Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66175
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเพ็ชรพร เชาวกิจเจริญ-
dc.contributor.authorทรงพล ครามโกมุท-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-06-04T07:15:26Z-
dc.date.available2020-06-04T07:15:26Z-
dc.date.issued2544-
dc.identifier.isbn9740304516-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66175-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544en_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเปรียบเทียบความสามารถในการบำบัดสีและซีโอดีของนํ้าเสียกากส่าด้วยระบบยูเอเอสบีที่ทำงานร่วมกับระบบกรองไร้อากาศจำนวน 2 คอลัมน์ ซึ่งภายในคอลัมน์ทั้งสองจะบรรจุตัวกลางพลาสติก โพลีเอทธิลีนที่แตกต่างกัน การทดลองจะใช้คอลัมน์จำนวน 2 ชุดที่ทำด้วยวัสดุพีวีซีใส ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 70 มม. และสูง 2800 มม. โดยภายในคอลัมน์ที่ 1 จะบรรจุตัวกลางพลาสติกโพลีเอทธิลีนรูปวงแหวนที่มีพื้นที่ผิว 187 ม2/ม3ของตัวกลาง ในขณะที่ภายในคอลัมน์ที่ 2 จะบรรจุตัวกลางพลาสติกโพลิเอทธิลีนรูปทรงกลมที่มีพื้นที่ผิว 135 ม2/ม3 ของตัวกลาง และกำหนดให้ความสูง ของชั้นตัวกลางภายในคอลัมน์ทั้งสองสูงเท่ากันคือ 1.25 เมตร และทำการป้อนนํ้าเสียกากส่าเป็นแบบไหลขึ้นที่อัตราสูบ 7.5 ลิตรต่อวัน โดยจะมีการแปรเปลี่ยนค่าชีโอดีของนํ้ากากส่าเป็น 3500 และ 4500 ซึ่งคิดเป็นอัตราภาระอินทรีย์ 2.33 และ 3 กก.ชีโอดี/ลบ.ม.-วัน ตามลำดับ จากการศึกษาพบว่า ประสิทธิภาพในการกำจัดซีโอดีของคอลัมน์ที่ 1 เท่ากับ 58% และ 65% และลำหรับคอลัมน์ที่ 2 จะให้ประสิทธิภาพในการกำจัดซีโอดีเท่ากับ 55% และ 65% ที่อัตราภาระอินทรีย์ 2.33 และ 3 กก.ชีโอดี/ลบ.ม.-วัน ตามลำดับ และคอลัมน์ที่ 1 ให้ประสิทธิภาพในการกำจัดสีร้อยละ 41 และ 45 และสำหรับคอลัมน์ที่ 2 จะให้ประสิทธิภาพในการกำจัดสีร้อยละ 45 และ 51 ที่อัตราภาระอินทรีย์ 2.33 และ 3 กก.ซีโอดี/ลบ.ม.-วัน ตามลำดับ ส่วนค่าตะกอนแขวนลอยในน้ำทิ้งของคอลัมน์ที่ 1 มีค่าเท่ากับ 198 และ 110 มก./ล. ส่วนคอลัมน์ที่ 2 มีค่าเท่ากับ 137 และ 63 มก./ล. ที่อัตราภาระอินทรีย์ 2.33 และ 3 กก.ซีโอดี/ลบ.ม.-วัน ตามลำดับ โดยก๊าซชีวภาพที่เกิดขึ้นจากคอลัมน์ที่ 1 เฉลี่ยเป็น 4.6 และ 6.9 ลิตรต่อวัน ซึ่งมีปริมาณก๊าซมีเทนร้อยละ 57.43 และ 66.76 ที่อัตราภาระอินทรีย์ 2.33 และ 3 กก.ซีโอดี/ลบ.ม.-วัน ตามลำดับ ส่วนคอลัมน์ที่ 2 จะเกิดก๊าซชีวภาพเฉลี่ยเท่ากับ 5.2 และ 8.2 ลิตรต่อวัน ซึ่งมีปริมาณก๊าซมีเทนร้อยละ 56.70 และ 71.77 ที่อัตราภาระอินทรีย์ 2.33 และ 3 กก.ซีโอดี/ลบ.ม.-วัน ตามลำดับ ผลการทดลองพบว่าคอลัมน์ที่ 1 และคอลัมน์ที่ 2 จะมีแนวโน้มในการกำจัดซีโอดีและสีที่ใกล้เคียงกัน รวมไปถึงค่าตัวแปรต่าง ๆ ที่สภาวะคงตัวของทั้งสองคอลัมน์ก็จะใกล้เคียงกันด้วย แต่คอลัมน์ที่ 2 จะมีประสิทธิภาพในการกักเก็บเซลล์ได้ดีกว่าคอลัมน์ที่ 1 แสดงให้เห็นว่าลักษณะของตัวกลางจะมีผลต่อการกักเก็บเซลล์ภายในคอลัมน์ และเมื่อมีการเพิ่มอัตราภาระอินทรีย์จะพบว่าระบบก็ยังสามารถดำเนินไปได้ ส่วนในจากการทดลองที่ระยะความสูงต่าง ๆ ของคอลัมน์ พบว่าการกำจัดซีโอดีและสีส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นบริเวณ ด้านล่างของคอลัมน์ในส่วนของชั้นตะกอนแบคทีเรียเนื่องจากนํ้าเสียที่เข้ามามีปริมาณของสารอินทรีย์ที่ย่อยสลายง่ายอยู่มากซึ่งจากการวิเคราะห์ด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน (SEM) จะพบว่าแบคทีเรียที่เกิดขึ้นภายในคอลัมน์ทั้งสอง เป็นแบคทีเรียที่มีหลากหลายสายพันธุอาศัยอยู่ร่วมกัน-
