Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6620
Title: การประเมินผลการเรียนรายวิชาที่บริหารการสอนโดยโครงการการศึกษาทั่วไป ฝ่ายวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภาคปลาย ปีการศึกษา 2537-2538 : รายงานวิจัย
Other Titles: Learning evaluation of the second semester courses which ministered by the General Education Project, Chulalongkorn University, academic year 1994-1995
Authors: สุทธนู ศรีไสย์
Email: ไม่มีข้อมูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Subjects: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. โครงการการศึกษาทั่วไป -- การศึกษาและการสอน -- การประเมิน
การวัดผลทางการศึกษา
Issue Date: 2538
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย: การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษานำ (Pilot Study) เพื่อประเมินผลการเรียนรายวิชาที่บริหารการสอนโดยโครงการการศึกษาทั่วไป จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในภาคปลาย ปีการศึกษา 2537-2538 และมีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 4 ประการ คือ 1) เพื่อพัฒนาเครื่องมือสำหรับวัดและประเมินผลการเรียนรายวิชาที่บริหารการสอนโดยโครงการการศึกษาทั่วไป 2) เพื่อศึกษาภูมิหลังของนิสิตที่เรียนรายวิชาที่บริหารการสอนโดยโครงการการศึกษาทั่วไปในภาคปลาย ปีการศึกษา 2537-2538 3) เพื่อประเมินสถานภาพการเรียนของนิสิตในภาพรวมของทุกรายวิชาที่บริหารการสอนโดยโครงการการศึกษาทั่วไป และ 4) เพื่อประเมินผลการเรียนของนิสตแต่ละรายวิชาที่เปิดสอนในภาคปลาย ปีการศึกษา 2537-2538 วิธีวิจัย: ผู้วิจัยใช้เครื่องมือที่เป็นแบบวัดและประเมินผลรายวิชาที่ได้พัฒนาขึ้นมาจากเอกสารตำราและรายงานวิจัยต่างๆ ไปให้นิสิตที่เรียนรายวิชาต่าง ๆที่บริหารการสอนโดยโครงการการศึกษาทั่วไปที่เปิดสอนในภาคปลาย ปีการศึกษา 2537-2538 จำนวน 10 รายวิชา ได้รับแบบประเมินกลับคืนจำนวน 424 ชุดคิดเป็นร้อยละ 86 ของจำนวนผู้เข้าเรียนทั้งหมด ข้อมูลที่ได้รับถูกนำไปวิเคราะห์โดยใช้ค่าสถิติ สัมประสิทธิ์ความเที่ยงแบบอัลฟ่า (Alpha Reliability Coefficient) ความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การวิเคราะห์องค์ประกอบ (Factor Analysis) การทดสอบค่าที (t-test) และ สหสัมพันธ์ถดถอยพหุคูณแบบสเต็ปไวท์ (Multiple Regression Correlation-Stepwise) ผลการวิเคราะห์ได้นำเสนอในรูปตารางประกอบการอธิบาย ผลการวิจัย: 1. เครื่องมือที่ใช้วัดและประเมินผลการเรียน มีค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงแบบอัลฟ่าในแต่ละรายวิชาอยู่ระหว่าง 0.8532 ถึง 0.9175 และรวมทุกวิชาเป็น 0.8926 2. นิสิตทั้งหมดที่เรียนรายวิชาของโครงการการศึกษาทั่วไปในภาคปลายปีการศึกษา 2537-2538 มาจาก 11 คณะในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นนิสิตหญิงร้อยละ 60 นิสิตส่วนใหญ่มีภูมิลำเนาอยู่ในกรุงเทพมหานคร บิดามารดาประกอบอาชีพค้าขายมีรายได้มากกว่า 30,000 บาทต่อเดือนและนิสิตได้รับค่าใช้จ่ายขณะศึกษาต่อเดือนโดยเฉลี่ย 3,00 บาท สำหรับพฤติกรรมการเรียนของนิสิตต่อสัปดาห์พบว่า นิสิตส่วนมากใช้เวลาทบทวนบทเรียนเฉลี่ย 8 ชั่วโมง ใช้เวลาฟังวิทยุและดูโทรทัศน์ 15 ชั่วโมง และใช้เวลาทำรายงานที่ผู้สอนมอบหมาย 8 ชั่วโมง 3. องค์ประกอบเกี่ยวกับภูมิหลังของนิสิตกลุ่มนี้ที่สำคัญมีอยู่ 7 ด้าน คือ ภูมิลำเนา การใช้เวลา เพศและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในมหาวิทยาลัย อาชีพผู้ปกครอง อายุและจำนวน ญาติพี่น้อง ค่าใช้จ่ายขณะศึกษา และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 4. คะแนนเฉลี่ยสะสมในขณะศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัย (GPAX) ของนิสิตกลุ่มนี้ ได้รับอิทธิพลมาจากตัวแปรสำคัญ 3 ตัวแปร คือ เพศ จำนวนหน่วยกิตที่ลงทะเบียนในแต่ละภาพการศึกษา และคะแนนเฉลี่ยสะสมในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยทั้งสามตัวแปรสามารถอธิบายความแปรปรวนต่อคะแนนเฉลี่ยสะสมในขณะศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยได้ร้อยละ 9.07 และมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 5. ผลการประเมินผลการเรียนในภาพรวมพบว่า มีการเน้นรายการต่าง ๆ อยู่ในระดับมากขึ้นไปดังนี้ ความรู้ในแนวกว้าง การทำงานเป็นกลุ่ม ความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย การบรรยาย และความยุติธรรมในการทดสอบหรืองานที่ได้รับมอบหมาย 6. ผลการประเมินผลในแต่ละรายวิชาพบว่า มีอยู่ 6 รายวิชา (จากทั้งหมด 10 รายวิชา ที่ประเมิน) ประสบผลสำเร็จทางการเรียนการสอนอยู่ในระดับสูง วิชาดังกล่าว คือ 093 201 บัณฑิตอุดมคติ 1 093 203 บัณฑิตอุดมคติ 3 093 204 บัณฑิตอุดมคติ 4 093 205 บัณฑิตอุดมคติ 5 093 160 มนุษย์กับธรรมชาติ และ 093 230 มนุษย์กับสันติภาพ วิชาดังกล่าวส่วนมากจะเน้นรายการต่อไปนี้คือ ความรู้ในแนวกว้าง ความรู้ในแนวลึก กระบวนการแสวงหาความรู้ การทำงานเป็นกลุ่ม ตรงต่อเวลา ความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย ความคิดสร้างสรรค์ พัฒนาบุคลิกภาพของผู้เรียน วางแผน และกระบวนการแก้ปัญหา สำหรับวิธีการสอนของวิชาเหล่านี้ส่วนมากจะใช้การสอบแบบอภิปราย การปฏิบัติ และมีการเร้าให้ผู้เรียนมีการตื่นตัวต่อการเรียนอยู่เสมอ 7. นิสิตส่วนใหญ่มีความพึงพอใจมากับวิชาที่เรียนมาแล้ว ตัวแปรสำคัญที่ทำให้นิสิตมีความพึงพอใจถึงร้อยละ 53.11 และมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.5 มีอยู่ 10 ตัวแปร สำหรับตัวแปรที่สำคัญที่สุดได้แก่ ความสนุกสนานเป็นกันเองในขณะเรียน ตัวแปรนี้เพียงตัวแปรเดียวสามารถอธิบายความแปรปรวนต่อความพึงพอใจของนิสิตได้ร้อยละ 25354 และมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
