Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66058
Title: | การทดลองจลนพลศาสตร์โดยอาศัยสีย้อมจากธรรมชาติที่ย่อยสลายได้และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม |
Other Titles: | Kinetic experiment based on biodegradable and eco-friendly natural dyes |
Authors: | มาลินี กาฬภักดี |
Advisors: | เสาวรักษ์ เฟื่องสวัสดิ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Advisor's Email: | Saowarux.F@Chula.ac.th |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การทดลองจลนพลศาสตร์เป็นปฏิบัติการหนึ่งที่สำคัญในรายวิชาปฏิบัติการการเรียนการสอนเคมีทั่วไป 1 ของภาควิชา เคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยปัจจุบันใช้สารละลายโพแทสเซียมไดโครเมต (K₂Cr₂O₇) เป็นสารตั้งต้น ซึ่งโครเมียม (VI) มีความเป็นพิษ ทำให้เกิดของเสียและค่าใช้จ่ายในการกำจัดสารสูง งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบการ ทดลองจลนพลศาสตร์โดยใช้สีย้อมจากธรรมชาติที่ย่อยสลายได้และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เพื่อลดปัญหาการเกิดของ เสีย โดยรงควัตถุธรรมชาติที่เลือกใช้คือแอนโทไซยานินที่สกัดจากดอกอัญชัน นำมาศึกษาปฏิกิริยาการสลายตัวโดยการ ทำปฏิกิริยากับไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ 3% ซึ่งมากเกินพอและเข้มข้นกว่าแอนโทไซยานินมากๆ ติดตามปฏิกิริยาได้จาก การวัดค่าการดูดกลืนแสงผ่านเครื่องสเปกโทรนิค 21 ผลพบว่าเป็นปฏิกิริยาอันดับ 1 เมื่อเทียบกับแอนโทไซยานิน การศึกษาความเข้มข้นของสารตั้งต้นพบว่าภาวะที่เหมาะสมคือการใช้สารละลายแอนโทไซยานินที่ให้ค่าการดูดกลืน แสงที่ 570 nm ในช่วง 0.6 – 0.7 (A0.6-07) การศึกษาผลของไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ความเข้มข้นต่างๆ (3 – 24%) พบว่า H₂O₂ 3% ให้ผลดีที่สุด และการใช้ CuSO₄ 0.03 M 1 หยด ช่วยลดเวลาการทำการทดลองลงจากเฉลี่ย 28 นาที ให้เหลือเฉลี่ย 20 นาที การทดสอบวิธีการทดลองจากภาวะที่ดีที่สุด คือการใช้ A0.6-0.7, 3% H₂O₂ และ CuSO₄ 0.03 M 1 หยด โดยใช้ผู้ทดลอง 11 คนรวมผู้วิจัย ทำการทดลองทั้งหมด 33 ซ้ำ ให้ผลใกล้เคียงกัน คือเป็นปฏิกิริยาอันดับ 1 อย่างชัดเจน มีค่าคงที่อัตราในช่วง 0.0418-0.09003 และค่าครึ่งชีวิตเฉลี่ย 10 นาที ใช้เวลาการทดลองเฉลี่ย 20 นาที แสดงให้เห็นว่าแม้จะใช้เวลาในการทดลองนานระยะหนึ่ง แต่พอมีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ในรายวิชาปฏิบัติการ เคมีทั่วไป 1 เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนเชิงเคมีสีเขียวได้ |
Other Abstract: | A kinetic study is an important experiment in General Chemistry Laboratory 1 by Department of Chemistry, Faculty of Science, Chulalongkorn University. Currently, potassium dichromate (K₂Cr₂O₇) is used as a reactant which involves toxic Cr (VI) thus hazardous waste and high cost in remediation. This research aimed to design a kinetic experiment based on biodegradable and environmentally friendly natural dye to reduce toxic waste generation. Anthocyanins from abundant butterfly pea flowers was chosen as the natural pigment in this study. Absorbances obtained using general instrument like Spectronic 21 was used to follow a degradation of anthocyanins upon reacting with 3% H₂O₂ in a flooding fashion and the reaction order was 1 with respect to anthocyanins. The suitable amount of anthocyanins for degradation study was a solution with absorbance of 0.6 – 0.7 at 570 nm (A0.6-0.7). The concentration of H₂O₂, varied from 3 – 24%, that gave the best result was 3%. Addition of 1 drop of 0.03 M CuSO₄ reduced an experimental time from 28 min to 20 min in average. The best experimental procedure which was using A0.6-0.7, 3% H₂O₂, and 1 drop of 0.03 M CuSO₄, was tested by 11 individuals including the author with a total of 33 separate experiments. All the tests similarly showed an obvious reaction order of one with respect to anthocyanins with rate constants in the range of 0.0418 – 0.09003, an average half-life of 10 min and an average experimental time of 20 min. The results suggest that this slightly long experiment could be managed to use in General Chemistry Laboratory 1 class to promote green chemistry instruction. |
Description: | โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2561 |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66058 |
Type: | Senior Project |
Appears in Collections: | Sci - Senior Projects |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Malinee_K_Se_2561.pdf | 1.32 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.