถรสมาคม มีการกระจายอำนาจไปยังส่วนภูมิภาคโดยเฉพาะในระดับจังหวัดจัดให้มีรูปแบบระบบ วิธีการสื่ออุปกรณ์ในการเผยแผ่ที่เหมาะสม มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และเป็นไปในทิศทางเดียวกันพัฒนางานด้านอื่น ๆ ตามภารกิจเพี่อให้วัดเป็นศูนย์กลางการพัฒนาด้านจิตใจและการปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ ของชุมชน โดยแก้ปัญหาความขาดแคลน และเสริมสร้างความพร้อมด้านความรู้ความสามารถ ให้แก่ พระสังฆาธิการและพระนักเผยแผ่ ซึ่งเป็นกลไกที่สำคัญในกระบวนการดำเนินงานจะทำให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล สืบทอดอายุพระพุทธศาลนาให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป 2. รูปแบบสถาบันส่งเสริมและเผยแผ่การพระพุทธศาลนาในประเทศไทย มีนโยบายให้เป็นองค์กรอิสระที่รัฐให้การรับรอง สนับสนุนด้านงบประมาณและการดำเนินงาน อยู่ในการกำกับดูแล เกื้อหนุนของมหาเถรสมาคม สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ และกรมการศาลนา กระทรวงวัฒนธรรม มีความอิสระคล่องตัวในการจัดการบริหารองค์กรภายใน กำหนดเป้าหมายและมาตรฐานไปสู่การปฏิบัติได้ มีหน้าที่รับผิดชอบในการวางแผนงานวิจัยและพัฒนา งานฝึกอบรมและพัฒนา งานเผยแผ่และงานความสัมพันธ์กับชุมชน ดำเนินการฝึกอบรมพระสังฆาธิการ พระนักเผยแผ่ และบุคลากรด้านการเผยแผ่ ครอบคลุมเป้าหมายที่มีอยู่ทั้งสังฆมลฑล มีโครงสร้างประกอบด้วย 8 ส่วนงานคือ (1) สภาสถาบัน (2) สำนักงานอธิการ (3) สำนักงานกองทุนสถาบัน (4) สำนักบริหารกลาง (5) สำนักวิจัยและมาตรฐาน (6) สำนักฝึกอบรมและพัฒนา (7) สำนักวิทยบริการ และ (8) สำนัก ประสานงานและบริการสังคม 3. หลักสูตรสถาบันส่งเสริมและเผยแผ่การพระพุทธศาสนาในประเทศไทย มี 2 หลักสูตร คือ หลักสูตรถวายความรู้แด่พระสังฆาธิการ ระดับเจ้าอาวาส ประกอบด้วยกิจกรรม/หมวดวิชา คือ (1) กิจกรรมการปฏิบัติ กรรมฐานและจิตตภาวนา (2) หมวดวิชาพระธรรมวินัยสำหรับพระสังฆาธิการ (3) หมวดวิชาพื้นฐานทั่วไป (4) หมวดวิชาเฉพาะสาขา (ตามภารกิจ 6 ด้าน) (5) หมวดวิชาเสริม และ (6) การฝึกปฏิบัติและการศึกษาดูงาน และหลักสูตรถวายความรู้แด่พระนักเผยแผ่ และบุคลากรด้านการเผยแผ่ ประกอบด้วย (1) กิจกรรมการปฏิบัติ กรรมฐานและจิตตภาวนา (2) หลักพระธรรมวินัยสำหรับการเผยแผ่ (3) หลักการและภารกิจด้านการเผยแผ่ (4) หมวดวิชาพื้นฐานทั่วไป (5) หมวดวิชาเฉพาะ (6) หมวดวิชาเสริม และ (7) การศึกษาดูงานและการฝึกปฏิบัติจริง ทั้ง 2 หลักสูตรเป็นหลักสูตรหลัก สามารถปรับเนื้อหาและจำนวนชั่วโมงให้เหมาะสมกับผู้เข้ารับการอบรมได้
Other Abstract: This dissertation had their main objectives. First was focused on the current status of the promotion and propagation of Buddhism in Thailand. Second, it aimed at developing a model of an Institute for the Promotion and Propagation of Buddhism in Thailand. Finally, it was purported to develop a curriculum of the institute. The first part of the study reviewed the six tasks of Buddhism promotion and propagation, namely: Administration, Propagation, Buddhism Study, Alternative Education, Monastery Facilities, and Public Social Work. The findings showed major issues of concerns and future expectations of the three guidelines for the monastery governance, namely: the Monastery Discipline, the Governance Guideline, and the Policy on State-People Equality. It was suggested that the legislative and juristic authorities residing with Supreme Sangha Council should be separated into two distinctive institutions. Furthermore, executive power should be delegated to the provincial bodies, with due sufficiency and adequacy in the provision of models, systems, method, and materials for effective and efficient promotion and propagation functions. Related tasks should also be improved with a view to operating the monastery as a center for moral development as well as for conducting community activities as deemed appropriate. Areas of focus for monastery affairs might include matters dealing with local poverty issues and capacity development of the ecclesiastic officials and propagation agents. These were considered effective mechanisms in the proposed strategies for promoting and prolonging the Buddhist doctrine. The second part of findings pertained to a model of the Institute for the Promotion and Propagation of Buddhism in Thailand. The Institute would be created as an autonomous body to be accredited and financed by the government. It would be operated under the auspices of the Supreme Sangha Council, the National Buddhism Office, and the Department of Religious Affairs of the Ministry of Culture. The Institute would be charged with planning, research and development, training and development, monastery and community relations, and training of ecclesiastic officials and propagation agents. The structure of the Institute would cover eight components, namely, the Institute Assembly, the Rector Office, the Institute’s Funding Office, the Central Administrative Office, the Research and Standard Office, the Training and Development Office, the Academic Resource Service Office and the Coordination and Public Service Office. The third part of findings pertained to the curriculum of the Institute. The curriculum would be comprised of two programs, namely: the Learning Program for Ecclesiastical Officials and the Training Program for Propagation Agents. The first program would entail meditation, Buddhist teachings/responsibilities and functions of the abbot, general foundation subjects, tasks-related study, supplementary subjects, and field experience. Similarly, the second program would be composed of meditation, Buddhist teachings necessary for promotion, general subjects, specialized subjects, tasks-related subjects, supplementary subjects, and field experience. These two programs would be generic in nature, with built-in flexibility for adaptation to suit the particular groups of participants.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: อุดมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65987
ISBN: 9741743696
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Smarnjit_pi_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ919.11 kBAdobe PDFView/Open
Smarnjit_pi_ch1_p.pdfบทที่ 11.43 MBAdobe PDFView/Open
Smarnjit_pi_ch2_p.pdfบทที่ 24.05 MBAdobe PDFView/Open
Smarnjit_pi_ch3_p.pdfบทที่ 31.91 MBAdobe PDFView/Open
Smarnjit_pi_ch4_p.pdfบทที่ 44.62 MBAdobe PDFView/Open
Smarnjit_pi_ch5_p.pdfบทที่ 51.68 MBAdobe PDFView/Open
Smarnjit_pi_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก1.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.