Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6621
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorสุทธนู ศรีไสย์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2008-04-18T08:39:15Z-
dc.date.available2008-04-18T08:39:15Z-
dc.date.issued2528-
dc.identifier.isbn9745645281-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6621-
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของการวิจัย: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์หลัก 7 ประการคือ 1) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน รวมตลอดหลักสูร ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรวมในหมวดวิชาการศึกษาทั่วไป และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรวมในหมวดวิชาครูของนิสิตแต่ละสาขาวิชา 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของสิตแต่ละสาขาวิชา ทุกรายวิชาบังคับในหมวดวิชาการศึกษาทั่วไป 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางเรียนของนิสิตแต่ละรายวิชาทุกรายวิชาบังคับในหมวดวิชาการศึกษาทั่วไป 4) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตแต่ละสาขาวิชาทุกรายวิชาบังคับในหมวดวิชาครู 5) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตแต่ละสาขาวิชาทุกรายวิชาบังคับในหมวดวิชาครู 6) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรวมตลอดหลักสูตร ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรวมในหมวดวิชาการศึกษาทั่วไป และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรวมในหมวดวิชาครูของนิสิตในแต่ละสาขาวิชา และ 7) เพื่อหารูปแบบ (สมการถดถอยพหุคูณ)ของความสัมพันธ์ระหว่าง ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรวมตลอดหลักสูตร ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรวมตลอดหลักสูตร ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรวมในหมวดวิชาครูของนิสิตแต่ละสาขาวิชา เพื่อใช้ในการศึกษาและทำนายผล วิธีวิจัย: ผู้วิจัยได้คัดลอกผลการศึกษาของนิสิตคณะครุศาสตร์ที่สำเร็จการศึกษา (เฉพาะเลขประจำตัว 234...) จำนวน 288 คน คิดเป็นร้อยละ 91.14 ของจำนวนนิสิตทั้งหมด 316 คน แล้วนำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์ตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ มัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการทดสอบภายหลังโดยวิธีการของเชฟเฟ่ การห่าค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์และทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติ สำหรับการเสนอผลการวิจัยได้เสนอในรูปแผนภูมิ ตาราง และความเรียง ประกอบการอธิบาย ผลการวิจัย: 1. สาขาวิชาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในหมวดวิชาการศึกษาทั่วไปและหมวดวิชาครูสูงสุดได้แก่ สาขาวิชามัธยม-วิทยาศาสตร์ ส่วนที่ต่ำที่สุดในหมวดวิชาการศึกษาทั่วไป ได้แก่ สาชาวิชาการสอนวิชาเฉพาะ (พลศึกษา) และต่ำสุดในหมวดวิชาครู พบว่าสาขาวิชาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางเรียนสูงสุด ได้แก่ สาขาวิชามัธยม-มนุษย์-สังคม ส่วนที่ต่ำสุด ได้แก่ สาขาวิชาการสอนวิชาเฉพาะ (ธุรกิจ) 2. จากรูปแบบสามมิติของการสัมฤทธิผลทางการเรียน พบว่า สาขาวิชาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยมีค่าเฉลี่ยเหนือค่าเฉลี่ยรวมของทุกสาขาวิชา (Above Mean) สูงทั้งสามประเภท ได้แก่ สาขาวิชามัธยม-มนุษย์-สังคม สาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน และสาขาวิชาประถมศึกษา ส่วนสาขาวิชาที่มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าค่าเฉลี่ยรวม (Below Mean) ทั้งสามประเภท ได้แก่ สาขาวิชา การสอนวิชาเฉพาะ (ดนตรี พลศึกษา และศิลปศึกษา) สาขาวิชาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรวมตลอดหลักสูตรสูงแต่อีกสอบประเภทต่ำมีเพียงสาขาวิชาเดียว คือ สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย และสาขาวิชาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรวมตลอดหลักสูตรต่ำ แต่อีกสองประเภทสูง ได้แก่ สาขาวิชามัธยม-วิทยาศาสตร์ สำหรับสาขาวิชาการสอนวิชาเฉพาะ (ธุรกิจ) นั้นมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพียงหมวดวิชาการศึกษาทั่วไปสูงเพียงประเภทเดียว นอกนั้นต่ำทั้งสองประเภท 3. ในหมวดวิชาการศึกษาทั่วไป มีสาขาวิชาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรวมในระดับยอดเยี่ยมพิเศษ 1 สาขาวิชา ระดับยอดเยี่ยม 2 สาขาวิชา ระดับดี 2 สาขาวิชา ระดับค่อนข้างดี 2 สาขาวิชา และระดับปานกลาง 1 สาขาวิชา สำหรับสาขาวิชาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงและอยู่ในระดับยอดเยี่ยมพิเศษ ได้แก่ สาขาวิชา มัธยม-วิทยาศาสตร์ ส่วนสาขาวิชาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำและอยู่ในระดับปานกลาง