Other Abstract: Objectives of the study: The purpose of the pilot study was to evaluate students' learning in the second semester courses which ministered by the General Education Project (GEP) of Chulalongkorn University in academic year 1994-1995. There was fourfold: first, to develop the instrument for evaluating courses which ministered by the GEP; second, to study background of students who took the second semester GEP courses in academic year 1994-1995; third, to evaluate the learning situations of students in the whole set of the second semester GEP courses in academic year 1994-1995; and fourth, to evaluate the students' learning in each second semester GEP course in academic year 1994-1995. Procedures: The instrument, based on extensive analysis of related literature, was constructed and developed by the researcher. It was used by all 493 students who took the second semester GEP courses in academic year 1994-1995. Completed data of 424 students (86 percent) were analyzed by computing alpha reliability coefficient, frequency, percentage, mean, standard deviation, factor analysis, t-test, and stepwise. Research results were presented in the tabular and explanatory styles. Findings: 1. The alpha reliability coefficients of the instrument for evaluating the 10 GEP courses ranged between 0.8532 to 0.9175. The whole set of them was at the 0.8926. 2. Most of students who took the second semester GEP courses in academic year 1994-1995 cam from 11 faculties and sixty as female. In addition, sixty percent of their local addresses located in the Bangkok Metropolitan area. As a result of their parent occupations and incomes, most of them were traders and got income average more than 30,000 baht per month. Students got average 3,000 baht in each month for their expenditures. Moreover, it was also found that all students spent their time about eight hours a week for reviewing their lessons, fifteen hours a week for listening to the radio and watching televisions, and eight hours a week for doing academic reports. 3. There were seven crucial background factors of students as follows: local address, timing, sex and academic achievement in university, parental occupation, old and relatives, expenditure, and academic achievement in the upper secondary school. 4 Three variables (sex, number of credits in each semester, and cumulative grade-point average in the upper secondary school) had effect, could explain the variance of the cumulative grade-point average of university students at 9.07 percent and significant at the .05 level. 6. Six GEP courses (from ten courses) achieved in the teaching and learning processes at the high level. Those courses were: 093 201 Ideal Graduate 1, 093 203 Ideal Graduate 3, 093 204 Ideal Graduate 4, 093 205 Ideal Graduate 5, 093 160 Man & Nature, and 093 230 Man & Peace. Most of them were emphasized at the following aspects: horizontal knowledge, vertical knowledge, learning process, teamwork, timing, responsibility, creation, personality development, planning, and problem solving. Moreover, both discussionand practice approaches were very often used in classes. 7. All students were very satisfactory with their taken courses. There were ten crucial variables that had effect, could explain the variance of students' satisfactory level (SSL) at 53.11 percent and significant at the .05 level. The best variable from the ten was the learning enjoyment. This variable could explain the SSL at 25.54 percent and significant at the .05 level.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6620
ISBN: 9746325191
Type: Technical Report
Appears in Collections:Edu - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suttanu(learn).pdf14.99 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.