Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66269
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสมภาร พรมทา-
dc.contributor.authorสุมาลี มหณรงค์ชัย-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2020-06-12T01:40:21Z-
dc.date.available2020-06-12T01:40:21Z-
dc.date.issued2541-
dc.identifier.isbn9746393804-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66269-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541-
dc.description.abstractสืบเนื่องจากแนวคิดหลักของสำนักโยคาจารที่ยอมรับการมีอยู่ของจิต (อาลยะ) เพียงอย่างเดียว ทำให้เกิดข้อสงสัยว่าการยอมรับความจริงเรื่องจิตนี้มีลักษณะเป็นเอกนิยมในแบบเดียวกับพรหมันของศาสนาฮินดูหรือไม่ ถึงแม้ว่า อาลยะมีลักษณะเป็นขณะเกิดดับต่อเนื่อง แต่อาลยะในแต่ละบุคคลก็แตกต่างกันไป เราสามารถแยกวิเคราะห์อาลยะออกมาเป็นสองส่วนกว้างๆ ได้คือ อาลยะในด้านที่แปดเปื้อนซึ่งเป็นจิตของปุถุชนทั่วไป กับอาลยะในด้านที่บริสุทธิ์ ซึ่งเป็นจิตของพระอริยบุคคล และนับรวมจิตของปุถุชนในเวลาที่ไม่รู้สึกตัวเช่น เวลาหลับ เป็นต้น อาลยะในด้านที่แปดเปื้อนประกอบด้วยอาสวพีชะ (วิบากวาสนา) ที่คอยชักนำให้เกิดความหลงผิด แต่อาลยะในด้านที่บริสุทธิ์ประกอบด้วย อนาสวพีชะ (นิษยันทวาสนา)ที่ไม่ก่อให้เกิดกรรมทั้งจาก ความคิด วาจา และการกระทำ เมื่อชัดเจนในประเด็นเรื่อง อาลยะ ปัญหาสำคัญที่ต้องพิจารณาต่อไปก็คือ จะวิเคราะห์ความมีอยู่ของอาลยะอย่างไรในที่นี้การศึกษาประวัติศาสตร์ของศาสนาพุทธ และศาสนาพราหมณ์ในช่วงเวลานั้นจะช่วยให้มองเห็นพัฒนาการก้าวสำคัญของสำนักโยคาจาร อีกทั้งเป็นนัยยะสำคัญยิ่งต่อภาพรวมของวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ ซึ่งผลของการวิจัยได้ข้อสรุปว่า สำนักโยคาจารยอมรับความมีอยู่ของอาลยะในลักษณะที่เป็น ขณะ อันประกอบด้วยเอกลักษณ์ของการมีอยู่สามประการคือ สมรรถนะ ความเปลี่ยนแปลง และการมีอยู่เป็นเอกเทศ ด้วยคุณลักษณะทั้งสามนี้ ทำให้ความมีอยู่ของจิตในสำนักโยคาจารไม่อยู่ในเกณฑ์ของเอกนิยมไม่ใช่ภาวะสมบูรณ์ที่เที่ยงแท้ถาวร หากแต่จิตอยู่ในสภาพเป็นอนัตตา ซึ่งเป็นคำสอนเฉพาะของศาสนาพุทธ จากข้อสรุปข้างต้น ทำให้สามารถยืนยันได้ว่า คำสอนของพุทธสำนักโยคาจารสามารถรักษาเอกลักษณ์ของความเป็นพุทธไว้ได้ โดยไม่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลทางความคิดของพราหมณ์ในสมัยอุปนิษัท อาจกล่าวได้ว่า ข้อโจมตีในเรื่อง ความมีอยู่อย่างเที่ยงแท้ถาวร (สัสสตวาท) ของจิตในโยคาจารขาดน้ำหนักเพียงพอ-
dc.description.abstractalternativeDue to the main concept of the Yogacara thataccepts the existence of the Mind-Only (Alaya) , thedoubt follows by a question whether the reality of suchcan be counted as Monism in the same sense as theUltimate Reality in Brahmanism. Despite Alaya is in the form of point-instantthat rises, abides, and simultaneously disappears, itdiffers according to each person's karma condition. Wecan broadly divide Alaya into two levels. First, Alayain defiled state belongs to worldly sentient beingswhen they are conscious. Second, Alaya in pure state(Tathagata-garbha) is the supermundane state ofenlightened person. We also include unconscious mundaneminds such as when someone is sleeping into this purestate. The defiled Alaya consists of ignorant seeds ofkarma that always estrange us from enlightenment whilethe pure Tathagata-garbha consists of neutral seeds ofkarma that will not bring about any effects. When we make clear the concept of Alaya , thenext important problem to ponder is how to analyze theexistence of Alaya. Historical study of Buddhism andBrahmanism during that period will help us understandthe development of the Yogacara. Furthermore, itprovides the crucial significance for this thesis. Theresult of this research shows that the Yogacara admitsthe momentariness of Alaya by the sense of existentialidentity---efficiency, change, and apartness. By thesethree identities, the existence of Alaya can neither beMonism, nor the permanent Absolute. But the Mind-Onlyis empty of self (Anatta) which is the uniqueness ofBuddhism. From the above conclusion we can further provethat the Yogacara can retain the teachings of Buddhawithout falling under the influence of Brahmans in thefirst period of Upanisad. We may say that any attacksagainst the Yogacara on the topic of the permanent Mindare insufficient to be rational.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectพุทธปรัชญา-
dc.subjectพุทธศาสนามหายาน-
dc.subjectวิญญาณ-
dc.subjectอาลยวิชญาน-
dc.subjectโยคาจาร (พุทธศาสนา)-
dc.subjectจิต-
dc.titleอาลยวิชญานในพุทธปรัชญานิการโยคาจาร-
dc.title.alternativeAlayavijnana in Yogacara buddhism-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameอักษรศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineปรัชญา-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sumalee_ma_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ914.36 kBAdobe PDFView/Open
Sumalee_ma_ch1_p.pdfบทที่ 1859.69 kBAdobe PDFView/Open
Sumalee_ma_ch2_p.pdfบทที่ 22.88 MBAdobe PDFView/Open
Sumalee_ma_ch3_p.pdfบทที่ 32.85 MBAdobe PDFView/Open
Sumalee_ma_ch4_p.pdfบทที่ 4777.12 kBAdobe PDFView/Open
Sumalee_ma_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก740.21 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.