Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66096
Title: การออกแบบและพัฒนามาตรวัดซอฟต์แวร์ โดยใช้เทคนิคฟังก์ชันพอยต์สำหรับโปรแกรมเชิงวัตถุ
Other Titles: Design and implementation of a function point measurement tool for an object-oriented program
Authors: สมภพ ตาลสอน
Advisors: พรศิริ หมื่นไชยศรี
Advisor's Email: Pornsiri.Mu@Chula.ac.th
Subjects: ซอฟต์แวร์
การโปรแกรมเชิงวัตถุ
การวิเคราะห์ฟังก์ชันพอยต์
Computer software
Object-oriented programming (Computer science)
Function point analysis
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในการพัฒนาซอฟต์แวร์เชิงวัตถุ การวางแผนเพื่อจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดอย่างเหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้นการทราบถึงขนาดของซอฟต์แวร์ตั้งแต่ระยะเริ่มแรกของโครงงานทำให้การจัดสรรทรัพยากรเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ วิทยานิพนธ์นี้เป็นการออกแบบและพัฒนาเครื่องมือวัดขนาดซอฟต์แวร์สำหรับโปรแกรมเชิงวัตถุ โดยเครื่องมือดังกล่าวมีชื่อว่า Chula OOFP Counting ซึ่งใช้เทคนิคการวัดแบบฟังก์ชันพอยต์เชิงวัตถุ เทคนิคการวัดนี้ดัดแปลงมาจากฟังก์ชันพอยต์แบบตั้งเดิมซึ่งทำงานกับแนวคิดการออกแบบและพัฒนาซอฟต์แวร์แบบโครงสร้าง โดยที่การวัดไม่ขึ้นอยู่กับภาษา คอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการพัฒนา ฟังก์ชันพอยต์ใช้ข้อกำหนดความต้องการของซอฟต์แวร์ (Software Requirement Specification) เป็นข้อมูลเข้าในการวิเคราะห์คำนวณขนาดของซอฟต์แวร์ งานวิจัยนี้ได้ใช้แผนภาพคลาสซึ่งเป็นห นึ่งในข้อกำหนดความต้องการของซอฟต์แวร์เป็นข้อมูลเข้าสำหรับเครื่องมือวัดที่พัฒนาขึ้น จำนวนฟังก์ชันพอยต์ของคลาสและของซอฟต์แวร์เป็นค่าวัดที่ได้จากเครื่องมือวัดนี้ข้อมูลจำนวนฟังก์ชันพอยต์เหล่านี้ทำให้ผู้พัฒนาทราบขนาดของซอฟต์แวร์เชิงวัตถุได้ในระหว่างขั้นตอนการวิเคราะห์และออกแบบระบบ ซึ่งช่วยให้นักพัฒนาหรือผู้บริหารโครงงานสามารถจัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างเหมาะสมกับขนาดซอฟต์แวร์ที่วัดได้จริง
Other Abstract: In object-oriented software development projects, the resource allocation is an important part of project planning. So. The awareness of the software size since the initial phase makes the project planners allocate the resource effectively. The thesis is the design and implementation of a measurement tool for object-oriented programs. The tool is named Chula OOFP Counting. Object-Oriented Function Points (OOFP) is a technique used in the tool. OOFP is based on an adaptation of classical Function Points (FP) method to enable the measurement of object-oriented analysis and design specifications. Originally, FP has dealt with structural software development practices and Software Requirement Specification (SRS) is used as input. Class diagram is a Software Requirement Specification used as an input for the measurement tool in this research. The tool has been constructed to automate the counting method and the number of function point in classes and entire software would be reported. With This information, developers roughly know the object-oriented software size during design phase. Particularly, the software developers or project managers are able to allocate resources properly to the measured software size
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66096
ISBN: 9740312152
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sompop_ta_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ1 MBAdobe PDFView/Open
Sompop_ta_ch1_p.pdfบทที่ 1724.69 kBAdobe PDFView/Open
Sompop_ta_ch2_p.pdfบทที่ 21.55 MBAdobe PDFView/Open
Sompop_ta_ch3_p.pdfบทที่ 32.91 MBAdobe PDFView/Open
Sompop_ta_ch4_p.pdfบทที่ 41.65 MBAdobe PDFView/Open
Sompop_ta_ch5_p.pdfบทที่ 51.37 MBAdobe PDFView/Open
Sompop_ta_ch6_p.pdfบทที่ 6671.3 kBAdobe PDFView/Open
Sompop_ta_back_p.pdfรายการอ้างอิงและภาคผนวก2.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.