Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66101
Title: ไมโครพลาสติกปนเปื้อนในหอยนางรมจากเกาะในอ่าวไทย
Other Titles: Microplastics contamination in oysters from islands in the Gulf of Thailand
Authors: หฤษฎ์ จักราธิวัตริ์
Advisors: นพดล กิตนะ
สุชนา ชวนิชย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: Noppadon.K@Chula.ac.th
Suchana.C@Chula.ac.th
Issue Date: 2561
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การปนเปื้อนไมโครพลาสติกเป็นปัญหาหนึ่งที่ส่งผลต่อระบบนิเวศทางทะเลทั่วโลก เนื่องจากพลาสติกที่ถูกทิ้งเป็นขยะถูกย่อยสลายอย่างไม่สมบูรณ์ด้วยแรงกระทำทางธรรมชาติ เช่น UV ความร้อน คลื่น จึงทำให้กลายเป็นพลาสติกที่มีขนาดเล็กกว่า 5 มิลลิเมตรที่เรียกว่า ไมโคร พลาสติก ซึ่งสามารถปนเปื้อนสะสมในสัตว์ที่มีพฤติกรรมการกินแบบกรองกิน เช่น หอยสองฝา สำหรับประเทศไทยมีรายงานการปนเปื้อนไมโครพลาสติกในปี พ.ศ.2560 โดยพบว่ามีไมโครพลา สติก 4 ชนิด ได้แก่ พอลิสไตรีน พอลิเอทิลีน พอลิเอไมด์ พอลิไวนิลคลอไรด์ ปนเปื้อนอยู่ในหอย นางรม Saccotrea forskalii ที่จังหวัดชลบุรี การปนเปื้อนไมโครพลาสติกในหอยสองฝาอาจส่งผลกระทบต่อหอยและสัตว์ที่กินหอยเป็นอาหารรวมถึงมนุษย์ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบ การปนเปื้อนไมโครพลาสติกในหอยนางรมจากเกาะในอ่าวไทย โดยเก็บตัวอย่างหอยนางรม Saccostrea spp. ในปี พ.ศ.2561-2562 จาก 4 พื้นที่ในอ่าวไทยตอนบน ได้แก่ เกาะทะลุ จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ (ฝั่งตะวันตก) เกาะสีชัง (ฝั่งตะวันออกด้านใน) เกาะแสมสาร และ ท่าเรือเขาหมาจอ (ฝั่งตะวันออกด้านนอก) จังหวัดชลบุรี แล้วนำหอยนางรมออกจากเปลือกมาทำความสะอาดและชั่งน้ำหนัก ย่อยเนื้อเยื่อด้วยสารละลายโพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ 10% จากนั้นนำสารแขวนลอยกรอง ผ่านแผ่นกรองขนาด 1.2 μm แช่แผ่นกรองในสารละลาย 4.4 M โซเดียมไอโอไดด์ นำไป sonication และ centrifuge ที่ 500×g และ กรองอีกครั้งหนึ่ง นำแผ่นกรองที่มีไมโครพลาสติกติดอยู่ไปส่องใต้ กล้องจุลทรรศน์ และบันทึกชนิด และจำนวนพลาสติกที่พบต่อน้ำหนักหอย 1 กรัม ผลการศึกษาเบื้องต้นพบไมโครพลาสติกอย่างน้อย 5 ชนิดปนเปื้อนในหอยนางรมจากเกาะในอ่าวไทย และพบข้อมูลเกี่ยวกับปริมาณและชนิดไมโครพลาสติกที่ปนเปื้อนในหอยนางรมในพื้นที่และฤดูกาลที่แตกต่างกัน ข้อมูลที่ได้สามารถใช้เพื่อบ่งบอกระดับการปนเปื้อนไมโครพลาสติกในอ่าวไทยและยังสามารถใช้เป็นสัญญาณเตือนถึงแนวโน้มการปนเปื้อนไมโครพลาสติกที่สามารถถ่ายทอดทางอาหาร ไปสู่สิ่งมีชีวิตอื่นรวมทั้งมนุษย์ได้
Other Abstract: Microplastics contamination is one of the current threats to marine ecosystem globally. Disposals of plastics waste to the environment can lead to microplastics formation by breaking down of plastics by UV, light or physical damages until the particle size is smaller than 5 millimeters, and eventually contaminating in filter feeders such as bivalves. Evidence of microplastics contamination in Thailand was reported in a 2017 study that 4 types of microplastics residues including polystyrene, polyethylene, polyamide and polyvinyl chloride can be found in oyster Saccostrea forskalii from Chonburi province. The contamination of microplastics in bivalves can lead to potential health effects to the bivalves as well as animals that consume them, including human. Objective of this research is to examine an extent of microplastics contamination in oysters from islands in The Gulf of Thailand. During 2018-2019, oysters (Saccostrea spp.) were collected from 4 representative sites covering inner part of the Gulf of Thailand including 1) Talu Island, Prachuap Khiri Khan province (western part), 2) Si Chang Island, Chonburi province (inner eastern part), 3) Samaesarn Island and 4) Mah Jor Port, Chonburi province (outer eastern part). After de-shelling, cleaning and weighing, oyster samples were digested in 10% potassium hydroxide and filtered through 1.2-micrometer filter membranes. Each membrane was placed in a centrifuge tube containing 4.4 M sodium iodide solution and subjected to sonication for 10 minutes. After that, a suspension was centrifuged at 500 ×g for 5 minutes and filtered through another filter membrane. Filter membranes with microplastics residue were examined under a stereomicroscope, and type and number of plastics per gram of oyster were recorded. Preliminary results showed that at least 5 types of microplastics can be found in the oysters living in the Gulf of Thailand. Species, site and seasonal related difference on number and type of microplastics were found. The data could be used as an indicator of microplastics pollution in the Gulf of Thailand, as well as an early warning of potential microplastics transfer through food web to human.
Description: โครงงานเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาตามหลักสูตรปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2561
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66101
Type: Senior Project
Appears in Collections:Sci - Senior Projects

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Harit_C_Se_2561.pdf1.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.