Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66241
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ชอุ่ม มลิลา | - |
dc.contributor.author | เพียงใจ ใหม่ทา | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2020-06-09T02:50:07Z | - |
dc.date.available | 2020-06-09T02:50:07Z | - |
dc.date.issued | 2543 | - |
dc.identifier.isbn | 9741303262 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66241 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 | - |
dc.description.abstract | การวิจัยนี้เป็นการศึกษาการวางระบบควบคุมคุณภาพในอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์แบบถอดประกอบได้ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อเสนอแนวทางในการออกแบบและวางระบบควบคุมคุณภาพให้เหมาะสมกับโรงงานตัวอย่าง โดยในการวิจัยนี้ได้ใช้โรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์ถอดประกอบได้จากแผ่นปาร์ติเกิลโรงงานหนึ่งเป็นกรณีศึกษา จากการเก็บข้อมูลเบื้องต้นพบว่าโรงงานตัวอย่างขาดระบบการควบคุมคุณภาพที่มีประสิทธิภาพและขาดการกำหนดมาตรฐานการควบคุมอย่างชัดเจนทำให้พบปัญหาที่ต้องมีการแก้ไขสินค้าสำเร็จรูปภายหลังจากการประกอบเรียบร้อยแล้ว พบชิ้นงานที่เสียเนื่องจากกระบวนการผลิตต่าง ๆ และต้องนำไปแก้ไขซ่อมแซมหรือทำให้สิ้นสภาพ ดังนั้นในการศึกษานี้จึงได้เสนอแนวทางการออกแบบและวางระบบควบคุมคุณภาพที่เหมาะสมกับโรงงานตัวอย่าง โดยพิจารณาให้มีความสอดคล้องกับสถานการณ์และความพร้อมของโรงงานตัวอย่าง ซึ่งมีขั้นตอนการดำเนินการ ดังนี้ 1. การกำหนดโครงสร้างองค์กรด้านคุณภาพและการจัดทำแบบกำหนดหน้าที่งาน 2. การออกแบบและการวางระบบควบคุมคุณภาพวัตถุดิบ 3. การออกแบบและการวางระบบควบคุมคุณภาพชิ้นงานระหว่างกระบวนการผลิต 4. การออกแบบและการวางระบบควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป 5. การออกแบบระบบเอกสารต่าง ๆ ที่สนับสนุนระบบควบคุมคุณภาพ จากผลการดำเนินงานวิจัยข้างต้นเปรียบเทียบระหว่างก่อนและหลังการดำเนินงาน พบว่าการดำเนินงานควบคุมคุณภาพมีขั้นตอนแลเป็นระบบขึ้น ผู้ส่งมอบวัตถุดิบหรือชิ้นส่วนให้ความสำคัญในการควบคุมคุณภาพสินค้าของตนเองมากขึ้น ทำให้สามารถลดสัดส่วนของวัตถุดิบเสียลงได้ทุกประเภท ชิ้นงานระหว่างกระบวนการผลิตที่เสียเนื่องจากกระบวนการผลิตต่าง ๆ ลดลง พบว่าสามารถลดสัดส่วนของชิ้นงานเสียลงจากเดิมได้ประมาณร้อยละ 7-8 สินค้าสำเร็จรูปจากกระบวนการประกอบที่ต้องนำไปแก้ไขมีจำนวนลดลงและการดำเนินการบรรจุหีบห่อมีความผิดพลาดลดลง | - |
dc.description.abstractalternative | This research concerns quality control systemization for knock-downfurniture industry. The objective of this research is to present a suitabledesigning and implementing of quality control system for a selectedfactory. In preliminary survey, it was found that the factory had notimplemented an efficient quality control system. As a result, there werelosses due to reclaiming in the form of nonconforming products andin-process defective parts, which had to be reproduced or scraped. The study proposes an appropriate designing and implementing ofquality control system for the illustrated factory based on its potentialcapability covering 5 steps as follows: 1. Establishing a structure of quality control organization with jobdescriptions. 2. Designing and implementing a quality control system for materialsor incoming parts. 3. Desianing and implementing a quality control system forin-process parts. 4. Designing and implementing a quality control system for finalproducts. 5. Designing quality records and document forms. After implementation, it was found that the procedures for operationsof the quality control system are consistent and systematic. The supplierof incoming materials paid more attention about their products; therefore,the reclaiming materials were significantly decreased. The study alsoshowed the decreasing in in-process defective parts approximately by 7-8percent, and also the reclaiming nonconforming products were significantlydecreased. | - |
dc.language.iso | th | - |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
dc.subject | การควบคุมคุณภาพ | - |
dc.subject | อุตสาหกรรมเครื่องเรือน | - |
dc.title | การวางระบบควบคุมคุณภาพในอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์แบบถอดประกอบได้ | - |
dc.title.alternative | Quality control systemization for the knock-down furniture industry | - |
dc.type | Thesis | - |
dc.degree.name | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | - |
dc.degree.level | ปริญญาโท | - |
dc.degree.discipline | วิศวกรรมอุตสาหการ | - |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | - |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Piangjai_ma_front_p.pdf | 1.04 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Piangjai_ma_ch1_p.pdf | 1 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Piangjai_ma_ch2_p.pdf | 1.23 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Piangjai_ma_ch3_p.pdf | 1.71 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Piangjai_ma_ch4_p.pdf | 1.39 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Piangjai_ma_ch5_p.pdf | 5.24 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Piangjai_ma_ch6_p.pdf | 1.68 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Piangjai_ma_ch7_p.pdf | 831.53 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Piangjai_ma_back_p.pdf | 4.03 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.