dc.description.abstractalternativeThis academic research concerned the comparative studies of the efficiency of anaerobic hybrid filter system in the COD and color removals of distillery slop wastewater by using two columns of anaerobic hybrid filter reactors, in both of which the different polyethylene plastic media were installed. In the experiments, two reactors of anaerobic hybrid filter, made of 70 mm diameter x 2800 mm PVC cylinder, were used. Contained in the first reactor was the ring-shaped Polyethylene plastic media with the surface area of 187 m2/m3 while the other reactor contained those with the surface area of 135 m2/m3. The height of media in both reactors was positioned at 1.25 m, and the feeding direction of wastewater was up flow at the preset rate of 7.5 liters per day. During the experiments, The organic loading rate had changed to 2.33 and 3 kgCOD/m3-day. According to the studies, the COD removal efficiency were 58 and 65 % and the color removal efficiency were 45 and 51% at the first reactor, for the other reactor, the COD removal efficiency was 55 and 65 % and the color removal efficiency was 45 and 51% at the organic loading rate of 2.33 and 3 kgCOD/m3-day respectively. The suspended solids of effluent were 198 and 110 mg/l in the reactor number one, and 137 and 63 mg/l in the reactor number two at the organic loading rate of 2.33 and 3 kgCOD/m3-day respectively. In addition, it was found that the biochemical gas in the first reactor was generated at the average rate of 4.6 and 6.9 liters per day, containing 57.43% and 66.76% methane gas respectively. And, such gas also existed in the other reactor at the average rate of 5.2 and 8.2 liters per day, containing 56.70% and 71.77% methane gas respectively. After the experiments, the result indicated that both anaerobic hybrid filter reactor number one and number two were able to treat wastewater at the same level. However, the reactor number two had a greater efficiency in correcting microorganisms than did the reactor number one. This was due to media structure. Furthermore, despite the increasing organic loading rate, it was found that the system still proceeded and kept working well. Based on the experiment with the different heights in the anaerobic hybrid filter reactor, it showed that the process of both COD and color removals often took place at the bottom of the tank because of high substrate in wastewater, in which a variety of bacteria species, discovered by Scanning Electron Microscope (SEM), resided.-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectน้ำเสีย -- การบำบัด -- การกำจัดสีen_US
dc.subjectการย่อยสลายทางชีวภาพen_US
dc.subjectSewage -- Purification -- Color removal-
dc.subjectBiodegradation-
dc.titleการกำจัดสีจากน้ำเสียกากส่าโดยใช้ระบบยูเอเอสบี ที่ทำงานร่วมกับระบบกรองไร้อากาศen_US
dc.title.alternativeColour removal of distillery slop wastewater by using anaerobic hybrid filteren_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorPetchporn.C@Chula.ac.th-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Songpon_kh_front_p.pdf896.45 kBAdobe PDFView/Open
Songpon_kh_ch1_p.pdf636.38 kBAdobe PDFView/Open
Songpon_kh_ch2_p.pdf1.63 MBAdobe PDFView/Open
Songpon_kh_ch3_p.pdf929.48 kBAdobe PDFView/Open
Songpon_kh_ch4_p.pdf3.25 MBAdobe PDFView/Open
Songpon_kh_ch5_p.pdf699.59 kBAdobe PDFView/Open
Songpon_kh_back_p.pdf3.07 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.