Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66063
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอัญชิษฐา สัจจารักษ์-
dc.contributor.authorนิติกร แจ่มสุวรรณ์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-05-29T14:09:54Z-
dc.date.available2020-05-29T14:09:54Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66063-
dc.descriptionโครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2561en_US
dc.description.abstractออกซินมีความสำคัญและมีอิทธิพลต่อของการพัฒนาทางสรีรวิทยา ส่งผลต่อการงอกใหม่ ของเซลล์ การเจริญยืดยาวของเซลล์ การขยายตัวของเซลล์ และควบคุมการแบ่งเซลล์ ดังนั้นจะ เห็นได้ว่าออกซินถือเป็นฮอร์โมนที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืช และสาหร่ายสีเขียวซึ่ง เป็นกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่มีบรรพบุรุษร่วมกัน โดยสาหร่ายสีเขียวประกอบไปด้วยสาหร่ายสองกลุ่มใหญ่ ได้แก่ สาหร่ายคลอโรไฟต์ซึ่งหมายถึงสาหร่ายสีเขียวส่วนใหญ่ที่พบได้ทั่วไปในธรรมชาติ สาหร่ายสี เขียวอีกกลุ่มคือสาหร่ายสเตรปโตไฟต์ ซึ่งเป็นสาหร่ายสีเขียวกลุ่มเล็ก ๆ แต่มีความใกล้ชิดทาง วิวัฒนาการกับพืช เพื่อที่จะเข้าใจบทบาทของออกซินต่อสาหร่าย ในการศึกษานี้จึงศึกษาผลของ ออกซิน (indole-3-acetic acid, IAA) 6 ความเข้มข้น ได้แก่ 0, 0.1, 1.0, 10.0, 50.0 และ 100.0 ไม โครโมลาร์ ต่อสาหร่ายกลุ่มคลอโรไฟต์ (Chlorella vulgaris, Scenedesmus sp.) และสเตรปโต ไฟต์ (Klebsormidium sp.) ผลการทดลองพบว่าออกซินที่ความเข้มข้นเท่ากับ 0.1, 1.0, 10.0, 50.0, และ 100.0 ไมโครโมลาร์ มีผลทำให้ขนาดและความหนาแน่นของเซลล์ของสาหร่าย Chlorella vulgaris, Scenedesmus sp. และ Klebsormidium sp. แตกต่างจากชุดควบคุมอย่าง มีนัยสำคัญ ที่ความเข้มขันของออกซินเท่ากับ 50.0 และ 100.0 ไมโครโมลาร์ มีผลทำให้เซลล์ สาหร่ายมีขนาดใหญ่ขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สาหร่าย Chlorella vulgaris, Scenedesmus sp. มีการแบ่งเซลล์สูงสุดที่ความเข้มข้นของออกซินเท่ากับ 10.0 ไมโครโมลาร์ ในขณะที่สาหร่าย Klebsormidium sp. มีการแบ่งเซลล์สูงสุดในความเข้มข้นของออกซินเท่ากับ 1.0 ไมโครโมลาร์ อย่างไรก็ตามจากการวิเคราะห์ทรานสคริปโตมส์ของสาหร่ายสกุลดังกล่าวพบว่าสาหร่ายสกุล ดังกล่าวไม่ได้มีโปรตีน ที่ทำหน้าที่ตอบสนองต่อฮอร์โมนออกซินเช่นเดียวกับพืช ดังนั้น จึงอาจกล่าว ได้ว่าสาหร่ายสีเขียวและพืชมีกระบวนการตอบสนองต่อออกซินที่แตกต่างกันen_US
dc.description.abstractalternativeAuxin is important to plant growth, development, and physiology by affecting cell growth, cell expansion, and cell division. Plants and green algae form a monophyletic relationship sharing a common ancestor. Green algae consist of two main green lineages 1) chlorophyte algae that represent the majority of the green algal diversity and 2) streptophyte algae, a smaller green algal group known to be closely related to land plants. To gain understanding of effects of auxin on green algae, we treated chlorophyte algae Chlorella vulgaris and Scenedesmus sp. and a streptophyte alga Klebsormidium sp. with six auxin (indole-3-acetic acid, IAA) concentrations: 0, 0.1, 1.0, 10.0, 50.0, and 100.0 μM. Results showed that IAA at 0.1, 1.0, 10.0, 50.0 and 100.0 μM significantly affected cell size and cell density of Chlorella vulgaris, Scenedesmus sp., and Klebsormidium sp. 50.0 μM and 100.0 μM IAA significantly increased cell size of the algae. Chlorella vulgaris and Scenedesmus sp. exhibited the highest cell division rate when treated with 10.0 μM IAA while Klebsormidium sp. exhibited the highest cell division rate 1.0 μM IAA. However, by analyzing algal transcriptomes of algal genera, we did not find proteins known to be associating in plant auxin response, suggesting that green algae and land plants might use different mechanisms to respond to exogenous IAAen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.titleผลของออกซินต่อการเติบโตของสาหร่ายคลอโรไฟต์และสเตรปโตไฟต์บางชนิดen_US
dc.title.alternativeEffects of auxin on growth of some chlorophyte and streptophyte algaeen_US
dc.typeSenior Projecten_US
dc.email.advisorAnchittha.S@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Nitikorn_J_Se_2561.pdf1.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.