ได้แก่ สาขาการสอนวิชาเฉพาะ (พลศึกษา) 4. เกือบทุกรายวิชาในหมวดวิชาการศึกษาทั่วไป แต่ละสาขาวิชามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในระดับดีถึง ยอดเยี่ยมพิเศษ ยกเว้นรายวิชาต่อไปนี้ คือ วิชา 110 180 อารยธรรม แต่ละสาขาวิชามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตั้งแต่ระดับ อ่อนมากถึง ดี วิชา 313 183 สังคมและวัฒนธรรมและวิชา 260 150 ธรรมชาติวิทยา ตั้งแต่ระดับ อ่อนมาก ถึงยอดเยี่ยมพิเศษ วิชา 311 113 การเมืองและการปกครองไทย ตั้งแต่ระดับปานกลางถึงยอดเยี่ยมพิเศษ วิชา 092 101 ภาษาอังกฤษพื้นฐาน 1 ตั้งแต่ระดับ อ่อนมากถึงยอดเยี่ยม และวิชา 092 102 ภาษาอังกฤษพื้นฐาน 2 ทุกสาขาวิชามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในระดับอ่อนมาก 5. จากผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว พบว่าทุกสาขาวิชามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรวมในหมวดวิชาการศึกษาทั่วแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ดับ .01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานของการวิจัยที่ตั้งไว้ และพบว่าสาขาวิชาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าสาขาอื่น ๆ ได้แก่ สาขาวิชามัธยม-วิทยาศาสตร์ สาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน และสาขาวิชามัธยม-มนุษย์-สังคม 6. จากผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวในแต่ละสาขาวิชาบังคับในหมวดวิชาการศึกษาทั่วไป พบว่า แต่ละสาขาวิชามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ 8 รายวิชา คือ วิชา 110 180 อารยธรรม วิชา 313 183 สังคมและวัฒนธรรม วิชา 260 150 ธรรมชาติวิทยา วิชา 311 113 การเมืองและการปกครองไทย วิชา 092 101 ภาษาอังกฤษพื้นฐาน 1 วิชา 092 102 ภาษาอังกฤษพื้นฐาน 2 วิชส 411 238 ภาษาไทย 3 และวิชา 411 239 ภาษาไทย 4 ส่วนที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 1 รายวิชา คือ วิชา 411 131 ภาษาไทย 2 7. ในหมวดวิชาครู ทุกสาขาวิชามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในระดับยอดเยี่ยมพิเศษ 8. เกือบทุกรายวิชาบังคับในหมวดวิชาครู แต่ละสาขาวิชามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในระดับดี ถึง ยอดเยี่ยมพิเศษ ยกเว้นรายวิชาต่อไปนี้ คือ วิชา 411 101 ปฐมนิเทศการศึกษา แต่ละสาขาวิชามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตั้งแต่ ปานกลาง ถึง ยอดเยี่ยมพิเศษ วิชา 417 214 จิตวิทยาพื้นฐานการศึกษา ตั้งแต่ อ่อนมาก ถึง ดี วิชา 417 215 จิตวิยาสำหรับครู และวิชา 412 240 การวัดและประเมินผลการเรียน ตั้งแต่ระดับ ค่อนข้างดี ถึงยอดเยี่ยมพิเศษ สำหรับรายวิชา 412 520 ระเยียบวิธีวิจัยในศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่นะดับ ค่อนข้างดี 9. จากผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว พบว่า ทุกสาขาวิชามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรวมในหมวดวิชาครูแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ และพบว่า สาขาวิชาที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าสาขาอื่น ๆ ได้แก่ สาขาวิชามัธยม-วิทยาศาสตร์ และสาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน 10. จากผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียวในแต่ละรายวิชาบังคับที่เรียนร่วมกันในหมวดวิชาครู พบว่าแต่ละสาขาวิชามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นไปตามสมมุติฐานที่ตั้งไว้ สำหรับรายวิชาที่นิสิตแต่ละสาขาวิชามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกันคือ 411 101 ปฐมนิเทศการศึกษา วิชา 417 214 จิตวิทยาพื้นฐานการศึกษา วิชา 417 215 จิตวิทยาสำหรับครู วิชา 412 240 การวัดและประเมินผลการเรียน วิชา 418 330 สื่อการสอน วิชา 414 331 หลักสูตรและการสอนระดับมัธยมศึกษา วิชา 410 480 ประสบการณ์วิชาชีพ วิชา 410 490 สัมมนาการศึกษา และวิชา 413 202 หลักสูตรและการสอนระดับประถมศึกษา 11. ความสัมพันธ์ของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทุกสาขาวิชาระหว่าง ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรวมหมวดวิชาการศึกษาทั่วไปกับหมวดวิชาครู หมวดวิชาการศึกษาทั่วไปกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรวมตลอดหลักสูตร และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรวมตลอดหลักสูตรกับหมวดวิชาครู มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เป็น 0.68, 0.73, และ 0.80 ตามลำดับ และทุกคู่มีนัยสำคัญที่ระดับ .01 และความสัมพันธ์นี้จะอยู่ตั้งแต่ระดับค่อนข้างสูงถึงสูงมาก 12. สมการถดถอยพหุคูณของแต่ละสาขาวิชา เป็นดังนี้ (x[subscript1-p] แทนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรวมตลอดหลกสูตร, x[subscript 2] แทนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหมวดวิชาการศึกษาทั่วไป, x[subscript 3] แทนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหมวดวิชาครู ) 12.1 สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย x[subscript1-p] = 0.15x[subscript2]+0.14x[subscript3]+2.13 สมการนี้ตัวแปรอิสระทั้งสองตัวแกรสามารถอธิบายตัวแปรตามได้ถูกต้องถึงร้อยละ 72.25 12.2 สาขาวิชาประถมศึกษา x[subscript1-p]=0.31x[subscript2]+0.8x[subscript3] + 1.85 สมการนี้ตัวแปรอิสระทั้งสองตัวแปรสามารถอธิบายตัวแปรตามได้ถูกต้องถึงร้อยละ 96.04 12.3 สาขาวิชามัธยม-วิทยาศาสตร์ x[subscript 1-p] = 0.12x[subscript2]+0.35x[subscript3]+ 1.28 สมการนี้ตัวแปรอิสระทั้งสองตัวแปรสามารถอธิบายตัวแปรตามได้ถูกต้องถึงร้อยละ 57.76 12.4 สาขาวิชามัธยม-มนุษย์-สังคม x[subscript1-p] = 0.11x[subscript 2]+0.34x[subscript3] + 1.64 สมการนี้ตัวแปรอิสระทั้งสองตัวแปรสามารถอธิบายตัวแปรตามได้ถูกต้องถึงร้อยละ 98.01 12.5 สาขาวิชาการสอนวิชาเฉพาะ (พลศึกษา) x[1-p] = 0.08x[subscript 2]+ 0.22x[subscript 3] + 1.97 สมการนี้ตัวแปรอิสระทั้งสองตัวแปรสามารถอธิบายตัวแปรตามได้ถูกต้องถึงร้อยละ 72.25 12.6 สาขาวิชาการสอนวิชาเฉพาะ (ศิลปศึกษา) x[subscript 1-p] = 0.06x[subscript 2] + 0.19x[subscript 3] + 2.04 สมการนี้ตัวแปรอิสระทั้งสองตัวแปรสามารถอธิบายตัวแปรตามได้ถูกต้องร้อยละ 43.56 12.7 สาขาวิชาการสอนวิชาเฉพาะ (ดนตรี) x[subscript 1-p] = 0.07x[subscript 2] + 0.05x[subscript 3] + 2.13 สมการนี้ตัวแปรอิสระทั้งสองตัวแปรสามารถอธิบายตัวแปรตามได้ถูกต้องร้อยละ 43.56 12.8 สาขาวิชาการสอนวิชาเฉพาะ (ธุรกิจ) x{subscript 1-p] = 0.16x[subscript 2] + 0.15x[subscript 3] + 1.72 สมการนี้ตัวแปรอิสระทั้งสองตัวแปรสามารถอธิบายตัวแปรได้ถูกต้องร้อยละ 57.76 12.9 สาขาวิชาการศึกษานอกระบบโรงเรียน x[1-p] = 0.15x[subscript 2] + 0.14x[subscript 3] + 2.13 สมการนี้ตัวแปรอิสระทั้งสองตัวแปรสามารถอธิบายตัวแปรตามได้ถูกต้องร้อยละ 60.84 13 สมการถดถอยพหุคูณรวมทุกสาขาวิชาในคณะครุศาสตร์ x[1-p] = 0.12x[subscript 2] + 0.23x[subscript 3] + 1.85 ตัวแปรทั้งสองนี้สามารถอธิบายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรวมตลอดหลักสูตรได้ถูกต้องร้อยละ 68.89 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในหมวดวิชาครูมีอิทธิพลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรวมตลอดหลักสูตรสูงกว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในหมวดวิชาการศึกษาทั่วไปอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01en
dc.description.abstractalternativeThe present research consists of 7 objectives: 1) to study academic achievement of over-all performance of 4-year curriculum students, academic achievement of those in general education and those in teacher education of each field, 2) to study academic achievement of students in each field for required courses in general education, 3) to compare academic achievement of students for all required courses in general education, 4) to study academic achievement of the students in each field for all required courses in teacher education, 5) to compare academic achievement of students in each field for all required courses of teacher education, 6) to study interrelationship between academic achievement of over-all curricula performance, of total performance of general education area, and of total performance of teacher education area among students in each field, and 7) to find out patterns (multiple regression equation) of relationship between academic achievement of the over-all curriculum performance and academic achievement of general education area and academic achievement of teacher education area of students in each filed for the purpose of study and prediction. Research Method: The researcher utilized the grade results of 288 students majoring in education (for the identification code of 234…) or 91.14 percent of the total of 316 students for computation by means of percentage, arithmetic means, standard deviation, one-way analysis of variance and after test by Scheffe's method, correlation and test of statistical significance, Research result is presented in the charts, tables, and descriptive explanation. Research Result: 1. Highest scores performance in general education and teacher education courses were students field in secondary education (Science), while the lowest scores in general education were those field in teaching of special subjects (Physical Education), the lowest scores in teacher education were those field in teaching of special subjects (Music), shile the over-all performance highest scores were of those in secondary education (human-social), and the lowest scores were those in teaching of special subjects (Business). 