Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66075
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพงษ์ชัย ดำรงโรจน์วัฒนา-
dc.contributor.authorก้องเขต ปี่เสนาะ-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-05-30T14:40:19Z-
dc.date.available2020-05-30T14:40:19Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66075-
dc.descriptionโครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2561en_US
dc.description.abstractปัจจุบันระบบนิเวศป่าไม้มีความเสื่อมโทรมและสูญเสียความสามารถในการให้บริการของระบบนิเวศ (ecosystem services) แต่ความรู้ความเข้าใจของเยาวชนและบุคคลทั่วไปเกี่ยวกับบริการของระบบนิเวศยังมีอยู่จำกัดและพบว่ายังขาดการสร้างเครื่องมือในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องบริการของระบบนิเวศ ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและทดสอบประสิทธิภาพของแบบจำลองเชิงบูรณาการในรูปแบบเกมและสถานการณ์จำลองสำหรับแลกเปลี่ยนเรียนรู้บริการของระบบนิเวศป่าชุมชน โดยเลือกจังหวัดน่านเป็นพื้นที่ศึกษา เนื่องจากประสบปัญหาป่าไม้ลดลงอย่างรวดเร็ว การศึกษาทำโดยใช้ข้อมูลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับป่าชุมชนตำบลไหล่น่าน อำเภอเวียงสา มาประกอบการสร้างเกมและสถานการณ์จำลองในรูปแบบการ์ดเกมที่ประกอบด้วยสถานการณ์จำลอง 3 สถานการณ์ (การใช้ประโยชน์จากป่าชุมชนตามปกติ การร่วมมือกันดูแลป่าชุมชน และการใช้ประโยชน์ที่มากเกินไปร่วมกับการมีผู้บุกรุกจากภายนอกและนายทุน) แต่ละสถานการณ์มีการ์ดบริการของระบบนิเวศ 4 ด้าน ได้แก่ บริการด้านการเป็นแหล่งผลิต บริการด้านการควบคุมกลไกของระบบ บริการด้านวัฒนธรรม และบริการด้านการสนับสนุนด้านอื่น ๆ จากนั้นทำการปรับแก้แล้วนำไปทดสอบประสิทธิภาพโดยให้ผู้เล่นทำแบบทดสอบก่อนและหลังการใช้แบบจำลอง ผลการนำเกมไปใช้กับนักเรียนระดับชั้นมัธยมตอนปลายในจังหวัดน่าน จำนวน 315 คน รวม 11 รอบ (gaming sessions) พบว่าผู้เล่นเข้าใจวิธีการเล่นเกมและทำให้ผลที่เกิดขึ้นจากการจัดการในแต่ละสถานการณ์ต่างกันเมื่อเล่นเกมผ่านไป 3 รอบ (หรือเทียบเท่า 3 ปี ในชีวิตจริง) โดยสถานการณ์การร่วมมือกันดูแลป่าชุมชนมีทรัพยากรธรรมชาติสูงสุดและไม่มีหนี้ นอกจากนี้ผู้เล่นยังได้เห็นผลที่เกิดขึ้นจากการจัดการที่แตกต่างกัน สำหรับประสิทธิภาพของแบบจำลองพบว่าผู้ใช้แบบจำลองมีคะแนนหลังการใช้แบบจำลอง (8.81±1.93) สูงกว่าคะแนนก่อนการใช้แบบจำลอง (6.89±2.05) อย่างมีนัยสำคัญ (n=209, p=0.05) ซึ่งสรุปได้ว่าแบบจำลองนี้สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับบริการของระบบนิเวศป่าชุมชนได้ นอกจากนี้ได้นำแบบจำลองไปขยายผล (out-scaling) ร่วมกับชาวบ้าน เจ้าหน้าที่ป่าไม้ และเจ้าหน้าที่ในโครงการศูนย์ศึกษาวิธีการฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรมเขาชะงุ้ม อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดราชบุรี ซึ่งได้รับความสนใจในการนำไปประยุกต์ให้เข้ากับพื้นที่แห่งนี้en_US
dc.description.abstractalternativeForest degradation and forest loss create negative impacts to ecosystem services. Despite its significance, the concept of ecosystem services is not well-known in youths and publics. Moreover, there is a lack of learning tool on ecosystem services. Therefore, the aims of this study were to create an integrative model in form of gaming and simulation, and to test its effectiveness for improving users’ knowledge on ecosystem services. The study area was located in Nan province, Northern Thailand, which the forest area is rapidly decreasing. Previous studies in Lainan subdistrict, Wiang Sa district were used to create a gaming and simulation in the card game format. The game contained 3 scenarios (business as usual, collaborative management, and overharvesting with the encroachment of outsiders and capitalists). In each scenario, there were 4 main type of ecosystem services, including provisioning service, regulating service, cultural service, and supporting service. The game was calibrated and tested in 11 gaming sessions with 315 high school students, so called players, in Nan province. Pretest and posttest were used to assess the effectiveness of the game. The results showed that players understood the model resulted in different results in each scenario after played for 3 rounds (simulate 3 years). At the end of the gaming session, the collaborative management scenario remained highest natural resources compared with the other scenarios and all players did not in debt. Moreover, players learned the different results of the 3 scenarios. In term of effectiveness, the results showed that player’s posttest score (8.81±1.93) was significantly higher than the pretest. (6.89±2.05) (n=209, p=0.05). We concluded that this model could be used as a tool to promote learning community forest ecosystem services. Moreover, this model was out-scaling used with villagers, forest ranger, and land development officers at the Development Project for the Deteriorated Area of Khao Cha-ngum, Ratchaburi Province. Participants interested to adapt this game with their forest management context.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.titleแบบจำลองเชิงบูรณาการเพื่อการเรียนรู้บริการของระบบนิเวศป่าชุมชนen_US
dc.title.alternativeIntegrative model for learning on community forest ecosystem servicesen_US
dc.typeSenior Projecten_US
dc.email.advisorPongchai.D@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kongkhet_P_Se_2561.pdf3.02 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.