2. From the three-dimensional pattern of academic achievement, it is revealed that the field that had an average value above mean total of all fields were secondary education (human-social), non-formal education, and elementary education. Whereas the filed that had below mean score than the average mean were teaching of special subjects (music, physical education and arts education). The field that had high academic achievement score throughout the curriculum but lower academic achievement score in general education and teacher education was kindergarten education field. On the other hand, the field that had lower academic achievement score throughout the curriculum but high academic achievement score in both of them was secondary education (science). The field in teaching of special subjects (business) had only academic achievement score in general education but below the meanscore on teacher education and academic achievement throughout the curriculum. 3. Under general education, there was one field with excellent effectiveness score, two fields with best scores, two fields with good scores and two fields with rather good scores and one field with average score. Fields with excellent academic achievement scores were secondary education (science) while fields with lowest and average scores were teaching of special subjects (physical education) 4. Almost all courses under general education got excellent to good scores except the courses; Civilization (110 180), the course that got good to poor scores, Society and Culture (313 183) and Natural Science (260 150), the courses that got excellent to very poor scores, Thai Politics and Government (311 113), the course that got excellent to average scores, Fundamental English 1 (092 101), the course that got excellent to very poor scores, and Fundamental English 2 (092 102), all fields git very poor scores. 5. Form one-way analysis ofvariance, it was found that the over0all scores of general education, in all fields were significant difference at the .01 level as it was hypothesized. The field with together scores than any were secondary education (Sceince), nopn-formal education and secondary education (human-social). 6. From one-way analysis of variance of each required course of general education, it was found that each course had significant difference at the .01 level as previously hypothesized for 8 courses: Civilization (110 180) Society and Culture (313 183), Natural Science (260 150), Thai Politics and Government (311 113), Fundamental English 1 (092 101), Fundamental English 2 (092 102), Thai Language 3 (411 238) and Thai Language 4 (411 239). While course that had significant level at .05 was Thai Language 2 (411 131). 7. Under teacher eduation area, all had very excellent scores. 8. Almost all required courses under teacher education area, all had very excellent to goof scores except Orientation to Education (411 101). Each field had academic achievement score from excellent to average score. Psychological Foundation of Education (417 214) had good to weak scores, Psychology for Teachers (417 215) and Evaluation of Learning (412 240) had excellent to rather good grades. For Research Method in Education (412 520) those who were in non-formal education field got rather good scores. 9. Form one-way analysis of variance, it was found that all fields had a total score in teacher education part at a significant difference level at .01 as earlier hypothesized. Also the fields that had higher score than any other were secondary education (science) non-formal education. 10. From one-way analysis of variance of each required course under teacher education part, it was found that each filed had a significant difference at the .01 level as earlier hypothesized. For the following courses, the students showed different effective scores; Orientation to Education (411 101), Psychological Foundation of Education (417 214), Psychology for Teachers (417 215), Evaluation of Education (412 240), Instructional Media (418 330), Curriculum-instruction in secondary education (410 331), Professional Experience (410 480), Seminar in Education (410 331), Professional Experience (410 480), Seminar in education (410 490) and Curriculum-Instruction Elementary Education (413 202). 11. The relationships of an over-all performance of all courses in each field between three matches, General Education teacher Education, General Education-Score throughout the Curriculum, and Teacher Education-Score throughout the curriculum, had coefficient of correlations at 0.68, 0.73 and 0.80 respectively. Each pair had a significant level at .01 and had shown a very high to high relationship. 12. The multiple regressive equation of each field were as follows: (x[subscript1-p] = academic achievement scores throughout the curriculum, x[subscript 2] = academic achievement scores of general education, x[subscript 3] = academic achievement scores of teacher education) 12.1 Kindergarten Education, x[subscript1-p] = 0.15x[subscript2]+0.14x[subscript3]+2.13. The two independent variables could explain the dependent variant correctly at 72.25 percent. 12.2 Elementary Education, x[subscript1-p]=0.31x[subscript2]+0.8x[subscript3] + 1.85. The two independent variables could explain the dependent variables correctly at 96.04 percent. 12.3 Secondary Education (Science), x[subscript 1-p] = 0.12x[subscript2]+0.35x[subscript3]+ 1.28. The two independent variables could explain the dependent variables correctly at 57.76 percent. 12.4 Secondary Education (Human-Social), x[subscript1-p] = 0.11x[subscript 2]+0.34x[subscript3] + 1.64. The two independent variables could explain the dependent variables correctly at 98.01 percent. 12.5 Teaching of Special Subjects (Physical Education), x[1-p] = 0.08x[subscript 2]+ 0.22x[subscript 3] + 1.97. The two independent variables could explain the dependent variables correctly at 72.25 percent. 12.6 Teaching of Special Subjects (Art Education), x[subscript 1-p]= 0.06x[subscript 2] + 0.19x[subscript 3] + 2.04. The two independent variables could explain the dependent variables correctly at 59.29 percent. 12.7 Teaching of Special Subjects (Music), x[subscript 1-p] = 0.07x[subscript 2] + 0.05x[subscript 3] + 2.13. The two independent variables could explain the dependent variables correctly at 43.96 percent.12.8 Teaching of Special Subjects (Business), x{subscript 1-p] = 0.16x[subscript 2] + 0.15x[subscript 3] + 1.72. The two independent variables could explain the dependent variables correctly at 57.76 percent. 12.9 Non-Formal Education, x[1-p] = 0.15x[subscript 2] + 0.14x[subscript 3] + 2.13. The two independent variables could explain the dependent variables correctly at 60.84 percent. 13. The multiple regression equation of all field in the Faculty of Education, x[1-p] = 0.12x[subscript 2] + 0.23x[subscript 3] + 1.85. The two independent variables could explain academic achievement for an over-all performance throughout the curriculum correctly at 68.89 percent.Also academic achievement under teacher education has influenced over an over-all performance of general education area at the significant level of .01.en
dc.format.extent19829883 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ -- นิสิตen
dc.subjectผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนen
dc.subjectการวัดผลทางการศึกษาen
dc.titleผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : หลักสูตรครุศาสตร์บัณฑิต 4 ปี พ.ศ. 2520 (2520-2527)en
dc.title.alternativeAcademic achievement of students in faculty of education at Chulalongkorn University bachelor of Education, 4-year curriculum B.E.2520 (2520-2527)en
dc.typeTechnical Reportes
dc.email.authorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Edu - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suttanu(aca).pdf19.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.